เวลาอ่าน : < 1 นาที

ทำสมาธิอย่างง่ายให้ได้ฌาณ

การทำสมาธิที่เป็นพื้นฐานเเละเหมาะกับทุกจริต คือ การทำสมาธิโดยตั้งสติ จดจ่อกับลมหายใจ ที่เรียกว่า ” อานาปานสติ”
เราทุกคนล้วนเเต่ต้องหายใจอยู่เเล้ว
จึงง่ายที่จะใช้ลมหายใจเป็นเครื่องมือในการทำสมาธิ
เเต่ผู้ไม่ได้ฝึกสมาธิ ย่อมไม่เคยสังเกตุลมหายใจ
จิตไม่จับลม ไม่รู้ลมหายหายใจ
จึงมีคำครูบาอาจารย์กล่าวว่า “ทิ้งลมหายใจทิ้งไปเปล่าๆ”

อันที่จริง คำว่า รู้ลมหายใจนั้น มีความหมายที่ลึกกว่า การมีสติรู้ว่า
ลมหายใจเรา สั้นหรือยาว
หยาบหรือละเอียด
เเต่เป็นการรู้(อา)รมณ์ใจเราเองในขณะ รู้ลมหายใจไปด้วย

ลมหายใจ สัมพันธ์ จิตใจ อารมณ์ใจ
ให้เราสังเกตุดูว่า เวลาที่จิตใจเราเครียด วิตกกังวล มีปัญหา
ลมหายใจเรา จะหยาบหนัก ถอนหายใจ เป็นเฮือก เป็นห้วงๆ
เเต่ถ้าอารมณ์ใจเราสบาย ปลอดโปร่ง
ลมหายใจของเราก็จะราบรื่น ปลอดโปร่งโล่งเบาไปด้วย
ดังนั้น การรู้ลม จึงควรละเอียดจนมีสติ
รู้ทั้งลมหายใจที่สบาย และอารมณ์ใจที่สงบ ปลอดโปร่ง เบาสบาย
รู้ลมหายใจเเละรู้อารมณ์ใจ
ลมสบาย คือ ลมหายใจสบาย อารมณ์ใจสบาย อารมณ์จิตเป็นสุขจากความสงบของจิต
“รักษาลมสบาย อารมณ์สบายได้ในทุกอิริยาบท ชื่อว่าใจอยู่ในฌาน อยู่ในสมาธิ”

ความหยาบละเอียดสั้นยาวลมหายใจ คือ ตัวชี้วัดระดับของฌานสมาธิ
คนที่เหนื่อย เครียด กังวลใจเป็นทุกข์ จะหายใจสั้น ถี่ กระชั้น ไปถึงหอบหายใจ
คนปกติ อารมณ์ปกติจะหายใจ ประมาณ 20-25 ครั้งต่อนาที
คนที่จิตเริ่มสงบ ลมหายใจจะเบาละเอียดลงเองตามธรรมชาติ มาอยู่ที่ 12-16 ครั้งต่อนาที
คนที่จิตรวมตัวเป็นสมาธิสูงขึ้น ฌานสูงขึ้น ลมหายใจเบาลงเหลือ 6-12 ครั้งต่อนาที
เมื่อจิตสงบลงเบาลงเป็นฌานสูงขึ้นถึงฌานสาม ลมหายใจจะละเอียดเบามากเหลือการหายใจเพียงเเค่น้อยเท่าเมล็ดถั่ว เเละทิ้งช่วงการหายใจนานขึ้น
เเละในจุดที่ลมหายใจเบาลง สงบลง จนจิตหยุดการปรุงเเต่งเป็นฌานสี่เป็นเอกัตคตารมณ์ ลมหายใจจะหยุดนิ่ง จิตสติเห็นตัวหยุด ตัวนิ่ง ตัวอุเบกขารมณ์ ตัวเอกกัคตารมณ์ชัดเจน จิตหยุดจากการปรุงเเต่งที่มากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

วิธีการฝึกอานาปานสติอย่างง่าย

หาสถานที่ สบาย สงบ ปราศจากเสียงเเละการรบกวน ไม่ร้อน ไม่หนาวจนเกินไป
อยู่ในอิริยาบทที่สบาย ถ้าเมื่อยขยับกายได้เเต่ประคองจิตประคองสมาธิไว้
เเละเริ่มต้น น้อมจิตรำลึกถึงคุณพระรัตนไตร พระพุทธพระธรรมพระอริยะสงฆ์ ครูบาอาจารย์ รำลึกถึงศีล รำลึกถึงความดี ความตั้งใจในการปฏิบัติธรรมของเรา
จากนั้นเริ่มกำหนดสติ ตัวรู้ของเราจดจ่ออยู่กับปลายจมูกลมหายใจเข้ากำหนดรู้ ลมกระทบ ภาวนา “พุท “
ลมหายใจออก กำหนดรู้ลมกระทบ ภาวนา “โธ”
ค่อยๆกำหนด ภาวนาไป จนจิตเริ่มสงบ ลมหายใจเบาลง ละเอียดลง ให้สังเกตุดูอารมณ์ใจเเละลมหายใจไว้เสมอ
อานาปานสติเเบบนี้เรียกว่า ลมหนึ่งฐาน คือ รู้ฐานการกระทบจุดเดียวคือปลายจมูก
ทำสักครู่หนึ่งอาจจะ สามนาที สิบนาที จึงลองมาฝึกในลำดับต่อไป

ลมสามฐาน
วางคำภาวนา เเต่ให้เพิ่ม สติ ตัวรู้ลมกระทบเพิ่ม
จากลมหายใจเข้า ลมกระทบ จมูก อก ท้อง
ลมหายใจออก ลมกระทบ ท้อง อก จมูก
สติจดจ่อกับการกระทบของลม ทุกลมหายใจเข้าออก
ทำสักครู่หนึ่ง สังเกตุ สมาธิ สังเกตุอารมณ์ใจ สังเกตุความสงบของใจเรา

ขยับมาฝึกในขั้นต่อไป

การรู้ลมตลอดสาย
ให้เพิ่มการจินตนาการในลมหายใจของเรา
เห็นภาพในจิตว่า สายกระเเสลมหายใจของเราเป็นเหมือนกับเเพรวไหม พริ้วผ่านเข้าออกจมูกลงสู่ในกายของเรา
สติของเราจับกำหนดรู้ลมตลอดสาย
สติไม่คลาดจากลมหายใจที่เหมือนกับเเพรวไหมนั้น

จิตจดจ่อ
ลมหายใจสั้นรู้
ลมหายใจยาวรู้
ลมหายใจหยาบรู้
ลมหายใจละเอียดรู้
เรา (สติ) เป็นผู้ติดตามดู รู้ลมหายใจอันละเอียดปราณีตนี้
เราไม่ได้บังคับลมหายใจ เราใช้สติพิจารณาดูลมหายใจด้วยใจสบายๆ

จดจ่อตามดูตามรู้ลมหายใจตลอดสายนี้ไว้
ไม่นานลมหายใจจะสงบลง เบาลง
จนจิตเราสัมผัสกับความสงบของสมาธิได้
ให้กำหนดรู้ เเละอธิษฐานวสี การปักหมุดจดจำอารมณ์สมาธิ อารมณ์กรรมฐาน ว่า “ขอให้ข้าพเจ้าทรงอารมณ์ จดจำความสงบจากสมาธิ ลมสบาย อารมณ์จิตที่สบาย อุเบกขารมณ์ เอกัตคตารมณ์นี้ ได้เข้าสู่ฌานสมาบัติเเละอารมณ์สมาธินี้ได้ในทุกอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน ลืมตา หลับตา ได้ตลอดชีวิตข้าพเจ้า ตราบเท่าเข้าถึงพระนิพพานด้วย เทอญ”

จากนั้นใช้สติตามดู ตามรู้ลมหายใจต่อไป ตามดูตามรู้ความสงบของจิตต่อไป
เมื่อลมละเอียดยิ่งขึ้นถึงจุด ที่ลมหายใจนิ่งหยุดดับ ให้กำหนดรู้ในตัวนิ่งตัวหยุดอุเบกขารมณ์ นั้น ปล่อยวางจากลมหายใจ
มาจดจ่อกับตัวนิ่งตัวหยุด
เเละพิจารณาว่า ขณะนี้ เสียงเราอาจได้ยินบ้างเเต่เบาลง จิตไม่สนใจไม่รำคาญใจไม่นำไปปรุงเเต่ง
ฌานสมาบัติที่เราต้องการ คือ
จิตที่สงบ สงบจากกิเลสคือความโลภ โกรธ หลง
จิตที่หยุด หยุดจากการปรุงเเต่งให้เกิดทุกข์
หยุดปรุง คือ หยุดทุกข์
สุข ของสมาธิ คือ สุขจากความสงบ
สุขจากสภาวะที่ใจเราพัก ห่างกิเลสทั้งปวง

ประคับประคอง จิตให้เป็นสมาธิไว้
ระหว่างนี้เพิ่งเริ่มฝึก ร่างกายอาจจะมาหายใจใหม่
ก็ปล่อยหายใจตามธรรมชาติ ห้ามกลั้นห้ามฝืน
จดจ่อกับ ความสงบ ความนิ่งของจิตเป็นสำคัญ
เข้าสู่สมาธิจนรู้สึกพอเเล้ว จึงออกจากสมาธิ

โดยการออกสมาธิ
หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ ยาวๆ
หายใจเข้าออก ภาวนา พุท โธ
หายใจเข้าออก ภาวนา ธัม โม
หายใจเข้าออก ภาวนา สัง โฆ
เเล้วจึงถอนจิตขึ้นจากสมาธิ
ลืมตาขึ้นช้าๆ ด้วยความสุข ปิติ
ยินดีในกุศล ยินดีในความสงบของใจ

แผ่เมตตาออกไปยังทิศทั้งปวงโดยรอบ
เป็นเเสงสว่างใสสีทอง มีรัศมีแผ่จากจิตของเรา
แผ่ออกไปด้วยใจที่เป็นสุขปิติยินดี

เมตตาสมาธิ
ปฏิบัติธรรม ด้วยจิตปราณีต

คุณไม่สามารถคัดลอกเนื้อหานี้ได้