เสียงธรรมจากห้อง “เมตตาภิรมย์กรรมฐาน”
วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565
เรื่อง คาถาอภิญญารวม “โสตัตตะภิญญา”
โดย อาจารย์ คณานันท์ ทวีโภค
สวัสดีครับ ผ่อนคลาย ปล่อยวางทั้งร่างกายและจิตใจของเรา อยู่กับลมหายใจสบาย จิตว่าง วางเบา ผ่องใส วางอารมณ์ใจให้มีความสุขสงบเอิบอิ่ม จากภายในหัวใจของเรา ลมหายใจพริ้วไหว ละเอียดอ่อน ประดุจดังแพรวไหม ระยิบระยับ กำหนดจดจ่ออยู่กับลมหายใจละเอียดเบาสบายนั้น สงบนิ่งผ่องใส ใจสบายๆ สติกำหนดรู้เห็นลมหายใจเป็น แพรวไหมตลอดทั้งสาย ตลอดทั้งกองลม ใจแย้มยิ้มเอิบอิ่มเบิกบาน กาย จิตสัมผัสถึงกระแสแห่งปราณ ที่มีความเบา ละเอียดผ่องใสนั้น หายใจเข้า ซึมซับรับกระแสของปราณพลังชีวิต ความผ่องใส ใจยิ่งเอิบอิ่ม ยิ่งเปี่ยมพลัง หายใจออก ปล่อยวาง ปลดปล่อยความหนัก ความทุกข์ความกังวลออกไป พร้อมกับลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ละเอียดเบา เปี่ยมพลัง เปี่ยมความเอิบอิ่มผ่องใส ลมหายใจออกว่าง วางเบา ปล่อยวางผ่อนคลาย สติสงบระงับจดจ่ออยู่กับลมหายใจ จนจิตเข้าถึงความละเอียด เบาสบาย ความสงบ ความผ่องใสของจิต ลมหายใจที่เป็นปราณ เมตตาปราณสติ เข้าถึงความสงบระงับ ปล่อยวางร่างกาย เข้าถึงเวทนา คืออารมณ์แห่งความสุขเอิบอิ่ม เข้าถึงจิต คือความผ่องใส ความสงบในระดับฌาน ธรรมคือเข้าถึงความสงบระงับจากนิวรณ์ 5 ประการ และจิตสงบระงับจากกิเลสอกุศลทั้งปวง อยู่กับลมหายใจที่เปี่ยมพลัง เปี่ยมความผ่องใส ปล่อยวาง สงบ จิตเบาสบาย กายจิตเมื่อเบาสบายผ่องใส กำหนดอยู่กับอารมณ์คือสภาวะธรรม ความสงบ ปล่อยวางนั้น รู้อยู่กับอารมณ์ และลมหายใจที่ละเอียด เบาสบาย ประคับประคอง ทรงอารมณ์ที่จิตของเราอยู่กับความสงบนิ่งผ่องใสนี้ไว้ สังเกตดู รู้ด้วยสติ ว่าลมหายใจยิ่งละเอียด อารมณ์จิตเรายิ่งเบาสบาย ลมหายใจยิ่งสงบระงับลง คือช้าลง ละเอียดลง จิตยิ่งละเอียดขึ้น สงบขึ้น จนที่สุดคือลมหายใจสงบระงับหยุดนิ่ง หยุดรวมเป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นอุเบกขารมณ์ สงบนิ่งหยุดเบาผ่องใส
ในความนิ่งหยุด กำหนดนิมิต ปรากฏเห็นตัวหยุดตัวนิ่ง ปรากฏเป็นดวงแก้ว คือดวงจิตเราสว่างใส ยิ่งสว่างขึ้น จิตภายในยิ่งเอิบอิ่มเป็นสุขขึ้น ยิ่งสว่างขึ้น กำลังของจิต รัศมีของจิตยิ่งเพิ่มพูนสว่างขึ้น ความเป็นทิพย์ยิ่งปรากฏกระแส พลังงาน เป็นอนุภาค เป็นประกายระยิบระยับ รายรอบกาย รายรอบดวงจิตของเรา เป็นความพร่างพรายสว่างอาณา บริเวณครอบคลุม ยิ่งจิตเป็นสุข ยิ่งสัมผัสได้ถึงกระแสพลังงานที่ก่อเกิดขึ้น จากจิตของเราเอง การฝึกนี้คือตบะของการ บำเพ็ญ การทรงสมาบัติ การทรงสมาธิจิต เป็นฐานที่เราจำเป็นที่ต้องเพาะบ่มให้เกิดต้นทุน ด้วยกำลังของตน เมื่อกำลังของตนมีสูงเพียงพอ มีต้นทุนผลบุญต้นทุนของกรรมฐาน กำลังบารมีของพระพุทธองค์ ที่ทรงเมตตาสงเคราะห์ เชื่อมกระแสลงมา ก็ยิ่งเพิ่มพูนสุขขึ้น จิต ดวงแก้วใส มีความเป็นทิพย์ มีความพร้อมสมบูรณ์เต็มในกำลังแห่งฌานสมาบัติ เป็นประดุจดังภาชนะอันพร้อมรองรับกระแสธรรมจากพระพุทธเจ้า หากฐานสมถะ ฐานสมาธิเรายังอ่อนด้อย ไม่มีกำลัง ยังกะพร่องกะแพร่งไม่มีความตั้งมั่น ไม่มีความผ่องใส ไม่มีความสงบ กำลังก็เหมือนกับภาชนะที่บิ่นบ้าง เอียงเทบ้าง กระแสธรรมที่หลั่งไหลรวมลงสู่จิตก็หก ก็กระฉอก ไม่สามารถเก็บกัก รองรับกระแสธรรมอันละเอียดปราณีตวิมุติบริสุทธิ์หมดจดจากพระพุทธองค์ได้เต็มพร้อมสมบูรณ์ ให้เราน้อมจิตว่า ใจของเราผ่องใสสว่าง สะอาดบริสุทธิ์ จิตเรามีกำลัง มีความเป็นทิพย์ มีกระแสพลังงานพร่างพรายเป็นสนามพลังสว่าง อกุศลทั้งหลาย กำลังแห่งมารทั้งหลาย ไม่อาจกล้ำกรายมาเข้าใกล้ได้ มีแต่กำลังของกุศล กำลังของฌาน รัศมีความสว่างแห่งเมตตา คุ้มครองเป็นสนามพลังงาน รวมถึงกำลังแห่งพุทธานุภาพ มาคุ้มครองรักษาจิตเรา เทพพรหมเทวา มาอภิบาลคุ้มครองรักษาในยามที่เราเจริญพระ กรรมฐาน จิตเราสว่างผ่องใส ละเอียดเบาปราณีต จิตเป็นเพชรสว่าง จิตมีความพร่างพรายระยิบระยับ
กำหนดจิตให้กลางดวงแก้วที่เป็นเพชรสว่างนั้น กำหนดรู้อยู่ ว่าทรงอารมณ์ของกรรมฐานเทียบเท่ากับกสิณในปฏิภาคนิมิต คือกำลังสูงสุดแห่งกสิณ กสิณทั้ง 10 ที่เคยฝึก เคยปฏิบัติ กรรมฐานเก่าที่เคยปฏิบัติมาในกาลก่อน ไม่ว่าจะอดีตชาติถึงปัจจุบัน เราน้อมจิต รวมกสิณเป็นกสิณจิต คือกรรมฐานแห่งกสิณทั้ง 10 กอง รวมเป็นหนึ่งเดียว ภาวนากำกับว่า โสตัตตะภิญญา คาถาอภิญญารวม โสตัตตะภิญญา กรรมฐานทั้ง 10 จงรวมเป็นหนึ่ง เป็นอภิญญาสมาบัติ เป็นกำลังใหญ่ โสตัตตะภิญญา กำหนดเห็นจิตเป็นเพชรประกายพรึกสว่างพร่างพราย และ อาณาบริเวณโดยรอบ มีรัศมีของจิต เลยจากรัศมีของจิต ปรากฏสนามพลังงาน เป็นประกายความเป็นทิพย์เป็นอนุภาค ระยิบระยับ ละเอียดพร่างพรายรายรอบ เป็นขอบเขตกว้างขวางล้นเลยออกไป ความเป็นทิพย์ ความสว่างพร่างพราย ละเอียดนี้ เมื่อสัมผัสในสนามพลัง วัตถุธาตุทั้งหลายก็พลอยสั่นสะเทือน เปลี่ยนอนุภาค เปลี่ยนโมเลกุล เปลี่ยนผลึก มีความเป็นทิพย์ มีกำลังแห่งจิต มีกระแสความศักดิ์สิทธิ์ มีกระแสความเป็นทิพย์ปรากฏ กำหนดทรงอารมณ์ เห็นภาพ แก่นของจิตเป็นเพชรประกายพรึกสว่างชัดเจน รัศมีของจิตมีขอบเขต เป็นเส้นเป็นรุ้ง เป็นเหมือนกับฉัพพรรณรังสีสว่าง เลยจากเส้นแห่งรัศมีจิต ปรากฏเป็นสนามพลัง ความเป็นทิพย์พร่างพรายระยิบระยับ กำหนดทรงอารมณ์นี้ไว้ ภาวนาบริกรรมกำกับ โสตัตตะภิญญา จิตยังเนื่องยังทรงอยู่กลางอก คือภายในกายนี้อยู่ แต่กำหนดรู้แยกกาย แยกจิต จิตอยู่ภายในกายขันธ์ 5 นี้ สนามพลังงาน ในขณะนี้ยังอยู่ในมิติที่ทับซ้อนอยู่กับโลกมนุษย์ อยู่ในภพของโลกมนุษย์ ความเป็นทิพย์ ความผ่องใส ความเป็นปฏิภาคนิมิตของจิต ปรากฏชัดเจนสว่าง ภาวนาบริกรรมกำกับ โสตัตตะภิญญา พร้อมกับทำความรู้สึกกำหนดรู้ในสภาวะแห่งธรรม สภาวะแห่งพลังงานที่ปรากฏ ภาพนิมิตที่ปรากฏสว่างชัดเจน
โสตัตตะภิญญา กสิณรวมอภิญญาเป็นหนึ่งเดียว กสิณทั้ง 10 ผนึกรวมเป็นหนึ่ง ดินน้ำลมไฟรวมเป็นหนึ่ง วรรณกสิณ กสิณสีขาว กสิณสีดำ นิลกสิณ กสิณสีทอง กสิณสีแดงรวมเป็นหนึ่ง อากาศกสิณ กสิณความว่าง รวมตัวเป็นหนึ่ง อโลกสิณ กสิณแสงสว่างรวมตัวเป็นหนึ่ง โสตัตตะภิญญา ภาวนาบริกรรมไว้ กำหนดรู้ในสภาวะของพลังงานความรู้สึก ที่เปี่ยมพลัง โสตัตตะภิญญา กำหนดรู้เห็นนิมิต เห็นด้วยจิต เห็นในรัศมีของจิต เห็นในรัศมีที่เลยออกไปเป็นสภาวะ สนามพลังงานแห่งความเป็นทิพย์ พร่างพรายชัดเจนในจิต รู้สึกสัมผัส รู้เห็นด้วยจิต ครบทั้งสภาวะ ร่วมกับกำกับ บริกรรม โสตัตตะภิญญา คาถาอภิญญารวม สนามพลังรายรอบ 360 องศา จิตรู้สัมผัสได้โดยรอบ บน ล่าง ซ้าย ขวา หน้า หลัง ยิ่งบริกรรมพลังยิ่งเพิ่มพูนขึ้น แสงสว่างความผ่องใสของจิตยิ่งเพิ่มพูนขึ้น บางคนในขณะที่ปฏิบัติ สำหรับ บางคนจะมีความรู้สึกว่าคำภาวนาเร่งขึ้น เราก็ตามสภาวะธรรมที่เกิด ใครที่ภาวนาบริกรรมในจังหวะที่ช้า เราก็น้อมตาม สภาวะของเราที่ปรากฏ บางคนภาวนาบริกรรมแล้วมีความรู้สึกว่าอารมณ์จิตมันมีความเข้มแข็งหนักแน่น ก็กำหนดรู้ใน พลังที่เปี่ยมที่เพิ่มพูนขึ้น ที่ปลุกถูกปลุกขึ้น กำหนดรู้ในสภาวะธรรมของแต่ละดวงจิต ที่มีวิสัยอุปนิสัยแตกต่างกันไป กำหนดรู้ ดู รู้สึกสัมผัสในอารมณ์เฉพาะเป็นปัจจัตตังของตนเอง โสตัตตะภิญญา โสตัตตะภิญญา
จากนั้นกำหนดต่อไป กำหนดในกระแสที่จิตเป็นประกายพรึกสว่าง กำหนดรู้ในกายอธิษฐานจิต กำหนดรู้ กายที่เป็นกายเนื้อของข้าพเจ้านี้ ขอจงปรากฏเห็นอาการทั้ง 32 ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กระดูกฟัน ภายในร่างกาย อาการทั้ง 32 จงปรากฏเห็นทะลุทะลวงเป็นแก้วใสทั้งหมด ตับ ไต ไส้ พุง น้ำเหลือง น้ำหนอง อาการทั้ง 32 กระดูก เส้นเอ็น หลอดเลือดหัวใจ ปอด ม้าม ถุงน้ำดี ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร อวัยวะภายในทั้งหมด ขอจงเห็นกายภายในกาย คือขันธ์ 5 กายเนื้อ ในสภาวะอาการ 32 ทะลุทะลวงเป็นแก้วใสละเอียด โสตัตตะภิญญา เมื่อเห็นกายที่เป็นขันธ์ 5 กายเนื้อเป็นแก้วใสทั้งหมด เจริญวิปัสสนาญาณกำกับ ตัดร่างกายพิจารณาว่า เราเห็นกายนี้สักแต่ว่าเป็นกาย เห็นอาการ 32 นี้ ในแต่ละส่วน เป็นประดุจวัตถุชิ้นหนึ่ง จิตไม่มีความยึดเกาะ ไม่มีความยึดมั่น ถือมั่นว่า เป็นตัวเราของเรา เราไม่ใช่ร่างกาย ร่างกายไม่ใช่เรา ขันธ์ 5 นี้ไม่ใช่เรา เราอันที่จริงก็คือจิตหรืออาทิสมานกาย ที่มาอาศัย ร่างกายขันธ์ 5 นี้อยู่เพียงชั่วคราว ด้วยกำลังของบุญและบาป กุศลที่ส่งผลให้มาอยู่ในร่างกายนี้ กำหนดพิจารณาเห็น อาการทั้ง 32 นี้เป็นเพียงวัตถุ พิจารณาโดยละเอียด ไล่ตั้งแต่เบื้องบนนับตั้งแต่ศีรษะ ละเอียดช้าๆ ลงไปจนกระทั่งถึง ปลายเท้า
จากนั้นจึงพิจารณาไล่ตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นมาเรื่อยๆจนกระทั่งถึงศีรษะ เป็นการพิจารณาที่เรียกว่าอนุโลม ปฏิโลม คือตามลำดับ และย้อนทวนกลับ กำหนดจิตพิจารณากายขันธ์ 5 อาการ 32 เห็นอาการ 32 ที่ปรากฏนี้ยังอยู่ใน กระแสสนามพลังแห่งความเป็นทิพย์ การที่เรารู้สึก เห็น สัมผัสได้ถึงกระแสพลังแห่งความเป็นทิพย์ คือมีความสว่าง พร่างพรายตลอดเวลานั้น เป็นตัวยืนยันอีกชั้นหนึ่งว่าจิตเราทรงกำลังฌาน คือฌาน 4 ฌาน 4 ในกสิณนั้น ก็คือสภาวะ ที่ภาพนิมิตมีความพรั่งพรายละเอียดระยิบระยับเป็นเพชร ฌาน 4 ของกสิณ เรียกว่าปฏิภาคนิมิต ดังนั้นเมื่อเราพิจารณา ในสภาวะ ในสนามพลังที่มีความเป็นทิพย์ มีความพร่างพรายอยู่ นั่นก็หมายถึงว่า เราพิจารณาธรรมนี้ พิจารณาตัดร่างกายนี้ในฌานสมาบัติ และในขณะเดียวกันการที่เราพิจารณาอาการ 32 โดยที่มีกระแสสนามพลังแห่งความเป็น ปฏิภาคนิมิตมีความเป็นทิพย์ ธาตุทั้ง 32 ที่เราพิจารณา ก็ถูกฟอก ถูกชำระล้างธาตุขันธ์ให้มีสภาวะความเป็นทิพย์ ปรับเปลี่ยนผลึกอนุภาพโมเลกุล ของธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ภายในกายของเรา ให้กลายเป็นสภาวะที่มีพลังแห่งความเป็นทิพย์ปรากฏไปด้วยเช่นกัน
พิจารณาปล่อยวางร่างกาย พิจารณาอาการ 32 พิจารณาฟอกล้างชำระธาตุขันธ์ทั้งหลาย ทั่วร่างกายของเรา สนามพลังรายรอบมีความเป็นทิพย์สว่าง ตัดร่างกายพิจารณาว่ากายเนื้อขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวเราของเราพิจารณาไล่อนุโลมปฏิโลมพิจารณาเห็นตั้งแต่เบื้องบนศีรษะ ใบหน้า คาง คอ อก ลำตัว สะโพกต้นขา เท้า ปลายเท้า พิจารณาผ่านอวัยวะทุกส่วนภายใน จากนั้นจึงพิจารณาให้ละเอียด ตั้งแต่ปลายเท้า ปลายเล็บเท้า กระดูกภายในนิ้วเท้า ไล่ขึ้นไป เส้นเอ็นประสาท กระดูกหน้าแข้ง เนื้อหนังมังสาของขา ไล่ขึ้นไปจนกระทั่งถึงเบื้องบนศีรษะ คือปลายผมว่า กายนี้ไม่ใช่ตัวเราของเรา ผมก็เป็นเส้นผมที่มาปักอยู่บนหนังศีรษะ หนังศรีษะก็คือแผ่นหนังที่มาพอกมาปิด ปิดทับอยู่ บนกล้ามเนื้อ อยู่บนชั้นผิว ลึกลงไปก็ปรากฏเป็นไขมัน เป็นกล้ามเนื้อ ลึกลงไปอีกก็มีเส้นเอ็น มีข้อต่อ มีกระดูก ลึกเข้าไปภายในร่างกาย เราก็เห็นอวัยวะภายในทุกส่วน พิจารณาว่าทุกอย่างมันก็คือธาตุ มันก็คืออาการ 32 ที่มาประกอบ รวมกัน มาประชุมกันเป็นร่างกายเนื้อนี้ หากแยกอาการ 32 ออกไป ผมก็เป็นกองผม เล็บก็เป็นกองเล็บ ฟันก็เป็นกองฟัน กระดูกก็เป็นกองกระดูก เส้นเอ็นก็เป็นกองเส้นเอ็น อวัยวะแต่ละส่วน อาการ 32 ถูกแยกออกมาเป็นกองๆ จึงมีการ เรียกว่า อาการทั้ง 32 เมื่อแยกมาเป็นวัตถุแต่ละกอง ความรู้สึกว่าเป็นตัวเราของเราก็หมดไป แต่เมื่อไหร่วัตถุทั้งหลาย มาประกอบกันเป็นร่างกายเนื้อนี้ อวิชชาก็พาให้หลงว่าตัวเราเป็นของเรา พิจารณาให้เห็น ตัดร่างกายโดยละเอียด ปราณีตลึกซึ้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้จิตยอมรับตามความเป็นจริงว่า เราไม่ใช่ร่างกายเนื้อ ร่างกายเนื้อนี้ไม่ใช่เรา เราคือดวงจิตหรืออาทิสมานกายที่มาอาศัยร่างกายเนื้อนี้อยู่เท่านั้น จากนั้นก็ต้องเดินทางท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ เวียน ว่ายตายเกิดไปด้วยกระแสพลังแห่งกรรมแห่งวิบาก ไม่ว่าจะเป็นกระแสแห่งกุศลก็ดี กระแสแห่งอกุศลก็ดี เราพิจารณา จนเห็นทุกข์ภัยในสังสารวัฏ จึงมีจิตคิดพิจารณาเห็นธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ อันเป็นเครื่องออกจากสังสารวัฏนี้
เราจึงอธิษฐานจิต ขอบารมีพระพุทธองค์ทรงสงเคราะห์ ขอยกจิตของข้าพเจ้าขึ้นไปบนพระนิพพาน น้อมจิต กราบสมเด็จองค์ปฐม พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์บนพระนิพพาน กำหนดน้อมพุ่งอาทิสมานกาย อธิษฐานจิต ขอให้ปรากฏ ความเป็นกายพระวิสุทธิเทพบนพระนิพพาน กายสว่างผ่องใส เมื่อความเป็นกายพระวิสุทธิเทพปรากฏขึ้นบน พระนิพพานแล้ว อยู่เบื้องหน้าพระพุทธองค์แล้ว ก็น้อมจิตกราบด้วยความนอบน้อม กราบด้วยความเคารพ จากนั้นพิจารณาในความเป็นกายพระวิสุทธิเทพ พิจารณาอนุโลมปฏิโลม นับตั้งแต่ยอดมงกุฎที่สวมไล่ลงไปถึงปลายเท้า ใช้มือ อันเป็นทิพย์สัมผัสเครื่องประดับ เครื่องทรงต่างๆ ที่ปรากฏ ความรู้สึกว่าเราได้จับ ได้สัมผัส ไม่ว่าจะเป็นยอดมงกุฎชฎา ยอดมงกุฎเพชร ยอดมงกุฎ ค่อยๆพิจารณาจับสัมผัสไล่ลงไป ตั้งแต่ด้านบนลงมาด้านล่างเรื่อยๆช้าๆ แล้วก็กำหนดรู้ บอกตัวเราว่า เราคืออาทิสมานกาย ตอนนี้กายทิพย์ของเราอยู่บนพระนิพพาน เราตั้งจิตว่าตายเมื่อไหร่ เราจะมาที่ พระนิพพานเพียงจุดเดียวเท่านั้น ภพอื่นภูมิอื่น การเกิด การเวียนว่ายในสังสารวัฏไม่เป็นที่ปรารถนาสำหรับเราอีกต่อ ไป
เราตั้งจิตขึ้นมาบนพระนิพพานนี้ และเมื่อไหร่ก็ตามที่เราหมดวาระจากความเป็นมนุษย์ รูปกายความเป็นทิพย์เรา ก็จะเป็นกายพระวิสุทธิเทพอย่างถาวร เป็นอมตะธรรม เป็นเทพที่มีความเป็นทิพย์พิเศษอยู่บนพระนิพพาน ที่เรียกกันว่า พระวิสุทธิเทพ มีความบริสุทธิ์ของจิต อันปราศจากกิเลส ความอยาก ละสังโยชน์ทั้ง 10 ที่ร้อยรัดชักจูงดึงดูดให้เราไป เกิดในภพอื่น กำหนดสัมผัสในกายแห่งพระวิสุทธิเทพ ช้าๆอย่างละเอียด รู้สึกได้ถึงเพชรยอดมงกุฎ เป็นแก้วกลมใส สว่างมีรัศมีโชติ เครื่องประดับที่เป็นยอดแหลมของมงกุฎ เครื่องประดับที่เป็นกระจังรายรอบมงกุฎ สัมผัสได้ ใบหน้าของ กายพระวิสุทธิเทพที่ราบเรียบเนียนเป็นแก้วสว่างใส มีแสงสว่าง มีความเป็นทิพย์ สัมผัสแล้วจิตเรายิ้ม มือที่มีเพชร มีแหวน มีเครื่องประดับ สัมผัสถึงอินธนูที่บ่า อุบะทับทรวงที่บริเวณหน้าอก ที่หน้าอกกลางอุบะก็มีเพชรเม็ดใหญ่ ปรากฏสว่าง สัมผัสในเครื่องประดับ ในสภาวะ ในความเป็นกายพระวิสุทธิเทพนั้น บอกกับตัวเราว่าเรายกจิต สภาวะ ความเป็นกายพระวิสุทธิเทพนั้นปรากฏชัดแจ้งชัดเจน กำหนดรู้อยู่กับใจของเรา ญาณเครื่องรู้ของบางคนที่เห็นไม่ชัด เวลาที่เราจับ เวลาที่เราคลำด้วยความเป็นทิพย์ของกายทิพย์ จะยิ่งทำให้ภาพที่เราเห็นในกายพระวิสุทธิเทพจะยิ่งชัด เจนขึ้น และความรู้สึกที่เราใช้จิตในกายทิพย์สัมผัสกายของตนเองข้างบนพระนิพพานนั้น จะยิ่งทำให้เรากระจ่างแจ้ง ชัดเจนขึ้น หมดความสงสัย กำหนดพิจารณาลูบคลำในกายพระวิสุทธิเทพ กายทิพย์ของเรา
เมื่อกำหนดจนสภาวะชัดเจนแล้ว อธิษฐานจิต ขอบารมีสมเด็จองค์ปฐม ขอกายพระวิสุทธิเทพของข้าพเจ้า ทุกคนจงไปปรากฏที่วิมานของแต่ละบุคคลบนพระนิพพาน เริ่มจับค่อยๆทั้งดู ทั้งคลำ ทั้งสัมผัส เริ่มตั้งแต่ปากทางเข้า ค่อยๆจับ ค่อยๆสัมผัสบันไดที่เป็นแท่นขึ้นไป ขึ้นไปด้านบนซุ้มประตู สัมผัสซุ้มประตู มองเห็นเรือนยอดของวิมาน จะจับ จะสัมผัสจนกระทั่งถึงแท่นที่นั่งของพระวิสุทธิเทพ ใจกลางของวิมานบนพระนิพพาน กำหนดสัมผัสจับดูว่าเป็นแท่นเรียบๆ หรือมีลายกระจังที่มีความละเอียดประณีต เป็นแก้วใสหรือขุ่นหรือทึบ กำหนดสัมผัสว่าทุกอย่างมีแต่ความ เรียบๆหรือมีลวดลายวิจิตรบรรจง สัมผัสเพื่อให้รู้ถึงความละเอียดของลายที่วิจิตรบรรจงนั้น ใช้ความเป็นทิพย์ค่อยๆ สัมผัสจนกระทั่งพอใจแล้ว จึงกำหนดให้กายทิพย์นั้นไปนั่งบนแท่น ในสภาวะของกายพระวิสุทธิเทพ นั่งห้อยพระบาท คือห้อยขาลงมา กำหนดรู้ว่า ขาที่ห้อย เท้าที่สัมผัส เท้าเราใส่รองเท้าหรือไม่ใส่ และในขณะที่นั่งนั้น เหยียบอยู่บนสิ่งใด กำหนดรู้ กำหนดรู้สึกด้วยความเป็นทิพย์ วางฝ่ามือทั้งสองข้างที่บริเวณหัวเข่า อารมณ์ใจมีความผ่องใส นั่งตัวตรงยิ้ม ความรู้สึกในความเป็นกายพระวิสุทธิเทพปรากฏกระจ่างชัดเจน
จิตเริ่มน้อมนำ ทรงอารมณ์ของพระนิพพาน กายทิพย์ สว่างผ่องใส บริกรรม
นิพพานังปรมังสุขัง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
ยิ่งบริกรรมทั้งกายทิพย์ ทั้งวิมานยิ่งสว่าง นิพพานังปรมังสุขัง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง จิตเป็นอิสระจากพันธะ จากความห่วง จากสรรพกิเลสทั้งปวง จากสังโยชน์ทั้ง 10 จิตเป็นสุขอย่างยิ่ง กิจทั้งปวงจบแล้ว ชาติ ชรา มรณะ ความทุกข์ทั้งหลาย การเบียดเบียนทั้งหลาย ไม่อาจกระทำย่ำยีต่อจิตใจของเราได้อีกต่อไป จิตเราพ้นจากวัฏสงสารนี้แล้ว สภาวะของความเป็นพระวิสุทธิเทพของ ทุกท่านนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าองค์ปฐม ไล่มาจนถึงองค์ปัจจุบัน พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระอรหันต์ทุก พระองค์บนพระนิพพาน ขอน้อมกระแสความรู้สึกอารมณ์แห่งพระนิพพานจงกระจ่างแจ้งซึมซับ หลั่งไหลรวมลงมาที่จิต ของข้าพเจ้า กิจทั้งหลายจบแล้ว ภาระทั้งหลายสิ้นแล้ว การเกิดจบสิ้นแล้ว อารมณ์จิตเป็นอิสระจากวัฏสงสาร ใจสว่างผ่องใส จิตวิสุทธิ์วิมุติหมดจด จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอย่างแท้จริง
นิพพานัง ปรมังสุญญัง พระนิพพานเป็น ความว่างจากสรรพกิเลสอย่างยิ่ง จากภาระทั้งหลายอย่างยิ่ง
นิพพานัง ปรมังสุขัง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ปราณีต อย่างยิ่ง ละเอียดอย่างยิ่ง
กำหนดจิตสว่างขึ้น บริกรรม ทรงอารมณ์ในอารมณ์พระนิพพานไว้ ซึมซาบซึมซับกระแส ของพระพุทธองค์ กระแสของพระนิพพานรวมลงสู่จิตสู่ใจสู่อาทิสมานกายของเรา นิพพานัง ปรมังสุขัง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ทรงอารมณ์สว่าง ใจเป็นสุข สภาวะความเป็นกายพระวิสุทธิเทพ นั่งอยู่ภายในวิมาน สว่างชัดเจน อารมณ์จิตที่เอิบอิ่มสว่างผ่องใสเจิดจรัส กระแสของความสุข กระแสของรัศมีจิต สว่างชัดเจน ความรู้สึกในความเป็น กายพระวิสุทธิเทพชัดเจน อารมณ์สภาวะธรรม ที่โล่งว่างจากสรรพกิเลสทั้งหลาย ปรากฏชัดเจน
นิพพานัง ปรมังสุขัง พระนิพพานเป็นสุข ละเอียดวิมุติอย่างยิ่ง
จิตเข้าถึงสภาวะธรรม เข้าถึงอารมณ์แห่งอุปสมานุสติกรรมฐาน คือ อารมณ์พระนิพพานอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงแค่เห็นภาพนิมิต เห็นภาพอาทิสมานกาย เห็นภาพพระวิสุทธิเทพบน พระนิพพาน แต่ความรู้สึก คือรู้สึกตระหนักหยั่งถึงว่ากายของเราขณะนี้ คือกายพระวิสุทธิเทพที่ทรงความรู้สึกเป็นสุข อย่างยิ่ง ทรงอารมณ์ความรู้สึกว่า กิจทั้งหลายจบแล้วหนอ กิจในพระพุทธศาสนาจบแล้วหนอ สิ้นภพจบชาติแล้ว เราเข้า ถึงซึ่งพระนิพพานแล้วอย่างแท้จริง นิพพานัง ปรมังสุขัง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง การปฏิบัติ การเจริญพระกรรมฐาน ของข้าพเจ้า ก็มีความละเอียดปราณีตลึกซึ้งอย่างยิ่ง
นิพพานัง ปรมังสุขัง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
จากนั้นน้อมจิตสื่อกระแสจากกายพระวิสุทธิเทพของเราที่อยู่ในวิมานของตัวเราเอง สื่อกระแสเชื่อมถึงสมเด็จ องค์ปฐม สื่อเชื่อมถึงพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน สื่อเชื่อมถึงหลวงพ่อพระราชพรหมญาณ น้อมจิตถึงท่านว่าการที่เรา ปฏิบัติเช่นนี้ ท่านเมตตา ท่านดีใจ ท่านยินดีกับเราหรือไม่ ขอกระแสจากทุกท่านทุกพระองค์ ได้ส่งได้ถ่ายทอด ได้เชื่อมโยงถึงจิตเรา ที่วิมานของตัวเราเองแต่ละบุคคลด้วยเถิด ท่านยิ้มไหม ท่านเมตตาไหม ท่านยินดีไหม กระแส รอยยิ้ม กระแสแห่งพระพุทธเมตตา กระแสฉัพพรรณรังสีบารมีของทุกท่าน ยิ่งส่งสะท้อนมาถึงอาทิสมานกายของเราบน พระนิพพานแต่ละคนไหม ใช้ความละเอียดของจิตซึมซับ จนจิตของเราเกิดความนอบน้อม เกิดความซาบซึ้ง เกิดกำลัง ใจในการปฏิบัติ กระแสพลังแห่งธรรมฉันทะความพึงพอใจยิ่งเพิ่มพูนขึ้น สว่างขึ้น เอิบอิ่มขึ้น จนรู้สึกสัมผัสได้ว่า เราเป็นผู้ที่อยู่ในกระแสแห่งพระนิพพาน เป็นผู้ที่อยู่ในกระแสแห่งพระโลกุตรธรรมเจ้าอย่างแท้จริง ไม่มีหลุด ไม่มีถอย หลัก ไม่มีหลุดร่วงไป เป็นผู้ที่ไม่ถอยกลับอย่างแท้จริง ยิ่งปฏิบัติมีแต่ก้าวเข้าใกล้ ก้าวขึ้นสู่ความเป็นพระอริยเจ้าที่สูงขึ้น สูงขึ้น ละเอียดขึ้นตามลำดับ จนถึงที่สุดคือพระนิพพานอย่างแท้จริง
เมื่อกำลังใจความชัดเจน ความผ่องใส ความตระหนักรู้ ถึงความเป็นพระวิสุทธิเทพบนพระนิพพานของเรา ชัดเจนแล้ว พระพุทธองค์ทรงมีกระแสพระพุทธเมตตา ส่งตรงถึงเราแล้ว เราก็น้อมจิต ขออาราธนาบารมีเชื่อมกระแส จากพระนิพพาน น้อมเป็นกระแสบุญศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงแผ่อุทิศส่วนกุศล ส่งตรงลงสู่วัฏสงสาร สู่มวลหมู่เวไนยสัตว์ทั้งปวง
- แผ่เมตตา ลงมายังภพแห่งอรูปพรหมทั้ง 4 กระแสแห่งพระนิพพาน ความสว่างผ่องใส ความสุขบุญกุศล
- แผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล ลงมายังพรหมโลกทั้ง 16 ชั้น
- แผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล ไปยังทุกท่าน สวรรค์ทั้ง 6 ชั้น
- แผ่เมตตา ลงไปยังภพของรุกขเทวดา ทั้งโลก ทั้งจักรวาลทุกพระองค์
- แผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศลลงไป ยังภุมมเทวา พระภูมิเจ้าที่ เจ้าที่เจ้าทาง ทั่วโลก และทั่วจักรวาลทุกพระองค์
- แผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศลให้กับบรรดามนุษย์ และเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั่วทั้งโลก ทั่วทั้งอนันตจักรวาล ทุก ดวงดาว ทุกเอกภพทุกกาแล็กซี่
- แผ่เมตตา ลงไปยังโอปปาติกะ สัมภเวสี อุทิศส่วนกุศลให้กับ ทุกดวงจิต ทั่วโลกทั่วจักรวาลทั่วทุกมิติ ดวงจิต ดวงวิญญาณที่ตกค้าง อยู่ในจักรวาล อยู่ในดวงดาวต่างๆ อยู่ในมิติต่างๆ ทับซ้อนหลงในเมืองลับแล ในมิติหรือปะปนอยู่กับภพของมนุษย์ ภพของดวงดาวต่างๆ
- แผ่เมตตา ลงไปยังดวงจิตของเปรตและอสุรกายทั้งในโลก และเปรตอสุรกายในภพภูมิต่างๆ ดวงดาวต่างๆทั่ว จักรวาล ทั่วทุกมิติ
- แผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศลลงไปยังบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลาย ในนรกภูมิทุกขุม ลึกที่สุดลงไปถึงโลกันตมหานรก
กระแสจากพระนิพพาน กระแสเมตตาบุญกุศลที่อุทิศให้กับมวลสรรพสัตว์ ทั่วอนันตจักรวาล ทั้ง 3 ภพ 3 ภูมิ อาทิสมานกายพระวิสุทธิเทพเรายิ่งสว่างขึ้น ผ่องใสขึ้น เป็นเพชรระยิบระยับ เป็นรุ้ง เป็นเส้นแสง เป็นพลังสว่างขึ้น กายจิต ยิ่งสบาย ผ่องใส ตั้งใจว่าขอให้ข้าพเจ้าสามารถยกจิตขึ้นมาทรงอารมณ์แห่งอุปสมานุสติ อารมณ์พระนิพพาน ใช้กำลังมโนมยิทธิ ยกอาทิสมานกายขึ้นมา และสามารถทรงอารมณ์จิตอันละเอียดปราณีตเช่นนี้ ได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่ลัดนิ้วมือเดียวทุกครั้งด้วยเถิด กายจิตสว่างผ่องใส วิมานสว่างผ่องใส ความลังเล สงสัยในการปฏิบัติ สิ้นไปจาก จิตของเรา วิจิกิจฉาทั้งหลายขาดสะบั้น เป็นสมุจเฉทปหาน กายจิตสว่างเอิบอิ่ม
จากนั้นน้อมจิตกราบลาพระพุทธเจ้า และทุกท่านบนพระนิพพาน ตั้งจิตโมทนาสาธุกับทุกบุญกุศลของพระพุทธเจ้า ทุกๆพระองค์บนพระนิพพาน พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอรหันต์ทุกๆพระองค์บนพระนิพพาน มีสมเด็จองค์ปฐมทรงเป็นประธาน โมทนาสาธุ มหาโมทนาบุญกับพระโพธิสัตว์ พระมหาโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ โมทนาบุญ มหาโมทนาบุญกับเทพพรหมเทวา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกพระองค์ ความดีทั้งหลายของสรรพสัตว์ทั่วสังสารวัฏ ทั้ง 3 ภพภูมิ กระแสแห่งการเจริญมุทิตาอัปมาณฌาน เป็นกระแสแห่งการมหาโมทนาบุญ จากทุกดวงจิต ทั่วทุกภพทุกภูมิ เป็นกระแสบุญหลั่งไหล รวมสู่จิตของเราทุกคน เส้นแสงพลังงาน พลังบุญพุ่งมากมายมหาศาล จากทุกทิศทาง รวมลงสู่จิตของเรา สว่างผ่องใส บุญส่งผล บุญก่อเกิด บุญเป็นกำลังใหญ่ สายทรัพย์ สายสมบัติ สายบารมี หลั่งไหล พรั่งพรูสู่ชีวิต ในขณะที่เรายังอยู่บนโลกมนุษย์ สายบุญ สายทรัพย์ สายสมบัติ สายบารมี จงหลั่งไหลมาสู่ข้าพเจ้าในทุกๆทิศทุกๆทาง หลั่งไหลลงมาในทุกวิถีทาง ให้ข้าพเจ้าใช้สร้างความดี สร้างบุญบารมี สงเคราะห์เกื้อกูลตน สงเคราะห์ เกื้อกูลครอบครัว ทํานุบํารุงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ขอบุญจงส่งผล ใจมีความเอิบอิ่ม แช่มชื่นเบิกบาน
จากนั้นจึง กำหนดจิต พุ่งอาทิสมานกายกลับมาสู่กายเนื้อบนโลกมนุษย์ กำหนดจิต ว่ากายที่เป็นกายเนื้อเรา ปรากฏพุทธนิมิตรเป็นพระสามฐาน เหนือศีรษะ ภายในสมอง และภายในกาย ภายในอกใจเอิบอิ่มสว่าง ความรู้สึกว่า สนามพลังความเป็นทิพย์โดยรอบยังปรากฏ รอบกายเรามีความพรั่งพรายระยิบระยับ กระแสพลังงาน พลังของกาย ทิพย์เต็มเปี่ยม จากนั้นน้อมจิตโมทนาบุญกับเพื่อนที่ปฏิบัติธรรม กัลยาณมิตรที่ปฏิบัติธรรมร่วมกันทุกคน ในบุญแห่ง การเจริญพระกรรมฐานใหญ่ โมทนาบุญ ในทุกบุญกุศลที่ก่อเกิดขึ้น รวมถึงผู้ที่มาฟังในภายหลัง จากนั้นจึงค่อยๆ หายใจเข้าลึกๆช้าๆ เข้าพุท ออกโธ หายใจเข้าลึกละเอียด หายใจครั้งที่ 2 ธัมโม หายใจเข้าลึกๆช้าๆ สว่าง หายใจเข้าครั้งที่ 3 สังโฆ ลึกๆช้าๆ ละเอียดเบา แล้วจึงถอนจิตออกจากสมาธิ ด้วยอารมณ์ที่ละเอียดประณีต กายจิต สบายผ่องใส กายจิตแย้มยิ้มเอิบอิ่มเป็นสุข ธรรมปิติก่อเกิดขึ้นในใจในจิตของเราทุกคน แล้วก็อย่าลืมที่จะเขียนแผ่นทอง อธิษฐานพระนิพพาน ตั้งจิตตั้งใจร่วมกันเพื่อให้จิตเราได้ปักได้ย้ำในกุศลในความดี สำหรับวันนี้ก็ขอโมทนาบุญกับ ทุกท่านนะครับ ปฏิบัติได้ดีกันหลายๆท่าน สภาวะความเป็นกายพระวิสุทธิเทพ ยิ่งกระจ่างชัดเจนขึ้น หลายๆคน ก้าวหน้าขึ้นกว่าเดิม ก็ขอโมทนาด้วย พบกันใหม่สัปดาห์หน้า สำหรับอาทิตย์นี้ก็ขอโมทนากับทุกคน สวัสดีครับ
ถอดความและเรียบเรียงโดย : คุณวรรณภา