ปฐมนิเทศการฝึกเป็นครูเมตตาสมาธิ
โดย อาจารย์คณานันท์ ทวีโภค
หลักสูตรของครูเมตตาสมาธิจุดสําคัญที่พระท่านปรารถนาให้ทําตรงนี้ เพราะว่าเรากําลังจะเข้าสู่ยุคของชาววิไลจริง ๆ หลังจากผ่านภัยพิบัติต่างๆ ในช่วงนี้ไปได้
รวมถึงเป็นยุคที่ขึ้นของพระพุทธศาสนาด้วย
พระท่านได้เคยบอกกับผมว่า
ให้เธอลองคิดดูว่า ถ้าหากคําพยากรณ์ที่กล่าวไว้ว่า ต่อไปขึ้นสู่ยุคของความเจริญในพระพุทธศาสนามากด้วยพระอริยเจ้า มากด้วยพระสุปฏิปันโน มากด้วยพระโพธิสัตว์ หากมีผู้คนมากมายได้มรรคผลคล้ายดังสมัยพระพุทธกาล เธอลองคิดพิจารณาดูว่า การปฏิบัติจะเป็นเรื่องง่ายหรือเรื่องยาก ถ้าหากการปฏิบัติยังเป็นเรื่องยากจะมีผู้ที่ได้มรรคผลมากหรือ ดังนั้นเธอจะต้องมาทําให้การปฏิบัติเป็นเรื่องง่าย ต้องใช้ปัญญาที่มีปัญญาครอบคลุมในเรื่องทั้งปวงของเธอนี่แหล่ะ มาทําให้การปฏิบัติง่ายขึ้น เร็วขึ้น มุ่งลัดตัดตรงขึ้น
ด้วยเหตุนี้ในเวลาที่ผมสอนสมาธิ อันนี้เล่าให้ฟังเพื่อให้เข้าใจถึงแก่นเข้าใจถึงเหตุที่มาทั้งหมดก่อน ดังนั้นผมพยายามคิดเสมอว่าเวลาสอนทําอย่างไรจะทําให้คนได้สมาธิง่ายที่สุดเร็วที่สุด ยิ่งง่ายยิ่งดี แต่กว่าจุดที่เราจะได้มานี่ ถามว่ายากไหม สําหรับตัวผมเองถือว่ายากในระดับหนึ่ง แต่ก็นับว่าง่ายกว่าคนทั่วไปอีกมากมายหลายท่าน ในแต่ละขั้นในแต่ละจุดที่ผมได้ ส่วนหนึ่งเป็นของเก่าที่เราเคยทํามาในกาลก่อนด้วย
คราวนี้ ในแต่ละส่วนที่ผมจัดจะมีอยู่ 2 ส่วน
ในการปฏิบัติธรรมอย่างที่เราทราบอยู่แล้วว่าจะแบ่งเป็น 1.สมถะ และ 2.วิปัสสนา
“สมถะ” ตัวยากที่สุดคือทําสมาธิอย่างไรให้ได้ฌานสี่ ในช่วงกาลเวลาที่ผ่านมาแต่ละที่แต่ละสํานักปฏิบัตินี่ กว่าจะฝึกกันจนได้ฌานกว่าจะได้ตัวสมาธิ บางคนย่ําอยู่ตั้ง 10 ปี 20 ปี สมาธิก็ยังไม่ได้ก้าวหน้าไปไหน เป็นเรื่องยากมากกว่าจะจิตสงบ นิ่ง หยุด เป็นเอกัตคตารมณ์เนี่ยแทบจะเป็นไปไม่ได้ เป็นการที่ปฏิบัติที่ยาก ถือว่ายาก เป็นจุดที่ยากที่สุดในเรื่องของฌานสี่ แล้วจุดหนึ่งที่ในการปฏิบัติในตัวสมถะเนี่ยที่จริงแล้วฌานอื่นเนี่ยมันไม่สําคัญมาก เป้าสําคัญที่สุดที่เราต้องการคือฌานสี่ เพราะว่าฌานสี่เวลาที่ปรากฏขึ้นแล้ว จิตเรามีกําลังของจิตตานุภาพของการทําสมาธิจนรวบรวมจิตเข้าถึงความสงบในระดับฌานสี่ได้แล้ว ผลคือเราจะได้อารมณ์กรรมฐานสําคัญ 2 ตัว คือ 1.นิวรณ์5 ประการมันสิ้นไปทั้งหมด จิตสํารวมลงเป็นเอกัคคตารมณ์ จิตรวมเป็นหนึ่ง
จิตมีกําลัง ซึ่งกําลังที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ จิตรวมเป็นหนึ่งนั่นแหล่ะคือกําลังสําคัญที่ใช้ตัดเป็นกําลังฌานที่ใช้ตัดกิเลสเป็นสมุทเฉทประหารได้ 2.อุเบกขารมณ์ เวลาสอนเราต้องชี้ให้คนที่เรียนให้คนที่ฝึกเขาเข้าใจ เพราะตัวอุเบกขารมณ์เนี่ยทําให้เกิดสภาวะ ทําให้ใจของเราสามารถวางเฉยต่อสิ่งที่มากระทบทางอายตนะทั้ง5 ได้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือแม้แต่อายตนะหก ก็คือใจด้วย ซึ่งหากหยุด หยุดการปรุงแต่ง หยุดการกระทบอุเบกขาในการกระทบอายตนะได้ หยุดการปรุงแต่งได้ กิเลสก็ไม่เกิด อันนี้คือข้อต่อไปที่สําคัญ แล้วพออุเบกขารมณ์เนี่ย พอเราชินมากเข้าชํานาญมากเข้า แล้วเราสามารถดึงเอาความเข้าใจในเรื่องอุเบกขารมณ์ต่อสิ่งที่มากระทบทางอายตนะเนี่ย มาพิจารณาเทียบรวมกันกับสังขารุเปกขาญาณ ก็คือการวางเฉยต่อร่างกายขันธ์5 จิตมันก็จะเริ่มเข้าสู่วิปัสสนาญาณได้ง่ายขึ้น สูงขึ้นแล้ว ตรงนี้เลยเป็นเรื่องสําคัญมากที่เป้าหมายจริง ๆ คือ ถ้าทําสมถะ ถ้าสอนทําสมถะ ต้องทําให้ได้ถึงขั้นของที่เรียกว่าฌานสี่ แต่ฌานสี่ตรงจุดนี้เขาเรียกว่าฌานสี่ใช้งาน ฌานสี่ใช้งานที่หลวงพ่อฤาษีฯ ท่านกล่าวไว้ คือโบราณท่านก็ใช้คําว่าใช้งาน คําว่าใช้งานก็คือ 1.ใช้ตัดกิเลส 2.ใช้อธิษฐานจิต 3.สามารถที่จะใช้เป็นกําลังของอภิญญา
ดังนั้นที่จริงแล้วฌานสี่ ใช้งาน มันเป็นกําลังสมถะเป็นกําลังสมาธิ ที่สารพัดประโยชน์มากกว่าฌานสี่ละเอียด ฌานสี่ละเอียดเป็นการเพาะบ่มกําลังจิตความสงบ พอผ่านจากสภาวะที่จิตนิ่งหยุดเป็นเอกัคคตารมณ์เป็นฌานสี่หยาบ หรือฌานสี่ใช้งาน ถ้าหากว่าเราไปต่อไม่ใช้งานมันอยู่กับสมาธิต่ออยู่กับความสงบต่อ จิตจะค่อย ๆ รวม ค่อย ๆ ลึกลง ลึกดิ่งจิตจนกระทั่งเข้าฐาน พอจิตเข้าสู่ฐานใบ อายตนะคือหู สัมผัสทางกาย เสียง กลิ่น ความรู้สึกภายนอกทางระบประสาทสัมผัสทั้งหมดจะหรี่จนกระทั่งดับลงจนไม่รู้สึก รู้สึกว่าเราตื่นโพลงอยู่ภายใน
ตรงนี้เรียกว่าฌานสี่ละเอียด ตรงนี้ไปฝึกเอาก็ได้ แต่ว่าในส่วนของการที่จะนําเอากําลังของสมาธิ สมถะมาใช้ปฏิบัติเรามุ่งเน้นที่ฌานสี่หยาบหรือฌานสี่ใช้งาน ตรงนี้ให้เข้าใจก่อน แต่คราวนี้ส่วนใหญ่ 90 เปอร์เซ็นต์ การปฏิบัติในสํานักทั่วไปที่เป็นมาตรฐานเนี่ย ท่านก็จะให้เน้นเรื่องของการภาวนาบริกรรม ภาวนาพุทโธบ้าง ภาวนานะมะพะทะบ้าง ภาวนายุบหนอพองหนอบ้าง สัมมาอะระหังบ้างแล้วแต่ แล้วก็จับลมหายใจเข้า ลมหายใจออกจุดเดียว แต่คราวนี้เป้าหมายของเราคือต้องการให้ได้ฌาน ดังนั้นวิธีการใดก็ตามที่ทําให้จิตเกิดสมาธิ วิธีนั้นถือว่าใช้ได้ทั้งสิ้น และสิ่งสําคัญ ถ้าเราเคยได้ยินคําพูดที่กล่าวถึงแมวตัวไหนแมวสีอะไรที่จับหนูได้ก็ถือว่าใช้ได้ ดังนั้นเทคนิคอะไรก็ตามที่ทําให้เราสํารวมจิตเข้าสู่สมาธิได้อย่างรวดเร็วนั่นก็ถือว่าใช้ได้ทั้งหมด
สําหรับในเรื่องของอานาปานสติตามแนวทางตามแบบที่ผมสอนเนี่ย ภายหลังพระท่านเพิ่งมาให้ตั้งชื่อเมื่อเดือนเศษ ให้เธอใช้ชื่อว่า “เมตตาปราณสติ” จริง ๆ ท่านตั้งให้เมตตาแล้วก็ปราณที่แปลว่าลมปราณ เพราะที่จริงเทคนิคที่ผมสอนอานาปานสติเป็นการฝึกปราณฝึกกสินไปพร้อมกัน เมื่อก่อนพระท่านก็บอกว่าต่อไปในเรื่องปราณจะสามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้ในอนาคตในเรื่องสุขภาพ เราก็รอจังหวะเวลาในที่สุดก็ถึงเวลาตอนนี้ เมตตาปราณสติ หรือว่าการฝึกลมหายใจเป็นแพรวไหมตลอดสายตลอดทั้งกองลมที่ฝึก ท้ายที่สุดมันสามารถกลั่นมวลอากาศที่เราหายใจให้เป็นแก้วประกายพรึกให้มีความเป็นทิพย์ กลั่นให้สลายเชื้อโรคเชื้อไวรัสได้ด้วยเช่นกัน ในที่สุดได้ถูกนํามาใช้ในเวลาที่เหมาะเจาะเหมาะสมหลังจากที่ท่านให้ชื่อมาเมื่อสักเดือนเศษ ดังนั้นเทคนิคในการที่เราจะฝึกตรงจุดนี้มันเป็นการผสมผสานและมีเหตุมีผลในการฝึกของมันแต่แรก
ในขั้นแรกที่เวลาผมสอนถ้าเราจําได้ ถ้าใครเรียนตั้งแต่รุ่นแรก ๆ เมื่อประมาณสัก 10 ปีก่อน สมัยผมสอนมันจะมีกระบวนการหนึ่ง ที่เรียกว่าก่อนที่จะเข้ามาจับลมสบายลมละเอียดเห็นลมหายใจเป็นแพรวไหม มันจะมีอีกกระบวนการหนึ่งเขาเรียกว่า “การล้างลมและกักลม” ในยุคสมัยก่อนเมื่อ 10 ปีก่อน ฌาน กําลังจิต กําลังสมาธิ กําลังบารมี ผมมันยังไม่เท่ากับตอนนี้ สมัยนั้นน่ะกว่าจะค่อย ๆ ดึงให้คนได้ฌานสี่ใช้เวลามากพอสมควรไม่ได้เร็ว ไม่ได้ง่าย เหมือนล่าสุดเมื่อสักประมาณปีถึงสองปีที่ผ่านมา สมัยนั้นต้องใช้เทคนิคที่เรียกว่าล้างลมกักลมซึ่งมันก็เป็นวิชาโบราณเป็นวิชาสมาธิโบราณวิชาหนึ่งเรียกว่า “ลมกักลม อัสสาสะปัสสาสะ” ซึ่งการกักลมเนี่ยต่อไปสําหรับพวกเราแต่ละคนที่จะฝึกมาเป็นครูเมตตาสมาธิที่จะสอนหรือนําคนอื่นให้ได้ฌาน คือพาให้คนอื่นได้ฌาน เราอาจจะจําเป็นที่จะต้องใช้เทคนิคนี้มาช่วยด้วย เราอาจจะให้เขาจับลมแล้วได้ฌานสี่ เลยอาจจะยังไม่ได้ อาจจะต้องให้เขากักลมด้วย
การกักลมเนี่ยทางครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่นคือพระอาจารย์ถาวรวัดปทุมวนาราม ท่านก็เคยใช้เทคนิคนี้เป็นเทคนิคเดียวกัน ท่านใช้คําว่าการล้างลมหยาบเพื่อให้เข้าถึงลมละเอียด การล้างลมหยาบเพื่อให้เข้าถึงลมละเอียด เทคนิคก็คือให้หายใจเข้าลึก ๆ จนสุด เห็นลมหายใจตลอดสายเหมือนปราณเช่นกัน แล้วก็กัก หายใจเข้าแล้วก็กัก กักคือกัก กั้นคือกั้น อย่างตอนนี้ผมกักลมโดยที่ยังพูดยังหายใจ กักลมไว้ภายในท้องจนเต็มท้อง แล้วก็บริกรรมภาวนาจิตจดจ่อ จิตต้องไปหยุดอยู่ที่บริเวณฐานที่บริเวณสะดือฐานที่ตั้งของจิตด้วยพร้อมกัน ในขณะที่กักหยุดจิตตรงจุดนั้นด้วย แล้วก็บริกรรม พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ ประมาณครั้งแรกอาจจะ 3 รอบ พุทโธ ธัมโม สังโฆ 3 รอบ ค่อย ๆ ครั้งที่ 2 ไล่เป็น 4 รอบ 5 รอบ ไล่ขึ้นไปเรื่อย ๆ พอกักลมแล้ว พอทํากักลมไปสัก 16 ครั้ง แล้วหลังจากนั้นจึงให้ผู้ที่เขาเรียนหายใจตามปกติไม่ต้องบังคับลมหายใจ ไม่ต้องฝืนลม ไม่ต้องกัก ไม่ต้องบังคับลม หายใจตามธรรมชาติแล้วตามดูลม พอตามดูลมปั๊บหลังจากที่เรากักลมไปแล้วไอ้ตัวลมหยาบมันจะเริ่มสลายตัว เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ทางร่างกายทางวิทยาศาสตร์มันก็คือการที่เรากักลมหายใจไว้ปริมาณออกซิเจนมันจะถูกดูดซึมไปยังเซลล์ทุกเซลล์ จนกระทั่งเซลล์ทุกเซลล์มันเต่ง มันมีออกซิเจนมาเลี้ยงเซลล์เต็มที่ทั่วร่างกายครบหมด พลังปราณมันถูกอัดแน่นทั่วร่างกาย ดังนั้น ถึงเวลามันมีอาหาร มันอิ่มแล้ว เซลล์มันเต่งเต็มที่แล้ว คราวนี้พอหายใจปกติร่างกายก็ได้รับออกซิเจนมากเกินพอ มันก็ปรับเปลี่ยนมาไม่ค่อยต้องการออกซิเจน เข้าสู่โหมดของการจําศีล มันก็จะช่วยดึงให้จิตของผู้ที่ปฏิบัติเข้าสู่สมาธิเข้าสู่ลมหายใจที่ละเอียดเบาได้เร็วขึ้น อันนี้คือเทคนิค อันนี้คือตัวเทคนิคด้วย ซึ่งเดี๋ยวเราอาจจะต้องเอาไปใช้เอาไปนําแล้วฝึก แล้วตัวเองก็ต้องฝึกด้วย แล้วดูผลดูอาการที่ปรากฏขึ้นทางกายของเรา ตรงนี้คือจุดสําคัญ เราต้องรู้ว่าทําแบบนี้แล้วเกิดผลอย่างไร ทําแบบนั้นแล้วเกิดผลอย่างไร เราจะได้นําไปสอนเขาได้ เพราะจุดสําคัญของการที่เราจะสอนคนอื่นได้เนี่ย ถ้าเราผ่านมาหมดแล้วได้ยิ่งดี เจอแล้วด้วยตัวเองยิ่งดี เคยเจอปัญหาต่างๆ เหล่านี้แล้วยิ่งดี อย่างปีติ5 เนี่ยคิดว่าหลายคนคงจะเจอมาแล้ว เจอทุกอาการ บางคนอาจจะเจอบางอาการ บางคนอาจจะเจอ 1 อาการ 2 อาการ บางคนก็เจอหมดทุกอาการ ช่วงที่ผมบวชที่วัดบวรฯ เรียกว่าดึงให้ปีติเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้มันมาของมันเอง ดึงให้มา ดึงให้เกิด ดึงให้มา ดึงให้เกิดตลอด เรียกว่าเล่นกับปีติจนสนุก แต่ตอนหลังพอรู้ว่ามันตรงนี้ตรงนี้ ตอนแรกมันสนุกไงของใหม่ได้ของเล่น แต่พอตอนหลังเราปฏิบัติไปเรื่อย ๆ ก็ออ เราข้ามไปที่เอกัคคตารมณ์ที่หยุดจิตเลยดีกว่าเพราะว่าตรงนั้นมันเพาะบ่มจิตตานุภาพ กําลังของจิตมันสูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย อันนี้ก็เล่าให้ฟังในส่วนของฌานสี่หยาบหรือฌานสี่ใช้งาน อันนี้คือข้อหนึ่งนะ
จุดสําคัญของเวลาที่เราสอนคนให้เข้าสู่อานาปานสติ เทคนิคจริง ๆ อีกตัวที่สําคัญมากสําหรับคนที่เป็นครู สมาธิคือตัวเราไม่ใช่ว่าจําประโยคหรือขั้นตอนว่าตอนนี้ต้องแบบนี้ ตอนนี้ต้องแบบนี้เป็นท่องจํานะที่จริงเราต้องทํากําลังสมาธิทํากําลังจิตของเราให้เป็นอย่างนั้นด้วย อย่างเช่นในขณะที่เราบอกให้เขาจับลมสบายจิตเราต้องเป็นลมสบายแล้ว และในขณะเดียวกันจิตเราต้องส่งคลื่นกระแสคลื่นจิตส่งแผ่คลุมคนที่เราสอนทั้งหมด แผ่คลุมคนที่เราสอนทั้งหมดว่าคลื่นกําลังสมาธิของเราเนี่ยเราจูนให้ทุกคนอยู่ในคลื่นความถี่ของความสงบ สงบ ลมสบายเท่ากัน ที่จริงแล้วคือกําลังของครูเนี่ยที่ทําให้ลูกศิษย์ได้ฌาน พูดตามความเป็นจริงนะเพียงแต่ว่าผมก็ไม่ได้บอกอะไรมาก จริง ๆ คือกําลังของเรา เนี่ยแหล่ะต้องปรับคลื่นจนกระทั่งเขาได้ หรือแม้แต่ในขณะที่ผมบอกว่าทุกคนมาตรงนี้นะ หยุดจิต ในขณะที่หยุดจิต อย่างตอนนี้ที่ผมบอกว่าหยุดจิต ผมก็ส่งคลื่นไปยังทุกคนที่เข้าอยู่ในห้องนี้ตอนนี้ให้นิ่งหยุด สงบ นิ่ง หยุด อันนี้มันก็คือคลื่นพลังจิตของครู ผมถึงบอกว่าแรงครูก็มีความสําคัญอย่างยิ่ง ถ้าเราไม่เคารพครูบาอาจารย์ กําลังของครูบาอาจารย์ที่จะส่งที่จะช่วยมันก็ได้น้อย แต่ถ้าเรามีความนอบน้อมมีความเคารพมีความกตัญญูในครูบาอาจารย์ กําลังของครูที่จะส่งไปถึงก็มากขึ้นเพียงนั้นเช่นกัน อันนี้คือกําลังจิตที่เราจะต้องส่งออกไปด้วย อันนี้เราพอจับได้นะจําอารมณ์ได้สว่างผ่องใส
คราวนี้อีกตัวนึง เวลาที่หลังจากลูกศิษย์หรือว่าคนที่ฝึกสมาธิเขาเข้าถึงความสงบของจิต จิตเขาเป็นเอกัคคตารมณ์ได้แล้ว สิ่งสําคัญที่หลายสายหลายสํานักท่านไม่ได้เอ่ยถึงหรือพูดถึงมากนักก็คือให้อธิษฐานวสี เรื่องของการอธิษฐานวสีเนี่ยเป็นคัมภีร์โบราณของทางสายมัชฌิมาของวัดพลับ ที่ท่านให้อธิษฐานวสี คือได้กรรมฐานแต่ละกองแต่ละจุดต้องอธิษฐานวสีคืออารมณ์
ปักอารมณ์ จําอารมณ์ ปักอารมณ์ พออารมณ์ปักอารมณ์ได้แล้วเนี่ย จุดสําคัญคือ ตัวผู้ฝึกผู้ปฏิบัติต้องกลับไปซ้อมด้วยตัวเองด้วย มันเหมือนอย่าลืมว่าในขณะที่เรียนกับอาจารย์มีกําลังของอาจารย์ มีคลื่นกําลังจิตของอาจารย์ แต่อาจารย์ในช่วงที่ให้อธิฐานวสี การอธิษฐานวสีคือเราที่เป็นอาจารย์ประสิทธิ์ประสาทคลื่น บันทึกย้ําปักหมุดลงไปในจิตของลูกศิษย์ทุกคนแล้ว นั่นก็คือประสิทธิ์ประสาทไว้แล้ว แต่คราวนี้ลูกศิษย์แต่ละคนมีความเพียรมีความขยันเอาไปฝึก เอาไปทบทวน เอาไปซ้อม มากแค่ไหนบ่อยแค่ไหน ซึ่งการเอาไปฝึก ผมบอกเสมอว่าอย่างฌานสี่ใช้งานเนี่ยให้ไปซ้อมเลย นึก ยืนเดินนั่งนอน ทําปั๊บหยุดจิตได้ไหม รวมจิตได้ไหม หยุดจิตได้ไหม ลมดับไหม จิตหยุดการปรุงแต่งไหม สิ่งต่างๆ เหล่านี้เราต้องซ้อม ซ้อม 1.ซ้อมในทุกอิริยาบถ 2.ซ้อมในทุกสถานที่ทุกสถานการณ์ 3.ซ้อมในจุดที่อารมณ์ใจของเราอยู่ท่ามกลางคนมากที่สุด สภาวะร่างกายของเราร้อนที่สุด เหนื่อยที่สุด หิวที่สุด ปวดท้องที่สุด อะไรก็ตามที่มันเป็นเงื่อนไขที่จะทําให้เราคิดว่าเราทําไม่ได้ เราต้องทําให้ได้ จุดที่เราเหนื่อยที่สุด จุดที่เราอยู่ท่ามกลางคนวุ่นวายมากที่สุดแต่เรายังสงบจิตหยุดได้นั่นแปลว่าเราทะลุ จุดที่คําว่าทะลุนี่หมายความว่าเพื่อให้จิตของเรานี่เกิดความเชื่อว่าเราสามารถปฏิบัติได้ทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอิริยาบถ นั่นคือกรรมฐานฌานสี่ของเรากลายเป็นสมาบัติ คําที่ผมสอนเสมอว่าสมาบัติแปลว่าสมบัติทางจิตของเราไม่ใช่แค่ชั่วคราวที่อาจารย์ส่งคลื่นให้เราชิม แต่นั้นคือเราเอากลับไปทําเองแล้วทําได้ในทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอิริยาบถ นั่นแปลว่าเราเป็นผู้ที่ทรงฌานได้อย่างแท้จริง อันนี้คือฝึกในฐานของกําลังเราเองซึ่งเราจําเป็นต้องทํา ไม่ใช่ว่าจะหวังพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หวังพึ่งครูบาอาจารย์ อันนี้คือสิ่งสําคัญ ถ้าทะลุได้ปั๊บ ฌานจะอยู่ติดตัวเราตลอดไม่มีหายไม่มีเสื่อม เรียกว่าใกล้เคียงกับฌานของพระอริยเจ้า และคนทั่วไปถ้าเป็นคนทั่วไปที่เขาฝึกไปวัดได้ กลับมาบ้านเจอคนวุ่นวายทําไม่ได้แล้ว อยู่ในที่คนวุ่นวายทําไม่ได้แล้ว เรื่องนี้ผมเคยเล่าให้ฟังสมัยที่พาเพื่อนที่เป็นฤๅษีเข้ามาในกรุงเทพ ท่านทําสมาธิอยู่ในป่าได้ แต่พอเข้าเมืองท่านบอกโอโหคลื่นมันตีวุ่นวายขอกลับไปอยู่ป่าเหมือนเดิมดีกว่า หลอกพามาเที่ยวกรุงเทพ อันนี้ทําให้ผมฉุกคิดว่าถ้าเราอยู่ในที่วุ่นวายอยู่แล้วถ้าเรายังฝึกได้มันแปลว่ากําลังฌานของเรามั่นคง แล้วเจอกับสนามรบจริงของจิต เราเจอกับการกระทบอารมณ์จิต เราทําได้ อันนี้เป็นการปูพื้นให้เข้าใจก่อนว่าทําไมต้องทําให้ได้ฌานสี่
และฌานสี่ต้องทําให้ได้ ระดับไหน อันนี้ขั้นตอนของมัน
ส่วนตัวที่เป็นช่วงแรกของก่อนที่จะได้ฌานสี่ มันเป็นการหลอกให้ลูกศิษย์ได้กรรมฐาน 2 ตัว คือการปฏิบัติอีก 2 ส่วนที่ได้
สิ่งแรกคือให้เราเปรียบเทียบระหว่างการจับลมหายใจฐานเดียว
ลมกระทบจมูก ลมกระทบเข้าลมกระทบ ออก การจับลมสามฐานลมกระทบจมูก ลมกระทบอก กระทบท้อง แล้วก็ให้เปรียบเทียบระหว่างการกําหนดลมหายใจ รู้สึกว่าลมหายใจเหมือนแพรวไหมผ่านเข้าออกในกายของเราตลอดสายราบรื่น ถ้าใครจับความรู้สึกความแตกต่างของ การจับลมทั้ง 3 แบบได้ เราจะเริ่มพบแล้วว่า การจับลมหนึ่งฐานก็ดี สามฐานก็ดี มันยังมีสภาวะที่สะดุดสะดุด มันไม่ราบรื่น ไม่ปลอดโปร่ง ความราบรื่นปลอดโปร่ง นั่นคือทําให้เราเข้าสู่ลมสบายหรือลมละเอียดได้เร็วขึ้น มันคือเทคนิคด้วยในตัว การจับลมตลอดสาย ทําให้การเข้าสู่ลมละเอียดมันง่ายขึ้นเร็วขึ้นอันนี้ก็คือเทคนิคด้วยเช่นกัน อันนี้ตัวที่หนึ่ง การจับลมแบบนี้นั่นคือการฝึกลมปราณไปในตัว ซึ่งการที่จะฝึกลมปราณเวลาที่เราจับลมโดยฝึกลมปราณไปพร้อมกัน มันไปเพาะบ่มพลังภายในพลังร่างกายทําให้ร่างกายของเราสุขภาพเราแข็งแรงกว่าคนทั่วไปด้วยพร้อมกัน ถ้าเราทําสมาธิทั้งที่เราจะทําเพื่อจิตอย่างเดียว แต่ถ้าทําให้ร่างกายและจิตมันแข็งแรงแข็งแกร่งทั้งคู่ได้จะดีกว่าไหม อันนี้คือสิ่งที่ผมเตรียมเผื่อไว้แล้วมันจะมาถูกต่อยอดเวลาที่ฝึกปราณฝึกซี่ฝึกพลังต่อไป อันนี้คือตัวเลือกที่ผมแถมให้จากเรื่องของเมตตาปราณสติ คราวนี้อีกตัวหนึ่ง เวลาที่เราบอกให้ลูกศิษย์กําหนดลมหายใจเป็นแก้วละเอียดระยิบระยับเหมือนกับแพรวไหมระยิบระยับเนี่ย ตัวที่เห็นลมระยิบระยับผ่านเข้าออกในกายของเราตัวนี้จริง ๆ มันก็คือกสิณลมและในขณะเดียวกัน มันก็เป็นการฟอกธาตุขันธ์ไปในตัว การดึงพลังให้ลมนั้นเป็นประกายพรึกระยิบระยับด้วย เป็นปราณด้วย หายใจเข้ามาแล้วก็มาฟอกธาตุขันธ์ในตัว เพียงแต่ว่าถ้าคนไหนคล่องตัวแล้วเรากําหนดหรือสอนให้เขาพิจารณามาให้ฟอกกาย ฟอกธาตุขันธ์ ฟอกธาตุ4 ได้ แต่ว่าในช่วงแรกถ้าเราจะสอนให้เขาได้ฌานสี่ก่อน ถ้าเราไปบอกอะไรมากในตอนที่เขายังไม่ได้มันจะทําให้เขาพะวง พะวงไปเรื่องนั้น พะวงไปเรื่องนี้มากเกินไป ดังนั้นให้เขาจดจ่ออยู่กับลมที่ผ่านเข้าออกเพียงแค่นั้นอย่างเดียวก่อน
พอผ่านไปจนกระทั่งได้ฌานสี่แล้ว ถ้าจะเอาเต็มรอบหรือเต็มชุดของการสอนที่เราควรจะเป็นพื้นฐานตัวหนึ่ง ตัวต่อมาคือเรื่องของเมตตา เรื่องของเมตตาอัปปมัญฌาน การแผ่เมตตา โดยทั่วไปสําหรับคนทั่วไปปกติหรือสํานักมาตรฐานทั่วไปที่เขาแผ่ เขาก็จะเป็นการท่องบทแผ่เมตตา สัพเพสัตตาทั่ว ๆ ไป หรือสวดมนต์เฉย ๆ สําหรับทั่วไป แบบคนที่ยังกําหนดจิตหรือกําหนดกระแสไม่ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วในเรื่องของเมตตา การแผ่เมตตาจริง ๆ มันเป็นการกําหนดจากจิตของเราแผ่เป็นแสงสว่างแผ่อารมณ์จิต แผ่กระแสของบุญออกไปจากจิตของเรา การแผ่เมตตาออกไปเนี่ย ถ้าภาพความรู้สึกอารมณ์แสงสว่าง ภาพนิมิตแสงสว่างที่แผ่ออกไป สว่างได้มากท่าไร แสงสว่างที่แผ่ออกไป อันนี้ว่ากันขั้นที่หนึ่งก่อน เป็นการแผ่จากกําลังจิตของเราเอง ถ้ากําลังจิตของเราแผ่แสงสว่างออกไปมีรัศมีออกไปได้ไกลมากเท่าไร แสงสว่างนั้นมันจะไปเชื่อมโยงกันมีผลกับรัศมีกายของกายทิพย์เราตามไปด้วย ถ้าใครเคยได้ยินเรื่องอาภัสราพรหม อาภัสราพรหมคือพรหมในชั้นที่มีแสงสว่างของกายสูงมาก พรหมที่มีแสงสว่างของกายหรือในโลกของโลกทิพย์ ไม่ว่าจะเป็นเทวดาแต่ละชั้น ไม่ว่าจะเป็นพรหมทั้ง 16 ชั้นก็ดี ยิ่งเทวดาหรือพรหมท่านนั้นมีบุญมากเท่าไร รัศมีกายก็จะยิ่งสว่างมากเพียงนั้นเช่นกัน ดังนั้นเวลาที่เราฝึกในการแผ่ออกไปไม่มีประมาณออกไปในทุกภพทุกภูมิเนี่ย ยิ่งแผ่ออกไปกว้างมากเท่าไร เรากําลังเพาะบ่มให้กายทิพย์ของเราพลังกายทิพย์หรือกายทิพย์ของเรามีรัศมีกายสว่างไกลออกไปมากเพียงนั้น กําลังบุญของเราก็มากเพียงนั้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นถ้าประการที่หนึ่งเวลาที่เราฝึกเมตตาเราแผ่เมตตาให้กับตัวเอง เคล็ดลับของการแผ่เมตตาคือ ถ้าครั้งแรกที่เราเริ่มอารมณ์จิตมันยังไม่อิ่ม ไม่สว่าง ไม่เต็ม คือตัวเรายังไม่รู้สึกว่าอารมณ์มันล้นออกมา อารมณ์แห่งความสุข ปีติ อารมณ์ของบุญที่สะสมรวมตัวกันมันไม่ล้นออกมาจากใจ เวลาแผ่มันจะแผ่ไปได้ไม่ไกลมาก แผ่ไปได้น้อย แห้ง ๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่กายจิตสว่าง จนกระทั่งใบหน้ายิ้มจนรู้สึกว่าโอโห เนื้อตัวของเราสว่างเอิบอิ่มผ่องใส สว่างเจิดจ้าเปล่งประกายพร้อมที่จะระเบิดกระแสของบุญ กระแสของความปีติสุขมันพร้อมที่จะระเบิด พอเวลาระเบิดแผ่ออกไปมันรู้สึกว่าทั่วจักรวาลมันเจิดจ้า เจิดจรัส สว่างออกไปได้หมด ถึงตอนนี้ก็ให้ทุกคนลองทําตาม ถ้าเราแผ่ออกไปได้สว่างมากเอิบอิ่มมาก อารมณ์จิตยิ่งเต็มมาก พลังมันจะยิ่งเยอะกระแสจิตก็จะยิ่งมีกําลังมากขึ้น ดังนั้นเวลาที่ฝึกเมตตาอัปปมัญฌาน มันจะเป็นการที่เราได้เรียนรู้ในเรื่องของกายทิพย์ ถูกเพิ่มกําลังของกายทิพย์ กายทิพย์ของเรากลายเป็นกายที่มีรัศมีกายสูงขึ้นมากขึ้นกว่าการที่เราไม่เคยฝึกปฏิบัติมาก่อนด้วยเช่นกัน
คราวนี้นัยยะในที่เราแผ่เมตตาอัปปมัญฌาน มันมี 2 เรื่องที่สําคัญที่ซ่อนนัยยะ เวลาที่เราแผ่เมตตาอัปปมัญฌาน มันจะมีตัวหนึ่งที่สําคัญ แผ่ไปยังภพต่างๆ ภพเบื้องล่างทุคติภูมิมีภพอะไรบ้าง แผ่ขึ้นไปยังภพเบื้องบนสุคติภูมิมีภพอะไรบ้าง แผ่ออกไปทั่วจักรวาล แต่คราวนี้การที่เราแผ่ออกไปยังทั้ง 3 ภพ 3 ภูมิ จะเป็นทุคติ จะเป็นสุคติภูมิ ในขณะเดียวกันนั้นมันทําให้ผู้ฝึกผู้เรียนได้สัมมทิฏฐิในเรื่องภพภูมิ ไตรภูมิ การเวียนว่ายตายเกิดไปพร้อมกันและอารมณ์จิตที่ได้อีกตัวหนึ่งก็คือ เริ่มพิจารณาเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏเหมือนกัน ตรงข้อนี้เป็นข้อสําคัญและสิ่งสําคัญคือเมื่อเข้าใจเรื่องไตรภูมิ เข้าใจเรื่องภพภูมิ เข้าใจเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด มันเป็นตัวสัมมาทิฏฐิตัวแรกในมรรคมีองค์ 8 ถ้าเราไม่เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ไม่เชื่อเรื่องภพภูมิเราจะไม่เห็นประโยชน์ของพระนิพพาน ดังนั้นคนที่มาเรียนเรื่องเมตตาอัปปมัญฌานก็จะมีสัมมาทิฏฐิหรือมีความเชื่อในเรื่องของการเวียนว่ายตายเกิด และไตรภูมิไปโดยทันทีโดยอัตโนมัติ และในชั้นนี้จะมีคนบางคนซึ่งอาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว เห็นภาพภพภูมิคือกลายเป็นว่าได้มโนมยิทธิในขณะที่แผ่เมตตาอัปปมัญฌานไปพร้อมกัน ก็มีน่าจะมีหลายคนด้วยซ้ํา ดังนั้นบางครั้งเนี่ยเราให้เขาได้โดยที่เขาไม่รู้ แต่ถ้าได้โดยไม่รู้แล้วก็ไม่รู้อยู่นั่นแหล่ะมันก็น่าเสียดาย แต่ถ้ามีครูที่สอนเมตตาสมาธิแล้วเข้าใจอย่างลึกซึ้งถ่องแท้เข้าใจแต่ละส่วนแต่ละชิ้นที่ถูกประกอบขึ้นมาเป็นวิชาผูกขึ้นมาเป็นวิชาแล้วเอาไปใช้อย่างถูกต้องก็จะเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน
ส่วนที่ 3 หลังจากที่ได้เมตตา อารมณ์จิตของเมตตาอันไม่มีประมาณ เมตตาอัปปมัญฌานแล้วอธิษฐานวสีแล้ว ช่วงที่ 3 จะเป็นช่วงที่เราใช้กําลังของเมตตาฌานในการขอขมากรรม อโหสิกรรม การขอขมากรรมอโหสิกรรม บางครั้งคนเราถ้าจิตยังไม่มีเมตตา ถ้าจิตยังเฉย ๆ จิตยังมีกิเลสอยู่ เมตตายังไม่เต็ม เราจะให้อภัยคนยาก ให้เราลองคิดพิจารณา ตามดูนะ แต่ถ้าเมื่อไหร่เมตตาเต็ม บารมีเต็ม การให้อภัยการอโหสิกรรมจะเป็นเรื่องง่าย อันนี้คือชั้นที่หนึ่ง ส่วนชั้นที่ 2 คือ กําลังของเมตตาฌานที่เราแผ่ออกไปทั่วทุกภพทุกภูมิมันเหมือนคลื่นวิทยุหรือสัญญาณหรือคลื่นเสียง หรือข้อความที่เราส่งออกไปยังทั่วจักรวาลทุกภพภูมิ ดังนั้นเวลาที่เราขอขมากรรม ขออโหสิกรรม ขอรวมบุญ ขอรวมบารมีอะไรทั้งหลาย เราอาศัยกําลังที่มีมันกําลังใหญ่อยู่แล้วส่งออกมามันจะไปถึง ไม่งั้นถ้าเราขอขมากรรมนอกฌานนอกสมาธินอก เมตตาฌานมันเหมือนเสียงเราพูดกระซิบกระซิบค่อย ๆ แถวรอบตัวได้ยิน แต่เจ้ากรรมนายเวรที่เขาอยู่ภพอื่นหรือมิติ อื่นไกล ๆ เขาได้ยินไหม กําลังมันถึงไหม….มันไม่ถึง แต่ถ้าเมตตาอัปปมัญฌานเราไม่มีประมาณ เราไปในทุกภพภูมิได้ ทะลุทะลวงไปทุกมิติทุกภพภูมิได้ กําลังส่งเราสูง คําประกาศ คําอธิษฐาน คําขอขมากรรมมันถึงข้ามกาลเวลา ข้ามภพภูมิข้ามกาลเวลา จะมีบางคนเขาขอขมากรรมเจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติก็มาปรากฏ สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นความลึกซึ้งของการเรียนเมตตาปราณสติ ซึ่งในส่วนที่ 3 จะเป็นการถอนสิ่งที่ไม่ดีออกไป ขอขมากรรม ขออโหสิกรรม ให้อภัยทาน ถอนอวิชชาคุณไสยสิ่งไม่ดีของตัวเราให้เราสะอาดบริสุทธิ์ ถอนสิ่งไม่ดี 3 ประการ 1.ให้อภัยทานไม่เป็นเจ้ากรรมนายเวรของผู้หนึ่งผู้ใด ให้อภัยทั้งหมด 2.ขอขมากรรม ขอขมากรรมต่อพระรัตนตรัย พ่อแม่ครูบาอาจารย์สิ่งศักดิ์สิทธิ์เทพพรหมเทวา เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่เราล่วงเกิน 3.ถอนล้างดับล้างอวิชชาคุณไสยทั้งที่เราโดนคนเขากระทํามา และสิ่งที่เราเคยกระทําใส่ใครไว้ ถอนออกมาให้หมดล้างออกมาให้หมดในสิ่งที่เคยทําในอดีต รวมไปถึงคําสาบคําสาบาน คําแช่งคําด่า สิ่งที่เหนี่ยวรั้งความเจริญรุ่งเรืองในการปฏิบัติธรรมของเราถอนออกมาให้หมด คําอธิษฐานขอติดตามคนนั้นคนนี้ แล้วบังเอิญคนนั้นคนนี้ก็เป็นคนที่ใช่บ้างไม่ใช่บ้าง เป็นคนที่ดีบ้างไม่ดีบ้าง เป็นคนที่เป็นมิจฉาไปแล้วบ้าง เรายังอธิษฐานตามเขาอยู่ก็เรียบร้อย เขาก็ดึงเราลง เราก็ถอนอะไรที่ไม่ใช่ก็ถอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพานยิ่งต้องถอนออกจะได้เร็ว อันนี้ก็เป็นทางลัดของจิต เรื่องหนึ่งทําให้วิบากอกุศลเบาบางลงง่ายลงสั้นลงเร็วขึ้น เป็นทางลัดทั้งนั้น พอถอนทั้งหมดเสร็จแล้ว 3 อย่าง คราวนี้ก็อธิษฐานรวมกําลังใจของเรารวมบุญบารมีของเราในอดีตชาติทั้งหมด ในรายละเอียดเดี๋ยวค่อยว่ากัน ตอนนี้กล่าวถึงแต่ละส่วนมีเหตุผล มีความสําคัญ มีจุดมุ่งหมายอย่างไรบ้าง ไม่ใช่ทําไปมั่ว ๆ ทุกอย่างถูกเรียงร้อย เรียงลําดับ ปรับอารมณ์ ปรับกําลังใจเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ
คราวนี้ส่วนที่ 2 ของการรวมก็คือการเจริญมุฑิตาอัปปมัญฌาน ก็คือโมทนาบุญ มหาโมทนาบุญ อภิมหามหาโมทนาบุญ การยินดีกับกุศลของผู้อื่นเรียกว่าการเจริญมุฑิตาซึ่งอยู่ในพรหมวิหาร4 พอเราแผ่เมตตาแล้วก็คือแผ่กําลังบุญของเราเอง มุฑิตาก็คือยินดีกับความดี โมทนากับกุศลของทุกท่าน พอเป็นอัปปมัญฌานก็คือทุกรูปทุกนามที่ขึ้นชื่อว่า สร้างความดี ความสุข สร้างกุศล ความดีทั้งหลายเราขอมีส่วนเราขอโมทนา เราขอยินดีกับท่านทั้งหลายด้วยทั่วอนันตจักรวาล ทุกภพ ทุกภูมิ มันก็เกิดเป็นบุญใหญ่ย้อนกลับมารวมเป็นกําลังเสริมย้อนกลับมาที่เรา
พอกําลังตรงนี้มันครบแล้ว คราวนี้สิ่งที่สามที่เรารวมคืออธิษฐานรวมกรรมฐานที่เราเคยทํามาตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบัน ข้อนี้เป็นที่มาจากสมัยที่ผมเกิดในยุคของพระธิเบตบ้าง พระจีนบ้าง มหายาน คือทางสายนั้นโดยเฉพาะ อย่างยิ่งธิเบตท่านปฏิบัติ 1-2-3-4 พอถึง ป.4 แต่ตายไป ท่านอธิษฐานเกิดมาใหม่รวมมาต่อ ป.5 เลย แต่ทางเถรวาทนี่เราจะไม่ค่อยเป็นแบบนั้นกัน มาเริ่มนับ 1 ใหม่เรื่อย มันก็เลยไปไม่ถึงไหน แต่ของผมเคยทําตรงนี้มาค่อนข้างเยอะจนเต็มแล้ว ดังนั้นเราก็อธิษฐานรวมให้ของเก่าที่เราลืมอธิษฐานหรือไม่ได้อธิษฐานกลับมารวมตัวกันอีกครั้งหนึ่ง มันก็จะลัดจะร่นเวลาให้การปฏิบัติธรรมเร็วขึ้นก็ให้เราน้อมนึกไป แล้วก็น้อมจิตเชื่อว่าคําอธิษฐานที่เรารวมบุญบารมีของเก่าที่เราทํามีผลทั้งหมด ทั้งหมดเป็นส่วนพื้นฐานสําคัญเวลาเราสอนเมตตาสมาธิ
ซึ่งหลังจากจุดนี้ผู้ที่เรียนเมตตาปราณสติ เมตตาสมาธิจากเราแต่ละคนไปแล้วสิ่งที่จะได้คือสมถะ ได้ฌานสี่สามารถนําไปปฏิบัติต่อตามแนวทางของเขาได้ จะอุกฤตแค่ไหน จะเคร่งแค่ไหน จะเป็นสายมหาสติปัฐฐาน4 ก็สามารถจะเอาตัวอุเบกขารมณ์ในส่วนที่วางเฉยต่อสิ่งที่มากระทบทางอายาตนะไปใช้ได้ เอาไปใช้เรื่องอภิญญาไปใช้กับสายมโนมยิธิของหลวงพ่อฯ ก็ได้ อย่างเมตตาฌานนําไปใช้ในการสวดบทพระจักรพรรดิแผ่เมตตาได้ทั้งนั้น วิชานี้ถูกผูกมาเพื่อส่งเสริมให้ทุกสายการปฏิบัตินําไปใช้ได้อยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าใครทราบประวัติของหลวงปู่เปลี่ยนที่เชียงใหม่ ท่านปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่แหวน ฝึกทางกสิณไฟมาก่อนค่อนข้างใจร้อน มีผลในเรื่องความก้าวหน้าในทางปฏิบัติธรรมะในเชิงมรรคผลนิพพานยังไม่ค่อยก้าวหน้า หลวงปู่แหวนท่านจึงให้มาเจริญเมตตาฌานปรากฏว่าจิตท่านละเอียดขึ้น ปราณีตขึ้น หลังจากนั้นท่านบรรลุธรรมตั้งแต่อายุยังไม่มาก ถ้าคนที่มาปฏิบัติธรรมวางอารมณ์จิตเข้าถึงอารมณ์เมตตาได้ตั้งแต่การปฏิบัติแรก เข้ามาปั๊บได้เมตตาเลย การปฏิบัติธรรมจะเร็วมาก อันนี้บอกจากประสบการณ์ตรงของผมพอผมบวชตื่นขึ้นมาสู่ธรรมะเนี่ย เมตตาอัปปมัญฌานมาก่อนเลย พอมาแล้วก้าวหน้ารุดหน้ากว่าคนทั่วไป เพียงแต่ว่าเมื่อยุคสิบปีก่อนเราไม่ได้ประกาศหรือไม่ได้เผยสิ่งที่มีซ่อนเร้นอยู่ในนัยยะของการสอนละเอียดเท่ายุคนี้
แต่อยากบอกว่า ถ้าจิตเราเข้าถึงเมตตาหรือผู้ที่ปฏิบัติธรรมเข้าถึงเมตตา
เมตตาเป็นตัวเลี้ยงศีลให้อ้วน เมตตาเป็นตัวทําให้ฌานสมาบัติหรือสมาธิเกิดได้ง่าย เมตตามีอานิสงส์สูงและเกิดผลเห็นผลเชิงประจักษ์ได้เร็ว
อย่างที่บอกว่าไปที่ไหนคนรัก ไปที่ไหนสัตว์รัก ไปที่ไหนไม่เป็นอันตราย ไปที่ไหนไม่ต้องกลัว เทวดารัก ผีสางอะไรก็ไม่หลอก ถ้าปฏิบัติอะไรแล้วจะค้ากําไรเกินควร ก็มีแต่เมตตานี่แหล่ะ ถ้าปฏิบัติปลายมือปฏิบัติจนได้โน่นนี่ ปฏิบัติไป 20 ปี แล้วถึงมาได้เมตตา…ช้าไป ถ้าเราได้เมตตาโดยอารมณ์จิตแท้ ๆ ออกมาจากจิตจนแผ่ออกไปแต่แรก มันลดเวลาการปฏิบัติธรรม และอีกอย่างหนึ่ง เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามีเมตตา จิตเราจะมีความละเอียดปราณีตกว่ากรรมฐานบางกอง
กรรมฐานบางกองจะมีความหยาบ กรรมฐานบางกองมีความละเอียด ให้เราคิดเอาง่าย ๆ ภพภูมิกับความละเอียดสัมพันธ์กัน ถ้าพูดถึงในสังสารวัฏนี้ภพไหนสูงที่สุดไม่นับนิพพานนะ สุดแล้วก็พรหม อรูปพรหมก็หายไปแล้ว รองมาก็คือพรหม ดังนั้นพรหมเป็นคลื่นความถี่สูงที่สุดละเอียดที่สุด ถ้าเราเข้าถึงอารมณ์ของพรหมแต่แรก สภาวะจิตเราสูงไหม ระหว่างคน 3 คน คนคนแรกเป็นจิตของสัตว์นรกคิดว่าหยาบหรือละเอียด พูดธรรมะรู้เรื่องไม่รู้เรื่อง อีกประเภทหนึ่งคนที่สองกายเป็นมนุษย์อารมณ์จิตเป็นคนธรรมดาที่ไม่มีศีล ยังพูดฟังรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง คนที่สามกายเป็นคนเป็นมนุษย์แต่จิตเป็นพรหม คิดว่ามีความหยาบความละเอียดแตกต่างกันไหม….ให้ลองคิดเอานะ
ดังนั้นถ้าเราวางรากฐาน อารมณ์จิตให้สูงไว้ ละเอียดไว้ จําไว้ว่าถ้ายิ่งปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพาน นิพพานเป็นเรื่องของละเอียด ความละเอียด อารมณ์ยกจากพรหมขึ้นไปอีกนิดนึงก็ถึงพระนิพพานแล้ว ดังนั้นถ้าพระนิพพานเป็นของละเอียดแต่เราปฏิบัติด้วยของหยาบคิดว่าเร็วหรือช้า ท้ายที่สุดเราต้องปรับอารมณ์เราให้ละเอียด
ดังนั้น การที่เราได้มาปฏิบัติจึงเห็นผลได้เร็วเพราะแบบนี้ ก้าวหน้ารุดหน้าได้เร็วเพราะแบบนี้ มันถูกพิจารณาไตร่ตรองใคร่ครวญอย่างละเอียดลึกซึ้งมาแล้วมันไม่ใช่ทําไปว่าไปตามแบบเขาว่ามาตามตํารา… ไม่ใช่ทุกอย่างถูกร้อยเรียงมาแล้วมีความลึกซึ้งซ่อนอยู่ในความเรียบง่าย แต่จริง ๆ แล้วเราต้องฝึกกันไปอีกในระดับหนึ่งกว่าจะค่อยนําพาให้คนเขาสามารถฝึกตรงจุดนี้ได้ แต่ทุกคนสามารถทําได้ แต่จําไว้ว่าเวลาที่เราจะสอนเมตตาสมาธิออกไปได้ ถ้าเราจะสอนเมตตาจิตเราต้องมีคลื่นกระแสของความเมตตาให้ได้ก่อน ถ้าตัวเราจิตกระแสก็ยังไม่มีเมตตาแผ่ส่งออกไปได้ เราพูดว่าเมตตา กับ เมตตา มันก็ไม่เหมือนกันแล้ว ดังนั้นจิตเราต้องเข้าถึงสภาวะนั้น ๆ ด้วย ต้องค่อย ๆ ปฏิบัติค่อยฝึกไปทีละขั้น แต่ว่าจุดนี้อยากให้เราแต่ละคนเข้าใจภาพรวมกับเข้าใจความลึกซึ้งก่อนแต่อย่าไปคิดว่ามันยากเกินไป เพราะแต่ละขั้นบางขั้น ผมก็ผ่านทุกขั้นมานะ อย่างเช่นสอนฌานสี่ไม่ใช้ว่าสอนแล้วได้เลยหรือว่าได้ทุกคน สมมติมาเรียน 10 คน อาจจะได้ 2-3 คน แล้วสอนจนกระทั่งได้ 5-6 คน แต่ตอนหลังมาผมมานั่งคิด บังเอิญมีประสบการณ์เป็นเรื่องอื่น
อันนี้มันเป็นเคล็ดวิชาอันหนึ่งนะว่า สิ่งสิ่งหนึ่งหรือความรู้อย่างนึง มันสามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่นได้ เหมือนการที่ผมสอนแล้วเกิดผลสัมฤทธิ์ 100% สอนทุกคนแล้วได้ฌานสี่ทุกคน มันเกิดขึ้นจากการที่ผมเคยไปสอนนักศึกษาพยาบาลบรมราชชนนีสอนเป็น 100 คน ให้เขาทําทรานซ์ (trance) หรือใช้พลังจิตใต้สํานึกดึงลงทรานซ์ ทําทรานซ์ลึก ๆ
อาจารย์ทาง NLP ก็จะบอกว่าทําได้ 2-3 คนไม่เกิน 20 คน แต่ผมทําได้ทั้งหมด 200 – 300 คน เราจึงได้ทั้งหมด เพราะพลังจิต พลังสมาธิ กําลังฌานเราแตกต่างจากคนทั่วไป อาจารย์ NLP ทั่วไปเขาไม่ได้ฌานสี่ไม่ได้อรูปสมาบัติอย่างเรา แต่เราได้เราก็ต้องทําได้มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเวลาเราดึงทรานซ์ให้คนลงไปก็ต้องได้ทุกคน เพราะจิตมันเกิดจิตตานุภาพและเกิดความเชื่อความศรัทธาในตน ผมถึงบอกว่าเราต้องเพิ่มความศรัทธาในตนเราเชื่อว่าเราทําได้เราก็จะสามารถทําได้ จนกระทั่งผมนํามาใช้ทําทรานซ์ 400 คนทําได้หมด ดึงลงมาได้หมด พลังจิตเรามหาศาลมากมาย ดึงลงไปได้อย่างง่ายดาย และอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องไปสอนนักศึกษาเพื่อสอบเข้าสภาพยาบาลต้องผ่านให้หมดซึ่งมันยากมาก ก็ปรากฏว่าเราก็ตั้งจิตอย่างนั้นและมันก็ทําได้ พอหลังจากนั้นเราคิดอย่างนั้นเราก็ตั้งโปรแกรมตั้งจิตอธิษฐานไว้ ถ้าอย่างนั้นเราสอนฌานสี่ขอบารมีพระ เวลาสอนฌานสี่ทุกคนต้องได้ฌานสี่มาร้อยต้องได้ร้อย มา 200 ต้องได้ 200 เราสอนแล้วต้องได้ พอพลังจิตเราสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จากที่เมื่อก่อนต้องล้างลมหยาบเข้าถึงลมละเอียด มันกลายเป็นว่าแค่พอเราบอกให้เขาจับลมปั๊บ เราอ่านได้ว่าผู้ที่มาเรียนจิตเขาสงบ คลื่นเราส่งไปแล้วจริง ๆ มันส่งล่วงหน้าไปก่อน พลังจิตเราก็ส่งคลื่นไปทําให้สมาธิเขาเกิดจริง ๆ มันเป็นกําลังฌาน กําลังจิตที่มันส่งออกไป
ดังนั้นมันเป็นเหตุผลว่าทําไมทําสมาธิกับครูบาอาจารย์ท่านนี้แล้วสงบจัง ทําสมาธิกับอาจารย์ท่านนี้แล้วดีจัง แต่ประเด็นคือผมไม่ต้องการให้ทุกคนมาติดอาจารย์หรือติดผม ผมต้องการให้เราทุกคนมาช่วยกันจุดแสงเทียน แล้วส่งต่อให้ผู้คนได้เข้าถึงสมาธิ เข้าถึงธรรม เพราะเหตุผลหนึ่งคือเมื่อไหร่ที่เขาปฏิบัติแล้วเห็นว่าสงบจริง จิตมันหยุดการปรุงแต่งได้จริง ปฏิบัติแล้วแผ่เมตตาแล้วเราเป็นที่รัก สัตว์มาหาเรา ค้าขายร่ํารวย มันเป็นแบบนั้นจริง ๆ พอคนเห็นผลของการปฏิบัติ ผลลัพธ์คืออะไร
ผลลัพธ์คือ เมื่อเห็นผลการปฏิบัติตัวเราแต่ละคนก็จะเป็นพยานของพระธรรมของพระรัตนตรัยว่าเธอจงมาดูเถิด
มาปฏิบัติแล้วเห็นผล รู้ได้ด้วยตนเองเป็นปัจจัตตัง และขอให้ท่านทั้งหลายจงมาดูเถิด
จงมาปฏิบัติเถิดจงมารับผลแห่งการปฏิบัตินี้
มารับความสุข มารับกระแสธรรมที่สร้างความสุขสร้างสันติภาพให้กับโลกนี้เถิด
ถ้าตรงนี้เราทําได้มันเป็นการต่อแสงเทียน ถ้าจะสอนแล้วเขาติดเราต้องมากับเราตลอดมันก็ไม่ใช่ คือจะทําอย่างนั้นก็ทําได้ถ้าปรารถนาลาภสักการะ ติดเราแล้วมาฝึกสมาธิกับเราคราวนี้เราจะเรียกอะไรยังไง แต่สําหรับผมไม่ใช่ ผมทําเพื่อถวายพระพุทธศาสนาอยากให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง
ดังนั้นพวกเรานั่นแหล่ะกลับจะต้องต่อเทียนรวมถึงคนที่ฝึกแล้ว เราต้องไปฝึกต่อจนกลายเป็นการทําสมาธิ ที่เมื่อเรามาฝึกที่บ้านของเราเองเราก็ฝึกเราทําได้ เมื่อฝึกที่วัดไปนั่งของเราเองคนเดียว หรือไปนั่งตามแนวทางของสํานักนั้น เราก็เอากําลังของสมาธิที่เราทําได้เมตตาที่เราทําได้เนี่ย ไปผสมผสานไปประยุกต์ใช้และส่งเสริมให้การปฏิบัติตามแนวเดิมที่เราชอบก้าวหน้าตามไปด้วย เอากําลังฌานที่สงบนิ่งมั่นคงไปใช้ในเวลาที่เราฝึกมโนมยิทธิ เราทรงอารมณ์ได้ดีขึ้นภาพชัดเจนแจ่มใสละเอียดขึ้นชัดเจนขึ้น ดังนั้นจึงกลายเป็นผลพลอยได้ที่เวลาผมนํามโนมยิทธิ บางคนไปเต็มกําลังได้ก็เพราะว่ากําลังฌานนี้มาช่วยผลักตรงจุดนี้ด้วย แต่ว่าจุดนี้อยากให้เราเข้าใจแก่น เข้าใจเหตุผล เข้าใจความลึกซึ้งของการปฏิบัติ เพราะถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราเข้าใจเหตุผลอย่างลึกซึ้ง เราจะไม่ปฏิบัติธรรมไปแล้วกลายเป็นวิปัสสนูปกิเลส หรือไม่ปฏิบัติธรรมไปแล้วกลายเป็นผิดเพี้ยนไป เพราะว่าท้ายที่สุดถ้าจิตเราละเอียดปราณีต และมีปัญญาความเข้าใจในธรรมอย่างลึกซึ้ง เราจะเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าท่านมีพระประสงค์อะไร ท่านปรารถนาที่จะให้ทุกคนเข้าถึงพระนิพพานโดยง่าย แต่เขามาสอนกันให้ยากเองที่จริงมันง่าย ถ้าเราทําได้แล้ว พอง่ายมีคนทําได้มากขึ้น ในท้ายที่สุดคําพยากรณ์ของครูบาอาจารย์ในสมัยโบราณก็จะกลายเป็นจริง ยุคสมัยเราก็จะเป็นยุคที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองคล้ายสมัยพุทธกาล มากด้วยพระสุปฏิปันโน มากด้วยพระอริยเจ้า มันก็มีเหตุผล
ดังนั้น ให้เราภาคภูมิใจว่าเราเป็นคนในตํานาน
คนที่ทําให้ตํานานกลายเป็นความจริง
คนในตํานานคือคนที่ทําให้ตํานานนั้นกลายเป็นความจริง
ตอนนี้โลกมนุษยชาติขอฝากไว้ที่เราทุกคนด้วย
เปิดห้องครูเมตตาสมาธิครั้งแรก เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2563 เวลา 20:10 น.