green and brown plant on water

อนุสติ 10

เวลาอ่าน : 4 นาที

เสียงธรรมจากห้อง  “เมตตาภิรมย์กรรมฐาน” 

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2567

เรื่อง อนุสติ 10

โดย อาจารย์ คณานันท์ ทวีโภค

กำหนดสติในความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ผ่อนคลายร่างกายกล้ามเนื้อทุกส่วนพร้อมกับความรู้สึกปล่อยวางขันธ์ 5 ร่างกายออกไปให้หมด ผ่อนคลายให้ถึงที่สุดปล่อยวางให้ถึงที่สุด

จากนั้นมากำหนดคิดพิจารณา เราเจริญพระกรรมฐาน เราปล่อยวางความกังวลความคิดความฟุ้งซ่านทั้งหลายออกไปจากใจ จิตจดจ่อสมาธิเต็มรอบอยู่กับการปฏิบัติธรรม ปล่อยวางความกังวล ปล่อยวางเรื่องราว ภาระทั้งหลายกิจการงานทั้งหลาย ความห่วงในบุคคลอื่น ภาระทั้งหลายเราปล่อยวางให้หมด  

จากนั้นจึงมากำหนดสติอยู่กับลมหายใจ จินตภาพเห็นภาพลมหายใจของเราเป็นกระแส เหมือนกับแพรวไหมพลิ้วผ่านเข้าออก กระแสลมปราณที่หายใจเข้าออกเป็นประกาย ระยิบระยับแพรวพราวเหมือนกับกากเพชรเป็นสาย จิตกำหนดติดตามดูติดตามรู้ในลมหายใจตลอดสาย ลมหายใจที่ละเอียดระยิบระยับ ยิ่งลมหายใจละเอียดจิตยิ่งเข้าถึงความสงบ 

จดจ่อติดตามรู้ในลมหายใจตลอดสาย ไม่ให้สติคลาดจากกระแสของลม ลมหายใจสบาย ลมหายใจที่เป็นดั่งประดุจแพรวไหมระยิบระยับ ลมหายใจที่เป็นปราณเป็นพลังชีวิต อยู่กับลมหายใจสงบ พร้อมกับกำหนดรู้ว่าลมหายใจที่ละเอียด เบา จิตเราเข้าถึงความสงบเย็นของสมาธิ ความฟุ้งซ่านทั้งหลายสลายไป มีแต่ความสงบจดจออยู่กับลมหายใจสบาย 

ทรงอารมณ์ทรงสภาวะที่จิตเราจดจ่ออยู่กับลมปราณอยู่กับลมหายใจ เราผนึกรวมการปฏิบัติ ลมหายใจ การมีสติรำลึกรู้ในลมหายใจเรียกว่า อานาปานสติ ลมหายใจที่เรากำหนดเป็นประการระยิบระยับ การเห็นเปลวหรือสภาวะของลมหายใจเป็นกระแสมวลอากาศที่เป็นแพรวไหมพลิ้วผ่านเข้าออก อันที่จริงก็คือการควบรวมการปฏิบัติในกสิณลมเข้ามา การกำหนดจิต กำหนดรู้ว่าลมหายใจหรือมวลอากาศมีความแพรวพราวระยิบระยับ กำหนดกลั่นลมหายใจจากลมธรรมดาให้เป็นปราณ การปฏิบัติในจุดเดียวมันก็ได้ทั้งอานาปานสติ ได้ทั้งกสิณลม ได้ทั้งการสะสมเพาะบ่มพลังปราณเข้าสู่ร่างกายขันธ์ 5 ไปพร้อมกัน

กำหนดจดจ่ออยู่กับการทรงสภาวะในอานาปานสตินี้ ลมหายใจที่สงบ ละเอียด เปี่ยมพลัง 

จิตสงบรวมลง สติกำหนดรู้ในจิต จิตสงบก็รู้ว่าสงบ 

จิตเสวยเวทนา คือความสุขของความสงบ ก็รู้ว่าเราเสวยความรู้สึกเวทนา คือความสุขของความสงบ 

เมื่อจิตของเราสงบรวมลงดีแล้ว สังเกตดูว่าความฟุ้งซ่านความวุ่นวายใจได้ถอยออกไปจากใจของเรา มีสติที่รู้เต็มรอบอยู่กับลมหายใจ

กำหนดรู้ในอารมณ์สบาย มีความปลอดโปร่งโล่ง สงบ เบา จุดนี้เป็นจุดที่จิตเราควรแก่การงาน คือการเจริญพระกรรมฐาน อันที่จริงแล้วเมื่อจิตเราสงบจากนิวรณ์ 5 จากความวุ่นวายจากความฟุ้งซ่าน มีความเบา มีความสบาย อันที่จริงถ้าในวิสัยของสุขวิปัสสโก ก็สามารถใช้ความสงบของจิตนี้ เจริญปัญญาในวิปัสสนาญาณต่อได้ทันที แต่คราวนี้เราปฏิบัติ เราปฏิบัติโดยมีความความเข้มข้นของการปฏิบัติที่อาจจะสูงกว่าวิสัยในการปฏิบัติตามปกติ เพราะเราหลายคนที่มาพบมาเจอมาฝึกมาปฏิบัติล้วนแล้วแต่บารมีเต็มจากการที่ได้พบเจอได้ติดตามได้สร้างบารมีมากับหลวงพ่อท่าน 

ดังนั้นในการปฏิบัติเราจะเอาเพียงแค่กรรมฐานกองเดียว หรือเอาแค่วิสัยของสุขวิปัสสโกก็ไม่ใช่ จริตของเราส่วนใหญ่ก็ปรารถนาในการปฏิบัติที่อยู่ในวิสัยที่สูงขึ้นตั้งแต่ ฉฬภิญโญไปจนถึงปฏิสัมภิทาญาณ หรือบางท่านก็เป็นพุทธภูมิด้วยซ้ำไป 

คราวนี้จากอานาปานสติ อารมณ์สบายอย่างน้อยก็แตะอยู่ในปฐมฌาน หรือฌาน 2 ฌาน 3 ขึ้นอยู่กับระดับลมหายใจ แต่คราวนี้ให้เป็นฌาน 4 ในอานาปานสติ อันที่จริงก็คือเมื่อเราสงบได้แล้ว เราก็กำหนดนึกในใจว่าเราหยุดจิต หยุดจิต เมื่อหยุดจิตได้เมื่อไหร่ เราย้อนมาสังเกต เราก็จะรู้สึกว่าลมมันดับ ลมมันเกิดสภาวะที่ภาษาปฏิบัติเรียกว่า ลมมันสงบ ระงับจิต หยุดนิ่ง จุดที่หยุดก็คือเอกัคตารมณ์ จิตรวมเป็นหนึ่ง และในขณะเดียวกันก็เกิดสภาวะที่ เรียกว่าอุเบกขารมณ์ จิตวางเฉยต่อสิ่งที่มากระทบทางอายตนะทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และสิ่งที่มากระทบจิต หยุดจากการปรุงแต่ง อันนี้เป็นจุดสำคัญในเรื่องอุเบกขารมณ์

อุเบกขารมณ์มันเป็นตัวที่ทำให้จิตของเราสลายล้างอคติทั้งหลาย ความคิดเข้าข้างตัวเองทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบัน ธรรมะถูกตีความตามใจฉัน ฉันชอบแบบนี้ ฉันพอใจแบบนี้ ฉันอยากให้ศีลมีเกณฑ์เท่านี้ก็จะว่าไปตามใจฉัน เพราะว่าจิตมันไม่เป็นอุเบกขารมณ์ เมื่อมันไม่เป็นอุเบกขารมณ์มันก็มีอคติ เมื่อมีอคติ แล้วเราก็ไม่ยอมรับตามความเป็นจริง มีความเอนเอียงไปในสิ่งที่เราทำสิ่งที่เราชอบ ยกตัวอย่างเช่นเรื่องของศีลเราต้องการแค่นี้แบบนี้ เช่นดื่มสุราเราบอกว่าถ้าดื่มแล้วไม่ได้เมาไม่ผิดศีล หรือเราบอกว่าเราไม่ได้ดื่มเหล้าเราดื่มเบียร์เราดื่มไวน์ ดื่มไวน์ไม่เป็นไร อันนี้ก็เรียบร้อย อันนี้เราเคยพูดกันไปแล้ว

แต่คราวนี้จะชี้ให้เห็นเรื่อง อคติ ว่าเราพอใจในสิ่งใดหรือตีความผิด เพราะจิตไม่ได้พิจารณาตามความเป็นจริง ดังนั้นอุเบกขารมณ์มันเลยมีความสำคัญอย่างยิ่ง มันเป็นตัวชี้วัดจิตของเรา หรือในวิปัสสนาญาณ พระท่านสอนว่าเรามีความตายเป็นของธรรมดา จะแก่ จะหนุ่ม จะผู้ชายผู้หญิง เราก็ตายได้ตลอดเวลา แต่คราวนี้พอมีอคติเผลอขึ้นมา เราก็บอกว่าเรายังพึ่งอายุเท่านี้เรายังไม่ตาย แต่ความจริงก็คือเราอาจจะตายจากอุบัติเหตุก็ได้ ตายจากเส้นเลือดตีบเส้นเลือดแตกหรือนอนหลับแล้วไหลตายไปก็ได้ ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามถ้าเรามีอคติเราก็จะเผลอมีอารมณ์คิดว่าเราคงยังไม่ตาย เรายังหนุ่มอยู่ เรายังสาวอยู่  เรายังแข็งแรงอยู่ เราสุขภาพดี เราตรวจแล้วไม่เจอโรคอะไร อันนี้ก็คือสภาวะที่จิตของเรามี bias มีอคติ คิดเข้าข้างตัวเองไม่ยอมรับตามความเป็นจริง

แต่ถ้าเมื่อไหร่จิตเรายอมรับตามความเป็นจริงเราก็จะคิดพิจารณาว่าความตายเป็นของธรรมดา ความตายเป็นของที่มันเกิดขึ้น ยังไงเกิดมามนุษย์ทุกคนเกิดมาทุกคนต้องตาย เราไม่รู้ว่าตายเมื่อไหร่ อาจจะตายในอีก 1 นาทีข้างหน้า หรือตายไปในคืนนี้ หรือตายในวันพรุ่งนี้ก็ได้ เมื่อไหร่ที่จิตเราคิดพิจารณาในเรื่อง มรณานุสติ ยอมรับตามความเป็นจริงเช่นนี้ เราก็จะไม่ประมาทในการปฏิบัติ คนที่ประมาทเราคิดว่าเรายังหนุ่มอยู่สาวอยู่ ยังมีเวลาอีก ไว้แก่ๆค่อยปฏิบัติ ถึงเวลาเกิดตายตั้งแต่ยังหนุ่มยังสาวก็เสร็จเรียบร้อยไม่ได้ไป ไม่ได้ประโยชน์ ไม่ได้มรรคผลที่พึงได้ 

ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่เราคิดพิจารณาว่าความตายเกิดขึ้นกับเราได้ตลอดเวลา เราก็จะไม่ประมาทในการทำความดี เราก็จะไม่ประมาทในความตั้งใจที่จะปฏิบัติธรรม อันนี้เรากล่าวถึงในเรื่องของอุเบกขาให้เข้าใจประโยชน์ว่าทำไมเวลาที่เราฝึกในสมถะเราจำเป็นต้องย้ำกับตัวเองในเรื่องของเอกัคตารมณ์และอุเบกขารมณ์ 

คราวนี้เราต่อไป หยุดจิต นิ่ง เดินฌาน คือเดินสมถะสมาธิให้สูงขึ้นไปอีก จากฌาน 4 ของอานาปานสติเราเดินขึ้นสู่ฌาน 4 ของกสิณ กำหนด ณ จุดที่หยุดปรากฏจุดที่หยุดเป็นจุดขยายขึ้นกลายเป็นดวงแก้วสว่าง กำหนดดวงแก้วนั้นก็คือกสิณ จิตคือกสิณ กสิณคือจิต จิตเป็นหนึ่งเดียวกับกสิณ จริงๆจิตเป็นหนึ่งเดียวกับกสิณ คำว่าเอกัคตารมณ์ก็คือเป็นหนึ่งเดียว เป็นหนึ่งเดียวเป็นหนึ่งเดียวกัน จากจุดที่จิตหยุดกลายเป็นดวงแก้วกสิณ ดวงแก้วกสิณคือเป็นหนึ่งเดียวกับจิต ก็คือเอกัคตารมณ์เราอยู่เป็นหนึ่งเดียวกับดวงกสิณนั้น ดวงกสิณมีกำลังของฤทธิ์อภิญญาเพียงใด จิตเราก็ปรากฏทุกครั้งที่เราฝึกเป็นหนึ่งเดียวกับฤทธิ์อภิญญาของกสิณเช่นนั้นด้วยเช่นกัน

กำหนดให้เห็นจิตของเราเป็นเพชรประกายพรึกสว่าง คือเป็นปฏิภาคนิมิต ปฏิภาคนิมิตปรากฏขึ้น เรากำหนดรู้ในเส้นแสงรัศมีที่เป็นแสง 7 สีแผ่ออกไปจากจิต พ้นเลยจากรัศมีของเส้นแสงปรากฏสภาวะ บรรยากาศมีสภาพเหมือนกับกากเพชรแพรวพราวโปรยปรายอยู่เต็มชั้นบรรยากาศทั้งหมด ทรงอารมณ์ทรงสภาวะที่จิตทรงกำลังของกสิณ จิตเป็นเป็นปฏิภาคนิมิต จิตมีความเป็นทิพย์ จิตรวมเป็นหนึ่งเดียวของกสิณทั้ง 10  กอง คือกสิณดิน กสิณน้ำ กสิณลม กสิณไฟ รวมกสิณที่เป็นวรรณกสิณทั้ง 4 คือ กสิณสีขาว กสิณสีดำหรือสีเขียวนิลกสิณ กสิณสีเหลืองหรือกสิณสีทอง และกสิณสีแดงเป็นหนึ่งเดียว กสิณอีก 2 กองคืออาโลกสิณหรือกสิณแสงสว่างและกสิณกองสุดท้ายคือกสิณที่เป็นที่ ว่าง โล่ง ปราศจากวัตถุรูป แต่ยังไม่ใช่ อรูป เป็นที่ว่างเฉย ๆ ทรงสภาวะที่เห็นจิตเป็นปฏิภาคนิมิต ความรู้สึกว่ากสิณทั้ง 10 กองรวมเป็น  1 เป็นเอกัคตารมณ์กับจิต ผนึกเป็นหนึ่งเดียวกัน รัศมีสว่างแผ่กระจายชัดเจนอยู่ ทรงสภาวะทรงอารมณ์ไว้ เพื่อให้เกิดวสี ความชำนาญในการทรงฌานในกสิณ อารมณ์จิตเชื่อมโยง กสิณยิ่งใสยิ่งสว่าง ยิ่งแพรวพราวระยิบระยับ จิตยิ่งมีความสุข จิตยิ่งเอิบอิ่มปิติมีความสุข กระแสความเป็นทิพย์ยิ่งเปล่งประกาย แผ่สว่างออก ทรงอารมณ์ทรงสภาวะ ไว้

จากนั้นกำหนดจิตต่อไป จากกสิณเรากำหนดเดินจิตจากฌาน 4 ในกสิณ ก็คือปฏิภาคนิมิต เพิกภาพกสิณทั้งหมดออก รูปทั้งหลายเพิกออก กำหนดเห็นแต่สภาวะอันปราศจากรูปวัตถุทั้งหลาย คือรู้สึกว่าอยู่ในสภาวะที่ขาว ว่าง โล่งไม่มีพื้น ไม่มีผนัง ไม่มีเพดาน เพิกรูปทั้งหลายออกไปให้หมด วัตถุทั้งหลายออกไปให้หมด ทรงสภาวะในอรูปสมาบัติ ความรู้สึกว่าจิตของเราลอยอยู่ท่ามกลางความว่างทั้งหลาย ห้องหายไปหมด สถานที่ที่เรานั่งสมาธิหายไปหมด แม้แต่กายเนื้อของเราก็หายไปหมด เหลือเพียงแต่ดวงจิตเราสว่างลอยอยู่ ท่ามกลางสภาวะแห่งอรูป ขาว โล่ง ว่าง

จิตสงบอยู่ในกำลังของอรูป เพาะบ่มกำลังแห่งอรูปสมาบัติ เมื่อมีรูปก็มีสิ่งเร้าสิ่งกระตุ้น สิ่งที่ทำให้จิตเราปรุงแต่ง ไร้รูปไร้การปรุงแต่ง เป็นความว่างเป็นความสงบจากความไร้รูป ไร้สัญญา ไร้สิ่งกระทบทางอายตนะ จิตนิ่งสงบอยู่ท่ามกลางความว่าง เวิ้งว้าง สงบ 

จากนั้นกำหนดจิตต่อไป อธิษฐานตั้งจิตรำลึกนึกถึงพระพุทธเจ้า เราใช้กำลังของอรูปสมาบัติเป็นกำลังแห่งสมถะตั้งฐานขึ้นสู่วิปัสสนาญาณ  กำหนดน้อมนึกภาพพระพุทธองค์อยู่ใจกลางดวงจิตของเราสว่าง พุทธะเป็นหนึ่งเดียวกับดวงจิต จิตคือพุทธะ กำหนดน้อมกระแสพุทธานุภาพ กระแสพุทธญาณทัศนะของพุทธองค์ พุทธบารมีของพระพุทธองค์ เสด็จมาประทับอยู่ภายในดวงจิตของข้าพระ พุทธเจ้า จิตของเราคราวนี้สว่างขึ้นไปเป็นประกายองค์พระอยู่ภายในจิต สว่าง จิตคือพุทธะ พุทธะสถิตอยู่ภายในจิตของข้าพเจ้า ความสว่างของดวงจิตยิ่งเพิ่มพูนขึ้นสว่างขึ้น 

พอจิตมีกำลังสูงสุดขึ้นแล้วเราอธิษฐานจิต ขอกำลังพุทธานุภาพยกจิตของข้าพเจ้าขึ้นไปปรากฏเป็นสภาวะแห่งกายที่เป็นอาทิสมานกายกายพระวิสุทธิเทพบนพระนิพพาน ตั้งจิตยกจิตขึ้นไปบนพระนิพพานอยู่เบื้องหน้าพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอรหันต์ทุกๆพระองค์ มีสมเด็จองค์ปฐมทรงเป็น ประธาน

จากนั้นกำหนดจิตกราบทุกท่านทุกๆพระองค์ด้วยความนอบน้อมด้วยความเคารพ เมื่อกราบเสร็จเรียบร้อยอธิษฐานจิต ขอให้จงปรากฏในสภาวะความเป็นทิพย์บนพระนิพพาน ขอจงปรากฏรัตนบัลลังก์ดอกบัวแก้ว เป็นอาสนะเป็นดอกบัวแก้วสว่าง ให้ข้าพเจ้านั่งขัดสมาธิเจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่บนพระนิพพานอยู่กับทุกท่านทุกๆพระองค์บนพระนิพพาน

เมื่อเข้าที่เรียบร้อยดีแล้วก็กำหนดจิตพิจารณาน้อมจิต เจริญจิต เจริญธรรมตามไป

วันนี้เราก็จะฝึก ปฏิบัติทบทวนทำความเข้าใจในเรื่อง ของอนุสติ  10 อนุสติ 10  นั้นเป็นหมวดแห่งพระกรรมฐานในกรรมฐาน 40  กอง กรรมฐาน 40 กองนั้นก็ได้รจนารวบรวมเรียบเรียง รจนาขึ้นจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค กรรมฐาน 40 กองโดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธะในอนุสติ  10 

อนุสติ 10  นั้น มีความหมายว่าเป็นกรรมฐานที่เราพึงจะต้องรำลึกบ่อยๆสม่ำเสมอ เป็นอนุสติ คือรำลึกถึงบ่อยๆสม่ำเสมอ คือ นึกถึงได้นึกถึง หมวดสำคัญที่สุด เริ่มต้นเลยก็มีตั้งแต่ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ อันนี้ก็ถือว่าการที่สติเรานึกถึงธรรมะ นึกถึงพุทธะ นึกถึงธรรมะ นึกถึงสังฆะ คือนึกถึงพระที่ท่านเป็นพระอริยเจ้าที่ท่านเป็นพระอรหันต์ อันนี้ขอกล่าวรวมคร่าวๆให้ครบ ทั้ง 10  ก่อน  

ต่อมาก็เป็นเรื่องของจาคานุสติ จาคานุสติก็คือจิตรำลึกนึกถึงทาน นึกถึงสิ่งที่เราสละออก 

ต่อมาก็คือเรื่องของ สีลานุสติ สีลานุสติก็คือรำลึกถึงศีล 

ต่อมาก็คือเทวดานุสติ อันนี้ถ้าเราสังเกตดูว่า ทำไมการรำลึกนึกถึงเทวดาถึงอยู่ในกรรมฐาน  40 กอง 

คราวนี้ครบ 6  แล้ว บางแห่งก็กำหนดหมวดหมู่ว่าเป็นอนุสติ 6  แต่ที่จริงอนุสตินี้เป็นอนุสติ  10 ส่วนที่เป็นอนุสติต่อมาก็ คือมรณานุสติกรรมฐาน มรณานุสติแล้วต่อมาก็เป็นอานาปานสติกรรมฐาน

ต่อมาก็เป็นกายานุสติกรรมฐาน ข้อสุดท้ายก็คืออุปมานุสติกรรมฐาน

ถ้าเรามีปัญญาพิจารณาให้ดี ค่อยค่อยแยกค่อยๆทำความเข้าใจในเรื่องอนุสติทั้ง  10 เราจะพบว่าถ้าเราเข้าใจและทำครบ เอาแค่รำลึก คือนึกถึง อันที่จริงอนุสติหมายความว่าระหว่างวันเรานึกถึงเราใคร่ครวญถึง เราตรึกตรองถึง ชนิดที่ว่าไม่ได้ปฏิบัติเป็นการนั่งกรรมฐานหลับตาฝึกเต็มรูปแบบ แต่ในระหว่างวันเราตรึกนึกถึงไปสม่ำเสมอบ่อยๆ ก็สามารถที่จะทำให้ได้มรรคผลพระนิพพานได้

คราวนี้เรามาทำความเข้าใจก่อนว่า อย่างพุทธานุสติกรรมฐาน อันนี้ถือว่าเป็นกรรมฐานที่เป็นเพชรยอดมงกุฎของกรรมฐานทั้ง40กองอยู่แล้ว การที่เรารำลึกนึกถึงพระพุทธเจ้า ถ้าเรานึกถึงจิตถึงอย่างแท้จริง ถึงเวลากำลังของพุทธานุภาพก็ถ่ายทอดลงมาสู่จิตเราได้ หรือถ้าจิตเราถึงพระท่านจริงๆ กำลังมโนมยิทธิเราได้ เราฝึก เราก็สามารถฟังธรรมโดยตรงต่อพระพุทธองค์ได้ อันนี้เป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติเพื่อมรรคผลพระนิพพาน 

คราวนี้ถึงเวลาคนที่เค้าไม่มีกำลังเข้ามาถึงตรงจุดนี้ได้คือจิต จิตยังไม่ถึงพระพุทธองค์อย่างแท้จริง ถึงเวลาเค้าก็ไปคิดพิจารณาธรรมะตามใจตัวเองหรือตีความตามความเข้าใจของตัวเอง แต่สุดท้าย ธรรมะที่ถ่ายทอดจากจิตสู่จิต ธรรมะที่ถ่ายทอดจากพระพุทธองค์โดยที่จิตเราอยู่ในฌาน ไม่มีอคติ จิตผุดรู้ขึ้นจากกระแสของพุทธานุภาพลงมา อันนี้หลายคนที่มีประสบการณ์เข้าถึง เราก็จะยิ่งอัศจรรย์ใจในการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ว่าธรรมดาถ้าเราคิดเองเราคิดไม่ได้นี้ ดังนั้นเมื่อเราคิดเองเราคิดไม่ได้อย่างนี้หรือขนาดนี้หรือลึกซึ้งได้ขนาดนี้ เราก็ขอบารมีพระดีกว่าไหม กระแสธรรมความรู้ ภูมิรู้ต่างๆ เป็นกระแสที่ถ่ายทอดจากพระพุทธองค์ ตรงวาระจิต ตรงวิสัย มีความลึกซึ้งพิสดารกว่า อันนี้ก็คร่อมมาถึงธรรมานุสติ ธรรมที่เราคิดเองปรุงเอง กับธรรมที่เป็นธรรมแท้ธรรมที่บริสุทธิ์ธรรมที่ถ่ายทอดจากพระพุทธองค์ ถ่ายทอดจากพระอรหันต์ ถ่ายทอดจากจิตสู่จิตเข้ามา  ย่อมมีความถูกต้องแน่นอนกว่าการที่เราคิดพิจารณาด้วยตัวเอง

ในธรรมานุสติกรรมฐานถึงเวลานั้นประกอบไปด้วย บางครั้งเรากำหนดเป็นนิมิตเห็น อย่างเวลาหลวงพ่อท่านสอน ท่านก็สอนว่าเวลาที่ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ ในการกำหนดถึงธรรมานุสติกรรมฐาน ท่านให้จินตนาการนึกภาพว่าเห็นพระพุทธองค์ท่านทรงตรัสสอนธรรมแสดงธรรม จากนั้นปรากฏเป็นดอกมะลิแก้ว โปรยปรายจากพระโอษฐ์ลงมา มายังกลางกระหม่อมของกายทิพย์เรา เป็นธรรมะอันบริสุทธิ์สะอาดหมดจดลงมา ส่วนจิตของเราที่ผุดรู้ในธรรมะ เราก็กำหนดพิจารณาใคร่ครวญตามไป อันนี้เรียกว่าธัมมานุสติกรรมฐาน ซึ่งธรรมานุสติกรรมฐานนี้อันที่จริงก็คร่อมควบอยู่กับในหมวดการปฏิบัติ ในมหาสติปัฏฐาน 4 ก็คือ ธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน จริงๆธรรมะหลายหมวดก็มีความคร่อม มีความคาบเกี่ยวกันทับซ้อนกันอยู่

คราวนี้พูดรวมๆต่อมาก็คือสังฆานุสติกรรมฐาน คือจิตเรานึกถึงภาพครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นพระสุปฏิปันโนเป็นพระอริยเจ้า เป็นพระอรหันต์ ในเรื่องของอนุสติกล่าวข้ามไปนิดนึง ก็คือมีทั้งการกำหนดเป็นภาพคือพุทธานุสติกำหนดเป็นภาพองค์พระ และในภาคที่เป็นวิปัสสนาก็คือเห็นภาพองค์พระ จิตเราพิจารณาคุณความดี ของพระพุทธองค์ พิจารณาถึงธรรมะที่ท่านสอน ส่วนธรรมานุปัสสนาธรรมานุสติกรรมฐานเราก็พิจารณาเห็นเป็นดอกมะลิแก้วโปรยปรายลงมาเป็นนิมิตและในขณะเดียวกันจิตก็กำหนด พิจารณาตามธรรมะที่ผุดรู้ขึ้นมาในจิต หรือพิจารณาตามที่เราตั้งใจจะเจริญปัญญาพิจารณา 

ส่วนสังฆานุสติเห็นภาพนิมิตของพระสงฆ์ พระอรหันต์ พระอริยเจ้า พระสุปฏิปันโน หรือพระโพธิสัตว์ก็ตาม เมื่อเห็นแล้วเราก็กำหนดทรงภาพท่านไว้เป็นนิมิต และหรือขณะเดียวกันเราก็พิจารณาธรรมะที่ท่านสอน หรือการที่เราอ่านหนังสือธรรมะของครู บาอาจารย์ จิตเห็นภาพขององค์ท่านที่สอนนั้นปรากฏอยู่ในจิตตลอดเวลา ตาอ่านหนังสือ จิตก็เห็นภาพไป หรือแม้แต่การที่เราสวดมนต์อย่างสวดบทพระจักรพรรดิ เห็นรูปลักษณ์หลวงปู่ดู่ หลวงปู่ทวด จิตเราก็สวดมนต์ไป อันที่จริงก็ถือว่าอยู่ในสังฆานุสติกรรมฐานด้วยในตัว อันนี้เมื่อเราทำความเข้าใจเราก็จะใช้ ได้มากกว่าคนอื่น การเห็นภาพด้วยมันมีกำลังของนิมิตของกสิณ พอจิตเห็นภาพจิตถึง กระแสกำลังของความศักดิ์สิทธิ์ไม่ว่าจะ เป็นพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ก็มาถึงเราตามไปด้วย

คราวนี้ต่อ มาในอนุสติทั้ง 10 อาจจะไม่ได้เรียงกอง อันนี้ว่าถึงบุคคลก็ข้ามมาหน่อย มาเป็น เทวดานุสติ เทวดานุสติก็คือตั้งจิตรำลึกนึกถึงเทวดาองค์นั้นๆ เช่นเรานึกถึงพระอินทร์ท่าน เรานึกถึงคำว่าเทวดานุสตินี่จริงๆไม่ใช่เฉพาะเทวดา จริงๆรวมไปถึงพรหมเช่น จิตเรากำหนดนึกถึงท่านท้าวสหัมบดีพรหม เรานึกถึงแล้ว จิตเรานึกถึงความดีของการที่ท่านได้มาเสวยบุญเป็นเทวดา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการที่ท่านรักษาศีล เรื่องของการที่ท่านมีหิริโอตัปปะความเกรงกลัวละอายต่อบาป หรือทานบารมีที่ท่านทำมาดีแล้ว บารมี 10 ที่ท่านทำมาดีแล้ว ฌานสมาบัติที่ท่านเจริญมาดี แล้ว ทำให้ท่านเข้าถึงความเป็นทิพย์ 

เทวดานุสตินี้เรารำลึกเพื่อ 

1 นึก ถึงความดีของท่าน

2 เป็นเครื่องแสดงความนอบน้อม แสดงความเคารพในฐานะที่ท่านเป็นผู้ใหญ่ คือมีบุญมีบารมีมากกว่าเรา   พอเทวดานุสติว่ากันตัวบุคคลครบหมด แล้วคราวนี้ก็ข้ามต่อมา มาปรากฏว่าเป็น อนุสติที่มาอยู่ในหมวดของการปฏิบัติ คือ จาคานุสติ เหตุผลที่จาคานุสตินี้ทำไมไม่ใช่คำว่าทานานุสติคือการให้ทาน  ถ้าการให้ทานก็จะเป็นกรรมฐานที่จิตมุ่งในอานิสงส์ ส่งผลในเรื่องของความเป็นทิพย์ คือไปเป็นเทวดาหรือเป็นบุคคลที่เกิดมา ใหม่แล้วกลายเป็น ว่ามีทรัพย์สมบัติเป็นเศรษฐีเป็นกษัตริย์ ถ้าใช้คำว่าทานนุสติ แต่ใช้จาคานุสติ คือการให้ทานเหมือนกัน แต่จาคะแปลว่าการสละออก คือตัดออก ในเมื่อใช้คำว่าจาคะก็คือ พิจารณาว่าทานนี้เราสละออกไปเพื่อกำจัดกิเลสคือความโลภ ทานนี้เราให้เพื่อสละความตระหนี่ ความหวง ความยึดของจิต พอคราวนี้มันก็เป็นตัวตัดกิเลส พอใช้คำว่าจาคะปุ๊บกลายเป็นตัวตัดกิเลส หรือเวลาที่เราไปถวายมหาสังฆทานกัน เราอธิฐานว่าขอให้ทานนี้จงเป็นปัจจัยเพื่อพระนิพพาน นิพพานปัจจะโย โหตุ อันนี้ก็ถือว่าเป็นจาคานุสติ ดังนั้นถึงใช้คำว่าจาคานุสติ อันนี้คือเรื่องของทาน 

ต่อมาก็คือเรื่องของศีล  สีลานุสติกรรมฐานมีความหมายว่าเราตั้งจิตรำลึกรู้ ว่าเราเป็นผู้ที่มี ศีล ศีลนี้เป็นเครื่องปิดอบายภูมิ ปิดอบายภูมิเพื่อการไม่เกิดในนรก เพื่อการไม่เกิดเป็นเปรตอสุรกาย เพื่อการไม่หลงไปเกิดเป็นโอปปาติกะสัมภเวสี เพื่อไม่ลงไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ดังนั้นศีลนี้ อันที่จริงถึงเรากำหนดจิตว่าเรารักษาศีลเป็นผู้ที่มีศีล 5 แต่ถ้าเรารำลึกบ่อยๆ คือเช้ามาว่าเรากำหนดใจของเราว่าเรารักษาศีล ก่อนนอนเรากำหนดใจว่า เรารักษาศีล พอเราจะทำผิดศีลอะไร เรากำหนดไม่ได้ เราเป็นผู้ที่มีศีล เราจะไม่ละเมิดศีล เรารำลึกถึงแบบนี้บ่อยๆ เราก็กลายเป็นผู้ที่มีศีล 5 บริสุทธิ์ ค่อยๆ เป็นไปโดยธรรมชาติไปทีละน้อย คราวนี้ต่อมาเรียงหมวดให้มันต่อเนื่องมาเป็นการปฏิบัติคือให้ส่งผลในการปฏิบัติ ไม่ได้ เรียงตามลำดับจริงๆในอนุสติ 10  คราวนี้เมื่อกี้ทานมาถึงศีล  ศีลแล้วต่อมาภาวนา คืออะไร 

ภาวนาก็คือ อานาปานสติ อานาปานสติคือภาวนา คือจิตมีวิหารธรรมอยู่กับการภาวนา คือทำจิตให้อยู่กับลมหายใจ อยู่กับลมหายใจ เพื่อระงับความฟุ้งซ่านเพื่อทำให้จิตของเรามันมีความเบา มีสติ เมื่อลมหายใจของเราสงบระงับลง จิตเราก็สงบระงับลง พอจิตสงบระงับลงเป็นสมาธิ เป็นปฐมฌานบ้าง ไล่ไปจนกระทั่งถึงฌาน  4  ภาวนาเราก็เต็มพอภาวนาเราเต็มปุ๊บ เราก็มาทำความเข้าใจในเรื่องของ กายานุสติกรรมฐาน ก็คือกำหนดรู้ในเรื่องของกาย พอเรื่องของกายนี้ก็เห็นกาย เห็นกายก็คือเห็นกายอย่างไร เห็นกายว่า มันเป็นของไม่เที่ยง

คราวนี้มันก็มี วิปัสสนาญาณมาจับ ถ้าเรากำหนดในเรื่องของนิมิตด้วยเราใส่นิมิตไปในกายก็เห็นร่างกายทะลุ ไปหมด เห็นมองทะลุอวัยวะทั้งหมดก็เท่ากับพิจารณากาย เห็นในอาการ  32 มีสติรำลึกรู้ในกาย เห็นอาการ 32 เห็นในความเป็นอสุภสัญญา อันนี้กลายเป็นว่ากายนั้นมันคาบ เกี่ยวกับในเรื่องของ การที่เราพิจารณาในอสุภจริงๆก็จะไปอยู่ ในโหมดอสุภต่อไป อสุภซึ่งก็อยู่ในกรรมฐาน 40 กองนั่นแหละ แต่คราวนี้เรากำหนดรู้กาย สิ่งสำคัญคือรู้กายว่ากายนี้อยู่ในกฎไตรลักษณ์ กฎไตรลักษณ์คือร่างกายนี้มีความแก่ มีความเจ็บไข้ไม่สบาย มีความตายไปในที่สุด เรากำหนดรู้ในกาย เพื่อไม่ติดกาย ทิ้งกาย ทิ้งความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายทั้งกายของตัวเราก็ดี กายของบุคคลอื่นก็ดี เรากำหนดจิตตัดกายของ เราพอกำหนดจิตตัดกาย กายของเราที่เรากำหนด ตัดเมื่อตัดรูปก็แยกรูปแยกนามได้มากขึ้น นั่นก็คือการตัดขันธ์  5 พอตัดขันธ์ 5 ได้เราก็แยกกายทิพย์แยก อาทิสมันกายสามารถใช้กำลังของมโนมยิทธิ ได้คราวนี้เราก็พิจารณาต่อไป ในเมื่อกายนี้มันไม่เที่ยงมันต้องตาย มันก็ย้อนกลับมาเข้าเรื่องของมรณานุสติ มรณานุสติก็คือพิจารณาความตายว่า ความตา นี้เป็นปกติของเรา เราเกิดมากี่ชีวิต ทุกชีวิตบนโลกใบนี้ในที่สุดก็ต้องถึงแก่ความตาย แต่คราวนี้สิ่งที่ต้องคิดก็คือเรา ประมาทในความตายหรือเราคิดว่าเราสามารถตายได้ตลอด เวลาถ้าเป็นพระอริยเจ้าท่านจะคิด พิจารณาว่าชีวิตเราใกล้เข้ากับความตายมากเพียงใด แต่บุคคลที่เป็นปุถุชนก็จะประมาทในความตายมากกว่าผู้ที่เคยฝึก จิต ผู้ที่ไม่เคยฝึกจิตเลยย่อมมีวิสัยที่จะกลัวตายเป็นธรรมดา จนกระทั่งหลีกเลี่ยงที่จะนึกถึงหรือหรือพูดถึงความตาย แต่คราวนี้เมื่อเราไม่เคยปฏิบัติจะพูดถึงความตาย เราก็กลัว อย่าพูด อย่าพูดถึงฉันกลัว คราวนี้มันก็เลยกลายเป็นความไม่รู้ ไม่รู้ไม่เตรียมกาย ไม่เตรียมจิต แล้วคราวนี้ตายแล้วจะไปไหน ในเมื่อไม่สนใจ หลีกเลี่ยงที่จะรู้ แต่ผู้ที่ปฏิบัติ เราคิดพิจารณาเสมอว่า ถึงเวลาเราต้องตาย คราวนี้สิ่งที่เจริญวิปัสสนาญาณที่เป็น ข้อต่อเนื่องกับมรณานุสติคือตายแล้วเราจะ ไป ไหนพอเราคิดพิจารณาว่าตายแล้วจะไป ไหนมันก็มา จบที่อนุสติข้อสุดท้ายคืออุปมานสติกรรมฐาน อุปมานุสติกรรมฐานก็คืออารมณ์กรรมฐานที่คิดพิจารณาถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ นั่นก็คือตายเมื่อไหร่ ฉันจะไปพระ นิพพาน 

ดังนั้นจริงๆอนุสติทั้ง 10  ถ้าเรามีความเข้าใจ เราสามารถปฏิบัติจนถึงพระนิพพานได้ 

ทำความเข้าใจว่า  1 ชุดแรกที่เป็นเรื่องของไตรสรณคมน์  พุทธธรรมสังฆานุสติ นั่นก็คือการเข้าถึงไตรสรณคมน์ การเข้าถึงไตรสรณคมน์นั้นก็เป็นเครื่องที่ ช่วยในการตัดสังโยชน์ การที่เรามีศีลก็เป็นเครื่องตัดสังโยชน์ สุดท้ายตัดกายสักกายทิฐิจนกระทั่งถึงที่สุดก็คือพระนิพพาน เราจะเห็นว่าอนุสติ  10 พอเราทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้ง โฟกัสพิจารณาแต่ละจุดให้ชัดเจน การปฏิบัติเพื่อพระนิพพานก็เป็นเรื่องง่าย 

อย่างคำว่าพระพุทธองค์ท่านทรงตรัสถามพระอานนท์ ว่านึกถึงความตายวันละกี่ครั้งพระอานนท์ บอกว่า 7 ครั้ง พระพุทธองค์บอกว่าท่านนึกถึงความตายทุกข์ ลมหาย ใจเราเห็นไหมว่ารวมกรรมฐานอนุสติ10ไว้ในคำตอบเดียว

ลมหายใจคืออะไร คืออานาปา อานาปาผนวกกันกับมรณานุสติ และจริงๆคำ ตอบที่เสริมอยู่ในนัยยะนั้นก็คือ ตายเมื่อไหร่ไปพระ นิพพานตายเมื่อไหร่ไปพระนิพพานก็คือ อุปมานุสติกรรมฐาน 

ดังนั้นอันที่จริงนึกถึงความตาย เมื่อไหร่นึกถึงตายเมื่อไหร่ฉันไปพระนิพพานคราวนี้ควบรวมกรรมฐานอนุสติทั้ง 10  กองเมื่อไหร่ตายเมื่อไหร่ฉันไปพระนิพพาน ทานที่ฉันทำไว้แล้วเป็นปัจจัยเพื่อนิพพาน ศีลที่ฉันรักษาเป็นปัจจัยเพื่อพระ นิพพาน เมื่อไปอยู่ที่พระนิพพานฉันก็จะได้ไปอยู่กับพระพุทธเจ้าอยู่ท่ามกลางกระแสแห่งธรรมอันเป็นวิมุตติสุข อยู่ท่ามกลางพระอรหันต์ครูบาอาจารย์ที่ฉันรัก ที่ฉันเคารพ

อันที่จริงอีกข้อที่สำคัญก็คือยิ่งเรารักพระพุทธองค์ ยิ่งเรารักเคารพครูบาอาจารย์ ผูกพันกับครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นพระ อรหันต์ ถึงเวลาฉันทะความพึงพอใจนี้ก็จะเป็นเครื่องดึงดูดให้เราพึงพอใจอยู่กับพระนิพพานตามไปด้วย 

อย่างมีพระอาจารย์ท่านนึงท่านก็เมตตา เมตตาในการสั่งสอนปรารถนาที่จะให้ลูกศิษย์ไปพระนิพพาน ท่านก็มีเครื่องล่อของท่าน ท่านก็บอกว่าเธอลองคิดดูนะต่อไปเพื่อนๆในยุคสมัยนี้ เพื่อนๆไปพระนิพพานหมด แล้วเธอยังไม่ไป เธอยังหลงอยู่ เขาไปกันชุดใหญ่ ต่อไปเธอคุยกับใครก็ไม่รู้เรื่อง ถ้ายังเกิดอยู่ พบแต่คนที่เขายังไม่ปรารถนาพระนิพพาน หลุดจากรอบที่เขาจะขนรื้อขนไปครั้งใหญ่เบื่อแย่เหงาแย่ ดังนั้นไปได้รีบไปพร้อมเพื่อน ท่านก็อาศัยความติดเพื่อนว่าถ้าเพื่อนเราไปกันหมดแล้วคนที่รักเราไปหมดแล้วเราจะไม่ไปเหรอ เราลองคิดเอาว่าครูบาอาจารย์ท่านก็ไป

อย่างสายหลวงปู่มั่นท่านก็บอกว่าครูบาอาจารย์นับวันก็จะสิ้นลงไปถ้าเราไม่เร่งความเพียรเพื่อปฏิบัติในมรรคผลพระ นิพพานถึงเวลายุคสมัยก้าวไปอีก 100 ปี 200  ปีก้าวไปจนกระทั่งถึงพันปีสุด ท้ายถึงเวลาธรรมะเสื่อมโทรมลงพระ พุทธศาสนาทรุดโทรมลงมรรคผลมีคนได้น้อยลง คราวนี้ก็กลายเป็นเรื่องไปยาก ลองคิดเอาว่านี้ขณะนี้กำลังจะเข้ายุคชาววิไลธรรมะยังผิดเพี้ยนฟั่นเฝือถูกตัดทอนไป ดังนั้นเมื่อเราเข้าใจแบบนี้เห็นแบบนี้ เรายิ่งไม่ ประมาทหรือเอาเฉพาะแค่บุคคลที่เห็นความ ตายเป็นเรื่องปกติเราตายแน่ นอนความตายอยู่กับเราทุกลมหายใจ ถ้าเราคิดได้แบบนี้เราก็ยิ่งเร่งการ ปฏิบัติยิ่งเร่งว่าเราต้องนึกถึงพระนิพพานให้บ่อยๆ

คราวนี้จากคำถามเดิมที่ว่าพระอานนท์ตอบพระพุทธองค์ ว่านึกถึงวันละ 7  ครั้งอย่างเราแต่ละคนวันนึงเรานึกถึงความ ตายวันนึงเรานึกถึงพระพุทธเจ้าวันนึงเรา นึกถึง การพิจารณา ธรรมวันนึงเรานึกถึงการยกจิตขึ้นไปบนพระ นิพพานเรานึกถึงทุกวัน ไหม นึกถึงทุกวันได้ นึกถึงวันละกี่ครั้ง นึกถึงบ่อยแค่ไหน อันนี้ถึงมีอุบายในการปฏิบัติว่าให้ ผูกกิจวัตรในการปฏิบัติกับการปฏิบัติธรรม กิจวัตรของชีวิตกับการปฏิบัติธรรม ตื่นเช้ามาปุ๊บนึกถึงพระพุทธองค์กราบพระพุทธเจ้าบนพระนิพพาน อาบน้ำเรากำหนดจิตชำระล้างจิต น้อม กระแสธรรม กำหนดว่าอาบน้ำทำความสะอาดกายเรา  มีศีลทำความสะอาดใจ จะทานข้าวกำหนดข้าวเป็นทิพย์ ยกถวายพระพุทธองค์ก่อนทาน 3 มื้อ ก็อย่างน้อย 3  ครั้ง เช้า 1 รอบกินข้าว 3 มื้อ ก่อนนอนอีกรอบหนึ่ง

การว่าอย่างน้อยก็ 5  ครั้ง อันนี้ค่อยๆผูกไป หรืออย่างคนโบราณเขามีความฉลาด จะเดินออกจากบ้านเราให้กำหนดว่า กำลังจะก้าวเท้าออกจากบ้านให้ดูก่อนว่าลมหายใจของเรานั้นมันหายใจคล่องทางจมูกรูจมูกขวาหรือรูจมูกซ้าย

จริงๆลมที่มาจากลมรูจมูกเขาจะมีชื่อเรียกลมที่ไหลออกมาจากรูจมูกขวาเรียกว่า สุริยกถา ลมหายใจที่ออกจากรูจมูกซ้ายเข้าออกนะ เรียกว่าจันทรกถา

อันที่จริงถ้าเราทำความเข้าใจก็คือมีความสมดุลของหยินหยาง ร้อนและเย็น เวลาออกจากบ้านก็ให้ดูก่อน ถ้าลมรูจมูกขวาคล้องก็ให้ก้าวเท้าขวาออกไปจากบ้านก่อน ตามที่จริงก็คือกำหนดสติแล้วก็อานาปานสติ อันนี้ก็เป็นอุบายที่คนโบราณเขาสอน หรือแม้แต่คติที่ว่าเวลาก้าวเท้าออกไปจากบ้านปุ๊บก้าวขวาพุธซ้ายโทไปเรื่อยๆ ไม่ต้องกำหนดว่าเราจะเดินจงกลมถึงทำ เอาเดินไปไหนมาไหนก็ทำ เดินแล้วก็ย่างก้าวแล้วก็ภาวนาขวาพุธซ้ายโทไปเรื่อยๆ ขวา พุท ซ้าย โท ไปเรื่อย ๆ หรืออย่างตัวอาจารย์เองจากประสบการณ์ ตั้งแต่สมัยบวช ลงจากกุฏิเมื่อไหร่จะไปทำวัตร จะไปบิณฑบาต เวลาก้าวเดินก็สัพเพสัตตาไปเรื่อยๆ ตลอดทางถึงเวลาก็เกิดผล บิณฑบาตอุดมสมบูรณ์ตลอดไม่เคยอด ญาติโยมศรัทธาเต็มที่ เดินบิณฑบาตอยู่กลางถนนมีนกบินมาเกาะสังฆาฏิ

ผลจากการเจริญเมตตา อันนี้ถือว่าเป็นผลของการปฏิบัติที่เล่าให้ฟังแต่เราก็พยายามฝึกกัน ทำจนกระทั่งการปฏิบัตินั้นเป็นปกติ  ดังนั้นเราพิจารณาดูแล้วถ้าเราผูกในอนุสติ 10 ให้ดี เราจะพบว่ามันจะเร่งรัดการปฏิบัติเพื่อมรรคผลพระนิพพานมากขึ้น เรารักพระพุทธองค์ เรารักครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นพระอรหันต์ เรารักในพระนิพพาน ธรรมฉันทะเหล่านี้เป็นเครื่องที่ผูกจิตของเราให้จิตเรายินดีในพระ นิพพาน เมื่อจิตยินดีในพระนิพพานก็ทำให้จิตเรายินดีในการปฏิบัติ ยินดีในการปฏิบัติก็ทำให้เราปรารภความเพียรเพิ่ม  ปรารภความเพียรเพิ่มก็เป็นเหตุที่ทำให้ธรรมะของเราเจริญขึ้นก้าวหน้าขึ้นตามลำดับไป

ดังนั้นทุกอย่างของการปฏิบัตินั้นถูกร้อยเรียงเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน มีผลเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน 

ตอนนี้ก็ขอให้เราทุกคนกำหนดจิตให้เกิดปัญญาในอนุสติทั้ง 10 สามารถใช้ศักยภาพของการเจริญในอนุสติ  10 ให้ธรรมะนี้มีความก้าวหน้าในมรรคผลพระนิพพาน

จากนั้นกำหนดจิตน้อมกระแสของพระนิพพานแผ่เมตตาลงมายังอรูปพรหมทั้ง  4 พรหมโลกทั้ง 16  ชั้น อากาศเทวดาทั้ง 6 รุกขเทวดาภูมิเทวดาทั่วอนันตจักรวาล แผ่เมตตาลงมายังมนุษย์และสัตว์ที่มีขันธ์ 5 กายเนื้อทั่วอนันตจักรวาล แผ่เมตตาให้กับดวงจิตโอปปาติกสัมภเวสีทั้งหลาย ท่านที่อยู่ในเมืองบังบดทั้งหลาย อยู่ในเมืองลับแลทั้งหลาย อยู่ในจักรวาลทั้งหลายที่ทับซ้อนกันอยู่ แผ่เมตตาต่อไปยังภพของอสุรกาย แผ่เมตตาต่อไปยังภพของสัตว์นรกในทุกขุม

กำหนดตั้งจิตอธิษฐานแผ่เมตตาเปิด 3  แดนโลกธาตุ เปิดทั้ง 3 ภพภูมิเพื่อตัดภพภูมิ แผ่เมตตา ให้อโหสิกรรม ขมากรรม เพื่อการไม่เกิด เห็นทุกข์เห็นความไม่เที่ยง เห็นการเปลี่ยนแปลงในภพ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงในภพของสังสารวัฏ คือ ไตรภูมิ แผ่เมตตา 3 ภพภูมิเพื่อตัดภพจบชาติ

จากนั้นอธิษฐานขอน้อมกระแสจากพระนิพพาน ผลแห่งการปฏิบัติเป็นกำลังบุญศักดิ์สิทธิ์ลงมาคุ้มครองรักษาชาติ  ศาสนา พระมหากษัตริย์ ขอพุทธบริษัท 4 จงเข้าถึงธรรมะที่ตรงต่อมรรคผลพระนิพพาน ขอคนในชาติมีความสามัคคี ขอโลกนี้มีความสุข สงบ สันติจงเกิด สันติภาพในโลกใบนี้สลายล้างข้อขัดแย้งสงครามทั้งปวง

เมื่อน้อมกระแสบุญมาช่วยชาติบ้านเมืองแล้วเราก็กำหนดจิตกราบลาพระพุทธเจ้า กราบลาทุกๆพระองค์ กราบลาแล้วก็พุ่งจิตเรากลับลงมาที่กายเนื้อพร้อมกับน้อมกระแสจากพระนิพพาน กระแสธรรมะที่เราปฏิบัติ ฟอกธาตุขันธ์ กระแสบุญกระแสธรรมฟอกล้างธาตุขันธ์ ผมขนเล็บฟันหนังกลายเป็นแก้วใส สว่าง โครงกระดูกเส้นเอ็นหลอดเลือดกลาย เป็นแก้วใส สว่าง เซลล์ทุกเซลล์กลายเป็นแก้วใสสว่าง กล้ามเนื้อทุกส่วนกลายเป็นแก้วใส อวัยวะ32  อวัยวะภายในทุกส่วนกลายเป็นแก้วใส โรคภัยไข้เจ็บ เซลล์มะเร็งเซลล์เนื้องอก ถุงน้ำถุงซีดทั้งหลาย สลายตัวไป เชื้อโรคทั้งหลายพยาธิสภาพทั้งหลายค่อยๆสลายตัวไป เซลล์ทั่วร่างกายเปลี่ยนไปด้วยพลังชีวิต ปรับฟื้นกลับคืนสู่พลังและความสมดุล กายและจิตผ่องใสเปี่ยมพลัง

จากนั้นน้อมกระแสอาราธนาขอบารมีพระพุทธองค์  เทวดาพรหมสิ่งศักดิ์สิทธิ์เปิดสายบุญสายทรัพย์สายสมบัติ ขอจงปรากฏเป็นมนุษย์สมบัติอันจับต้องได้ มีความคล่องตัว ขอสายสมบัติของข้าพเจ้าทุกคนเป็นกำลังที่ช่วยเปิดสายบารมีเข้าสู่ยุคชาววิไล ขอยุคแห่งความสงบสุขสันติภาพ ความมั่งคั่ง ความเจริญทั้งทางโลกทางธรรม จงปรากฏเป็นยุคชาว วิไล ผู้คนมีจิตใจสูง ผู้คนยกระดับคุณธรรม ศีลธรรมความดีงามในจิตตนขึ้น 

จากนั้นโมทนาสาธุกับกัลยาณมิตรที่มาเจริญพระกรรมฐานร่วมกันทุกคน บุญพระกรรมฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติเพื่อมรรคผลพระนิพพาน มีอานิสงส์สูง เราขอโมทนากับทุกรูปทุกนามทุกคน ขอโมทนาสาธุกับเทวดาพรหมที่ท่านมาพิทักษ์รักษาโมทนาบุญกับเราทุกท่านทุกๆพระองค์ ขออุทิศส่วนกุศลให้กับเทวดาพรหมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ผู้มีพระคุณ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ มวลสรรพสัตว์เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ขอจงสลายล้างความอาฆาตพยาบาท อโหสิกรรมเป็น โมฆะกรรมกันทุกรูปทุกนาม

จากนั้นกำหนดจิตหายใจเข้าช้าๆลึกๆหาย ใจเข้าพุธออกโท ใจเอิบอิ่มเบิกบานผ่องใส ครั้งที่ 2  ธัมโม จิต สว่าง ครั้งที่ 3  สังโฆ กายจิตเอิบอิ่มเป็นสุข มีบารมีครูบาอาจารย์คุ้มครอง

จากนั้นลืมตาขึ้นช้าๆด้วยจิตเป็นสุข ถอนจิตช้าๆออกจากสมาธิ แล้วก็การปฏิบัติของเราก็อย่าลืมช่วยกัน เขียนแผ่นทองอธิษฐานเพื่อพระนิพพานกัน ตอนนี้ก็ ประมาณ 70,000 กว่าแผ่นยังต้องการให้ช่วยกันตั้งจิตทุกครั้งที่ยกจิตขึ้นพระนิพพานก็เขียน ครั้งละแผ่นได้เลยยิ่งขยันผลก็กลับคืนมาสู่ผู้ที่ขยันเขียนขยันอธิษฐานเอง พอได้ทั้งการปฏิบัติธรรมได้ ทั้งอธิษฐานบารมีได้ทั้งการย้ำไปในจิตของตนในเรื่องคติที่ไปคือพระนิพพานเป็นที่สุด

ก็ขอให้ทุกคนมีความสุขความเจริญจากการปฏิบัติ

สำหรับวันนี้สวัสดีพบกันใหม่ สัปดาห์หน้า

ถอดเสียงและเรียบเรียงโดย : คุณ Ladda

You cannot copy content of this page