เสียงธรรมจากห้อง “เมตตาภิรมย์กรรมฐาน”
วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม 2565
เรื่อง พิจารณากาย
โดย อาจารย์ คณานันท์ ทวีโภค
สวัสดีนะครับทุกคน ท่านที่เข้ามาแล้วก็กำหนดจิต จดจ่ออยู่กับลมหายใจสบายๆ วางอารมณ์จิตให้ผ่องใสจาก ภายในให้มากที่สุด จิตหยั่งตรงลึกถึงความสงบเย็นอยู่ภายใน ปล่อยวางผ่อนคลายทั่วร่างกายของเรา ปล่อยวางเรื่องราว ทุกอย่างออกไปจากจิตใจ อยู่กับความตั้งมั่น หยุดนิ่งอยู่กับความสงบผ่องใส กำหนดจิตของเราเป็นดวงเพชรประกาย พรึกสว่าง จดจ่ออยู่กับภาพนิมิตคือดวงจิตของเรา เป็นดวงของกสิณจิต สว่างรัศมีกำลังแห่งจิต มีเส้นแสงรัศมีของจิต สว่างเป็นเส้นรุ้งกระจายออก กำหนดน้อมนึกว่าในช่วงนี้ ปรากฏภาพนิมิตพลังของดวงอาทิตย์ที่ทรงกลดฉันใด พลัง แห่งดวงอาทิตย์ส่งต่อปรากฏจิตเราปรากฏรัศมีที่ทรงกลดรับถ่ายทอดกระแสพลังจิต จิตเราเกิดพลังงานครอบทรงกลดเฉกเช่นนั้นด้วยเช่นกัน จิตของเราสว่างเป็นเพชรระยิบระยับ มีรัศมีครอบคลุมกว้าง จิตนิ่งสงบผ่องใส จากนั้นน้อมจิต พิจารณาว่าในขณะที่เราสงบนิ่งหยุดอยู่นั้น จิตเข้าถึงสภาวะแห่งเอกัคคตารมณ์ จิตมีความตั้งมั่นพิจารณาต่อไปว่า ในขณะที่เราปฏิบัติธรรมนั้น เรามีศีลที่บริสุทธิ์ ในขณะที่เราปฏิบัติจิตเจริญจิตตภาวนา เราไม่ได้ละเมิดล่วงเกิน เบียดเบียนในศีลข้อใด ศีลของเราบริสุทธิ์
กำหนดน้อมพิจารณาต่อไป ว่าใจของเรานั้นมีความนอบน้อมเคารพ ในคุณแห่งพระรัตนตรัย คือคุณแห่ง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ จิตมีปัญญายอมรับตามความเป็นจริง ตามกฎของอริยสัจ พิจารณาปล่อย วางจากความเกาะเกี่ยว ความยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย พิจารณาว่าในความเป็นธาตุขันธ์ ขันธ์ 5 กายเนื้อนี้ ในที่สุดก็มี ความเสื่อม ความแตกสลายไปในที่สุด เมื่อร่างกายขันธ์ 5 นี้เสื่อมสลายไป พิจารณาดูในจิตในใจของเราตอนนี้ว่า เราน้อมยอมรับตามความเป็นจริงไหม จิตมีความหวั่นไหว จิตมีความทุกข์ จิตมีความเสียดาย มีความอาลัยเกาะยึด ดิ้นรนขัดขืนจากสภาวะความเป็นไปของขันธ์ 5 ที่มีความเสื่อม ความแตกสลาย ไปในที่สุดหรือไม่ กำหนดพิจารณา และรู้ในจิตของเราเอง จิตปล่อยวางจากความเกาะ ความยึดในร่างกาย อารมณ์ในการเจริญปัญญาตัดร่างกายนี้ คือการเจริญวิปัสสนาญาณ ยิ่งอารมณ์จิตตัดร่างกายได้มากเท่าไหร่ การแยกรูป แยกนาม แยกกาย แยกจิต ก็ยิ่งเกิดมีผลแห่งการปฏิบัติเพียงนั้น การแยกรูป แยกนามนั้น มีความสำคัญในการปฏิบัติธรรม เพราะ อารมณ์สภาวะของบุคคล บุคคลผู้เจริญพระกรรมฐาน หากจิตยังไม่สามารถตัดเยื่อใยความอาลัย มีความเกาะ มีความ ยึดในร่างกายในขันธ์ 5 มากเท่าไหร่ก็ตาม การปฏิบัติธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องของมรรคผลพระนิพพาน ก็ไม่ สามารถที่จะเข้าถึงความก้าวหน้าได้อย่างลึกซึ้งหรือสูงขึ้นไปได้ เพราะอารมณ์ความรู้สึกยังมีความเกาะ ความยึดใน ร่างกาย ในขันธ์ 5 อยู่อีกมาก ซึ่งจะแตกต่างจากบุคคลที่อารมณ์ใจนั้น น้อมยอมรับความเป็นจริงของอริยสัจ 4 ยอมรับ ความเป็นจริงของกฎไตรลักษณ์ คือกฎไตรลักษณ์นั้นแก่นสาระสำคัญอยู่ที่ ทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ดำเนินสอดคล้องเป็นวัฏจักรไม่มีที่สิ้นสุด หากเราไปเกาะ ไปยึด ไปหลง ไม่ยอมรับว่าทุกสิ่งนั้น เมื่อเกิดแล้ว ก็มีความ ดำเนินอยู่ มีความเสื่อม มีความแก่ มีความเจ็บป่วยเจ็บไข้ไม่สบาย แล้วก็มีความตายไปในที่สุด พิจารณาได้ดั่งนี้แล้ว อารมณ์ใจของเราก็น้อมยอมรับตามความเป็นจริง วางอารมณ์จิตของเราให้มีความผ่องใส เป็นเพชรประกายพรึกสว่าง กำหนดเห็นจิตของเราสว่าง จิตปล่อยวางความเกาะ ความยึดในร่างกาย ยิ่งตัดร่างกายได้มากเท่าไร ตัดขันธ์ 5 ตัดร่างกายได้ละเอียดมากเท่าไร กำลังของมโนมยิทธิหรือฤทธิ์ทางใจ ในการแยกกายเนื้อ กายทิพย์หรืออาทิสมานกายออกมา ก็ยิ่งมีความถูกต้อง มีความชัดเจนมากขึ้นกว่าบุคคลที่ตัดขันธ์ 5 ตัดร่างกายหรือเจริญวิปัสสนาญาณได้น้อย ส่วนความถูกต้องแม่นยำนั้น ขึ้นอยู่ว่าจิตของเราสะอาดจากกิเลสแค่ไหน จิตมีความตั้งมั่นในอุเบกขารมณ์มากแค่ไหน หากจิตเราตั้งมั่นในอุเบกขารมณ์สูง ไม่มีความกวัดแกว่งจากอคติ ความลำเอียง ความอยากได้ ใคร่มี ใคร่เป็น ความถูกต้องแม่นยำของญาณเครื่องรู้ หรือกำลังของมโนมยิทธิก็ยิ่งมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้นเพียงนั้น ประการ ต่อมา หากแม้นจิตของเรามีความนอบน้อมเคารพ มีความละเอียดต่อพระรัตนตรัย คือคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ กระแสกำลังพุทธคุณที่เป็นครึ่งกำลังคือกำลังของพระที่เมตตาสงเคราะห์เรา บารมีของเบื้องบนของ พระพุทธเจ้าที่สงเคราะห์เรา บารมีของเทพพรหมเทวาที่เมตตาสงเคราะห์เรา ก็จะมีกำลังที่สามารถช่วยเหลือดึงจิตเรา ไปยังภพต่างๆภูมิต่างๆ ดึงจิต ยกจิตของเราให้เกิดญาณเครื่องรู้ต่างๆปรากฏได้ชัดเจนมากกว่าบุคคลที่จิตมีความ หยาบกระด้าง ซึ่งจุดนี้จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ที่ว่าบุคคลทั้งหลายเมื่อมาเจริญพระกรรมฐานแล้วควรที่จะกราบขอขมา พระรัตนตรัยอย่างสม่ำเสมอ กราบขอขมาพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่เนืองๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จริงแล้ว ควรจะ กราบขอขมาพระรัตนตรัยทุกวัน ด้วยซ้ำ เมื่อเรารู้เมื่อเราทราบแล้ว เราพยายามฝึกฝน พยายามปรับจิต ปรับใจ ของเรา ให้ละเอียดอ่อนประณีต เหมาะสมกับการปฏิบัติธรรม ยิ่งจิตของเรามีความปราณีตมากเท่าไหร่ จิตเราย่อมสัมผัส ของละเอียดของทิพย์ได้มากกว่าบุคคลที่จิตยังมีความหยาบ ความนอบน้อมคืออารมณ์จิตสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ของความละเอียดประณีต ความกตัญญูรู้คุณก็เช่นกัน ยิ่งกตัญญูรู้คุณต่อพระรัตนตรัย ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ต่อพ่อแม่ ต่อครูบาอาจารย์ ต่อท่านผู้มีพระคุณมากเท่าไหร่ กระแสกำลังจิตของเรายิ่งมีความนอบน้อม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ท่านยิ่งเกื้อกูลช่วยเหลือสงเคราะห์ได้เต็มที่ เมื่อเราเข้าใจ เข้าถึงอารมณ์จิตที่สำคัญในการปฏิบัติแล้ว เราก็ทรงอารมณ์ จิตให้นอบน้อมอ่อนโยนต่อพระพุทธเจ้า
จากนั้นกำหนดจิต อธิษฐานน้อมนึกภาพองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า สว่างเป็นเพชรปรากฏชัดเจนอยู่ภาย ในจิต ในใจ อยู่เบื้องหน้าของเรา กำหนดว่าข้าพเจ้าปล่อยวางจากความเกาะ ความยึดในร่างกายขันธ์ 5 แล้ว จิต ข้าพเจ้าจดจ่อตั้งมั่น มีความผ่องใส จิตอันเป็นเพชรประกายพรึกนั้นคือกำลังของฌาน 4 ในกสิณ สมาธิของข้าพเจ้า มีความสว่าง มีความผ่องใสดีแล้ว ข้าพเจ้าขอกราบขอขมาพระรัตนตรัย คือคุณแห่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ เทพพรหมเทวา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พ่อแม่ ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ น้อมขอพุทธบารมี ขอเมตตายกอาทิสมานกายของข้าพเจ้า ขึ้นไปยังพระนิพพาน อยู่เบื้องหน้าสมเด็จองค์ปฐม พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระอรหันต์ทุกๆพระองค์ อันเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าที่ผ่านล่วงนานมาแล้ว ทุกพระองค์ ตราบจนพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนา ในยุคขององค์พระสมณโคดม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันด้วยเถิด ขออาทิสมานกายข้าพเจ้า ปรากฏความใส ความสว่าง ความผ่องใส กายพระวิสุทธิเทพ จงสว่างเต็มกำลังด้วยเถิด กำหนดน้อมทำความรู้สึกในความเป็นอาทิสมานกาย ดังที่เคยได้กล่าวแนะนำมาแล้ว ว่าความแตกต่างระหว่างทิพยจักขุญาณกับการได้มโนมยิทธินั้น มโนยิทธิจะมีอาการรู้สึกว่ากายของเรา คือกายพระวิสุทธิเทพ จิต กำลังของจิตที่ตัดกายตัดห่วง จิตจะปรากฏสภาวะรูปเป็นกายแห่งพระวิสุทธิเทพ แต่หากเป็นทิพยจักษุญาณก็เหมือนกับเราเห็นตัวเราอยู่บน พระนิพพานกำลังกราบพระ แต่กำลังขอมโนมยิทธิคือกายแก้ว อาทิสมานกาย กายพระวิสุทธิเทพของเรา เรารู้สึกว่า เรากำลังกราบแทบพระบาทของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ กราบแทบเท้าครูบาอาจารย์ อยู่บนพระนิพพาน ความรู้สึกของเราให้น้อมตามนะ ความรู้สึกของเราสัมผัสได้ถึง มือของกายเรา ที่มีเครื่องประดับ มีธำมรงค์คือแหวน อยู่ในแต่ละนิ้ว กำไลที่ประดับอยู่ทั้งสองข้างของข้อมือ ชุดที่เราสวมสวมใส่ที่เป็นแก้ว ชฎาหรือยอดมงกุฎที่เราสวมใส่ ผิวที่เรียบใสเป็นแก้ว ความรู้สึกของเราชัดเจนทุกสิ่งทุกอย่าง บรรจงกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ทุกท่านอยู่บน พระนิพพาน ในมวลหมู่ที่ท่านปรากฏขึ้นนี้บนพระนิพพาน เรียกสรุปโดยย่อว่ามหาสมาคม สมเด็จองค์ปฐมทรงเสด็จ เป็นประธาน อยู่ท่ามกลางมหาสมาคมบนพระนิพพาน กำหนดน้อมจิตกราบ ตัวเราอยู่ท่ามกลางทุกท่านทุกพระองค์
จากนั้นกำหนดจิต เห็นกายพระวิสุทธิเทพของเรา อธิษฐานนั่งขัดสมาธิ มีรัตนบัลลังก์ดอกบัวแก้วคือดอกบัวที่ เป็นแก้วเป็นเหมือนอาสนะรองรับ กายทิพย์เราขัดสมาธิ มือประสานอยู่ที่ตัก กำหนดจิตอธิษฐาน เจริญพระกรรมฐาน จำไว้ว่าทุกครั้งที่ขึ้นมาบนพระนิพพาน สิ่งแรกสิ่งสำคัญคือกราบทุกท่านทุกพระองค์ ฝึกแยกอาทิสมานกาย กราบทุกท่าน ด้วยความนอบน้อม ด้วยความอ่อนโยน ด้วยความเคารพ จากนั้นจึงกำหนดจิตหรือปฏิบัติ ตั้งจิตว่าเราขึ้นมาปฏิบัติอยู่บนพระนิพพาน ท่ามกลางทุกท่าน ทุกพระองค์ อารมณ์จิตแรกก็คือพึ่งพิจารณาในอารมณ์ แห่งพระนิพพาน อารมณ์แห่งพระนิพพานคือการที่เราทบทวนจิต ว่าจิตเรายังมีความห่วงในขันธ์ 5 ร่างกายกายเนื้อไหม ยังมีความห่วงในกิจการงานทั้งหลายที่กระทำคั่งค้างไหม ยังมีความห่วงในบุคคลทั้งหลายอันเป็นที่รักผูกพันพ่อแม่ พี่น้อง บุตร ภรรยา สามีทั้งหลาย จิตเรายังมีความเกาะ ความห่วงไหม พิจารณาต่อไปว่าหากเราตายไปในขณะจิตนี้ และเราเข้าถึงซึ่งพระนิพพานเลย จิตเราน้อมยอมรับมีความห่วง มีความอาลัยไหม
จากนั้นพิจารณาต่อไปในความเป็นภพภูมิของสังสารวัฏทั้งหลาย ภพภูมิทั้งปวงคือการเวียนว่ายตายเกิด ไม่ว่า การจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็ดี การไปเสวยผลบุญที่สวรรค์หรือพรหมก็ดี จิตเรายังมีความยินดีไหม ตรงจุดนี้คือจุดที่ เมื่อปฏิบัติธรรม จนการปฏิบัติก้าวสู่มรรคผล ท่านถึงสอนในคำสอนในระดับสูงที่ว่าหากจะไปพระนิพพาน ก็ต้องตัด ต้องทิ้ง ทั้งดี ทั้งชั่ว คือความดีที่ทำให้เราไปจุติยังสวรรค์ อานิสงส์ที่ทำให้เราไปจุติเป็นเทพบุตร นางฟ้า เทพธิดา เราก็ไม่เอา ให้ไปจุติเป็นพรหม มหาพรหม มีวิมานอยู่บนพรหม มีอายุขัยแห่งความเป็นทิพย์ยาวนานมากมายมหาศาล หลายแสนหลายหมื่นอสงไขยกัป เรียกว่าหลายล้านล้านปี อยู่นานจนพระพุทธเจ้าปรากฏเสด็จมาปรากฏหลายพระองค์ ในหลายพุทธันดร บุญก็ยังมีอยู่ ความดีหรือกุศลตรงนี้เราก็ต้องไม่เอา เพราะกุศลหรือความดีที่ยังเกี่ยว เนื่องอยู่กับ การเกิด การเวียนว่ายตายเกิด ยังต้องเกิด ต้องดับอยู่ในสังสารวัฏ เราไม่เอา เราต้องการจุดเดียวคือ พระนิพพาน เป็นที่สุด กำหนดพิจารณาน้อมนึกไว้ จิตของเราทรงสภาวะความเป็นกายพระวิสุทธิเทพอยู่บนพระนิพพาน จิตเรา ตัดความเกาะ ความยึดในภพภูมิทั้งปวง อารมณ์แห่งความสิ้นภพจบกิจ มีอารมณ์เช่นไร เราก็ฝึกที่ทรงอารมณ์นี้ อยู่บนพระนิพพาน พิจารณาตัดสังโยชน์ 10 เครื่องร้อยรัด เครื่องล่อใจ เครื่องดึงดูด โซ่ที่ล่ามเราไว้กับภพภูมิต่างๆ เบญจกามคุณ 5 เป็นเครื่องล่ามเราไว้อยู่กับความเป็นมนุษย์ ความสุขทั้งรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส รวมไปถึง กามาวจรสวรรค์ กำหนดจิต ละ วาง ความพยาบาทเป็นเครื่องล่ามเราไว้ กับบุคคลที่เราอาฆาตแค้นเกลียดชัง เราก็ตัดสังโยชน์นี้ออกไปให้หมด ความรัก ความอาลัยในสัญญาที่มีต่อกันในความรักระหว่างเพศ เป็นเครื่องล่ามเราไว้กับคนรัก ก็ไม่แตกต่างกับความพยาบาท ความรัก ดูดดื่ม ดึงดูดให้มาเกิดมาพบ มาเจอฉันใด ความพยาบาทก็ดึงดูดให้คนที่ชังกัน เกลียดกัน อาฆาตแค้นปรารถนาการแก้แค้นต่อกัน ดึงดูดมาพบกันฉันนั้น รวมความเอาว่าสายโยงใยทั้งรัก ทั้งเกลียด สายโยงใยทั้งโกรธ ทั้งชังก็ล้วนแต่เป็นเครื่องลวง หลอกล่อให้เราผูกติดอยู่กับการเวียนว่ายตายเกิดทั้งนั้น
เมื่อเราคิดพิจารณาแล้ว จิตเราก็ตัดสังโยชน์เหล่านี้ออกไปจากจิตใจของเรา รูปราคะ อรูปราคะ ความติด ความยึดอยู่กับ ความสุขของฌาน ของความเป็นพรหม ความยึด ความติด หรือความหลง ว่าความว่างอรูปฌาน คือที่สุดแห่งทุกข์ หลงสำคัญผิดว่า ความว่างคือพระนิพพาน อารมณ์จิตเช่นนี้ก็ไม่มีในจิตของเรา กับดักของการปฏิบัติธรรมนั้น มีอยู่หลายจุด กับดักสุดท้ายของการเข้าถึงพระนิพพานก็คือ เมื่อสำคัญผิดว่าพระนิพพานเป็นความว่าง สุดท้ายแล้วก็ไป ติดยังอรูปพรหม ใช้บุญกุศลจนหมด สุดท้ายคือต้องกลับมาเริ่มต้นจากศูนย์ใหม่ ดังนั้นเราจึงมีปัญญาหยั่งรู้ว่าจิตเรา อาศัยกำลังแห่งอรูปฌาน เป็นกำลังเพื่อยกจิตขึ้นสู่พระนิพพาน แต่เรารู้แล้วว่าความว่างนั้นไม่ใช่พระนิพพาน อารมณ์ แห่งพระนิพพานคืออารมณ์ที่ว่างจากสังโยชน์เครื่องร้อยรัดเราไว้กับภพภูมิต่างๆ พระนิพพานเป็นความว่างจาก ความโลภ ความโกรธ ความหลงทั้งปวง พระนิพพานเป็นความว่างจาก ความอาลัย อาวรณ์ในทุกสิ่งทุกอย่าง จิตเราพิจารณาในอารมณ์พระนิพพาน เมื่อพิจารณาละ วาง ตัดภพภูมิ ตัดสังโยชน์จนหมดสิ้นแล้ว ก็ต้องพิจารณาอารมณ์ สุดท้ายของอารมณ์พระนิพพานคือ เมื่อทุกช์ถูกดับ ถูกละไปจนหมด เมื่อจิตเข้าถึงวิมุติความหลุดพ้นสูงสุด คือ หลุดพ้นจากกำลังอำนาจแห่งกิเลสทั้งหลาย หลุดพ้นจากกำลังอำนาจแห่งสังโยชน์ทั้งหลาย หลุดพ้นจากอำนาจแห่ง การเวียนว่ายตายเกิดทั้งหลาย อารมณ์แห่งวิมุติคืออารมณ์แห่งจิตที่หลุดพ้น อารมณ์จิตที่หลุดพ้นนั้น พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า นิพพานัง ปรมัง สุขขัง พระนิพพานนั้นเป็นสุขอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาตัดสังโยชน์ ตัดภพภูมิจนหมด อารมณ์จิตเราต้องเข้าถึงกำลังแห่งอุปมานุสติ คืออารมณ์พระนิพพานให้เต็มกำลังกำหนดจิตให้ผ่องใสที่สุด เป็นสุขที่สุด สว่างที่สุด จิตแนบยินดีเป็นหนึ่งเดียวกับพระนิพพานอย่างยิ่ง ทรงอารมณ์นี้ไว้ นิพพานัง ปรมัง สุขขัง อาทิสมานกาย สว่างผ่องใส จิตเป็นสุข จิตเบิกบาน จิตเข้าถึงความวิมุติสุข เสวยวิมุติสุขในอารมณ์กรรมฐาน ในการบริกรรมนิพพานัง ปรมัง สุขขัง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง เสวยอารมณ์แห่งวิมุติสุขนี้ ประคับประคองอารมณ์นี้ไว้ ปล่อยวางจากเรื่องราวทุกอย่าง จิตทรงอารมณ์แห่งความสุข ยิ่งอารมณ์จิตสว่างกายทิพย์ กายพระวิสุทธิเทพยิ่งสว่างเจิดจ้า
การปฏิบัติธรรมทั้งหมด ภาพนิมิต อารมณ์กรรมฐาน ความสว่าง ความผ่องใสของจิต สัมพันธ์เชื่อมโยง กันทั้งหมด เราเข้าถึงการปฏิบัติอย่างแท้จริง กายพระวิสุทธิเทพสว่างเป็นเพชรระยิบระยับ อารมณ์จิตเป็นสุขอย่างยิ่ง เข้าถึงอารมณ์พระนิพพาน ความห่วง ความกังวล ทั้งหลายสลายไปสิ้นจากใจ จิตสว่าง ทรงอารมณ์ไว้ ทรงอารมณ์พระนิพพาน อารมณ์แห่งความสุขเสวยวิมุติในอารมณ์พระนิพพาน จิตยิ่งทรงอารมณ์บนพระนิพพาน นานเท่าไหร่ อารมณ์จิตเรายิ่งห่างหายจากกิเลสยาวนานมากเพียงนั้น จิตยิ่งทรงฌานเป็นหนึ่งเดียวอยู่กับพระนิพพาน มีความตั้งมั่นมั่นคงอยู่กับพระนิพพานยิ่งยาวนานมั่นคงเพียงนั้นด้วยเช่นกัน และในทุกวินาที ทุกนาทีแห่งการทรง อารมณ์พระนิพพาน กระแสแห่งพระนิพพานก็ยังถ่ายทอดไหลเวียนลงมาสู่กายเนื้อธาตุขันธ์ กายเนื้อธาตุขันธ์ก็ถูกฟอก ด้วยธาตุธรรม ธรรมธาตุ อารมณ์บริสุทธิ์ของพระนิพพาน กระดูกก็ใส อวัยวะก็ใส อาการทั้ง 32 ก็ใส
กำหนดพิจารณาเล็งญาณลงมายังกายเนื้อ เห็นกายเนื้ออยู่เบื้องล่างบนโลกมนุษย์ ผม ขน เล็บ ฟัน หนังใสเป็นแก้วสว่าง ฟอกธาตุธรรม ชำระล้างกายหยาบ จากโรคภัยไข้เจ็บ จากมลทิน จากเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง กระดูกใสเป็นแก้ว เส้นเอ็นใสเป็นแก้ว หลอดเลือด ตา หู จมูก ลิ้น สมอง กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ผังผืด กล้ามเนื้อทุกส่วนทั่วร่างกาย ถุงน้ำดี ตับ ไต อาการทั้ง 32 สว่างใส กระแสจากพระนิพพานชำระล้างฟอกธาตุขันธ์ โรคภัยไข้เจ็บ เชื้อโรค ความเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่สบายทั้งหลาย สลายตัวไป ปอด กระแสแห่งพระนิพพานชำระล้างปอด จากเชื้อโรค เชื้อไวรัส สะอาดใส หลอดเลือดทั่วร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือด ใหญ่ หลอดเลือดเล็ก หลอดเลือดฝอยทั่วร่างกาย กระแสแห่งพระนิพพานชำระล้างทะลุทะลวง หลอดเลือดทั่วร่างกาย เปิดไหลเวียน กระแสแห่งพระนิพพานชำระล้าง ฟอกธาตุขันธ์เยียวยา ก่อเกิดธรรมโอสถ ตอนนี้ใครที่ป่วยไข้ไม่สบาย โรคภัยไข้เจ็บอะไร
เรื่องไหนก็ให้ตั้งจิตอธิษฐาน ขอกระแสแห่งพระนิพพานชำระล้างฟอกธาตุขันธ์ ปรากฏกลั่นเป็นธรรมโอสถ รักษาเยียวยา โรคภัยไข้เจ็บของข้าพเจ้า ด้วยกำลังแห่งพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ กำลัง แห่งครูบาอาจารย์ มาประสิทธิ์ประสาท เทพพรหมเทวามาประสิทธิ กำหนดนะ ตอนนี้ให้เราแต่ละคนอธิษฐานเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ แล้วก็กำหนดกลั่นกระแส น้อมกระแสจากพระนิพพานลงมาชำระล้างฟอกร่างกายธาตุขันธ์ ทั่วร่างโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณที่เจ็บไข้ได้ป่วยของแต่ละคน สำหรับท่านใดที่รู้สึกว่าสูงอายุ กำลังถดถอยลงไปมาก ก็น้อมจิตขอกระแสแห่งพระนิพพาน จงปรากฏลงมาเป็นพลังชีวิต กระแสพลัง เสริมเพิ่มพลังชีวิต ไหลเวียนลงมาสู่ไต กำหนดจิตของแต่ละคนนะ กำหนดใจของเราให้สว่างใสไว้ ใจสบายๆ กระแสจากพระนิพพานไหลเวียนลงมา ฟอกร่างกายธาตุขันธ์ ขันธ์ 5 ปรากฏกระแสเป็นพลังคุ้มครองปกป้องเราจากโรคภัยไข้เจ็บ โรคระบาดและผลกระทบ Side effect ต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งปวง
จากนั้นเรากำหนดนะกำหนดต่อไป น้อมจิตของเรา กราบขอบคุณกระแสจากพระนิพพาน น้อมขอบคุณบารมีของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ เทพพรหมเทวา ครูบาอาจารย์ ทั้งหลายที่ประสิทธิ์ประสาท กำหนดจิตจดจ่ออยู่กับกายพระวิสุทธิเทพบนพระนิพพานต่อไป ตั้งใจว่าในช่วงนี้เป็นการปฏิบัติในช่วงการเข้าพรรษา เราตั้งใจว่าจะปฏิบัติเข้มข้นเพิ่มขึ้น กำหนดใจของเราว่า เราจะอธิษฐานการปฏิบัติที่เข้มขึ้นตามกำลังใจของแต่ละบุคคล
1. พยายามรักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์
2. กำลังใจของเราในการให้ทาน ทำความดีให้เป็นปรกติทุกวัน อย่างน้อยที่สุดก็หยอดเหรียญรวมรวบทำบุญ
หยอดทุกวัน เป็นทานบารมี เป็นนิจทุกวัน จะมาก จะน้อยก็หยอดไป ทำไป หรือมีโอกาสที่ทำได้มากกว่า
ก็ทำไปตามกำลัง
3.กำหนดจิตที่จะยกจิตขึ้นไปบนพระนิพพานทุกวัน
ยิ่งการกำหนดจิตของเรายกขึ้นไปกราบบ่อยครั้งมากครั้ง ตามอุบายที่เราจะหาเรื่องที่จะขึ้นไปกราบพระ ยิ่ง บ่อยครั้งยิ่งดี ให้เราเอาเยี่ยงอย่างของพระอานนท์ที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสสอน ตรัสถามพระอานนท์ว่า ดูกร อานันทะ เธอพิจารณาความตายวันละกี่ครั้ง พระอานนท์ตอบว่า 7 ครั้ง พระพุทธองค์ท่านตรัสตอบว่า น้อยไป ตถาคตคิดถึง ความตายตลอดเวลาทุกลมหายใจ แต่ในทั้งนี้ทั้งนั้น อันที่จริงแล้ว จำไว้อย่างว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เราคิดถึงความตาย หรือมรณานุสติ สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อมาก็คือ ในเมื่อเราคิดถึงความตาย และความตายมันยังไม่จบ ตายแล้วมันยังเกิด เกิดแล้วมันก็ตาย เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร ดังนั้นสำหรับเรา ผู้ที่เป็นผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติ การนึกถึงความตายของเรา คือนึกถึงว่าตายเมื่อไหร่ เราจะมาอยู่บนพระนิพพาน เราจะไม่เกิดอีกต่อไป ดังนั้นจงผูกมรณานุสติหรือการนึกถึง ความตายพ่วงไว้กับพระนิพพานตลอดเวลา จนเป็นหนึ่งเดียวกัน ตายเมื่อไหร่ไปนิพพาน จิตไม่มีความลังเล สงสัยว่าจะมาพระนิพพานได้ไม่ได้ ไม่มีในจิตเรา ความลังเลสงสัยว่าหรือเราจะไปเป็นเทวดาก่อนดี หรือเราจะมาเกิดต่อ อีกสัก 3 ชาติ 4 ชาติ 7 ชาติดี ไม่มีในจิตของเรา ตายเมื่อไหร่ เด็ดเดี่ยวไปพระนิพพานจุดเดียว อารมณ์จิตของเรา ต้องปฏิบัติให้ได้เช่นนี้ ดังนั้นจำไว้ว่าเมื่อนึกถึงความตายจงควบเป็นหนึ่งเดียวไว้เสมอว่าตายเมื่อไหร่ เราไปพระนิพพาน คติที่ไปของเรามีเพียงพระนิพพานจุดเดียว
เมื่ออารมณ์จิตของเรา มีความเข้มข้นในการปฏิบัติ ในช่วงเข้าพรรษาแล้ว เราก็ควรจะหมั่นทบทวนกรรมฐาน ต่างๆที่เคยฝึกเคยปฏิบัติมา เช่น เวลาที่เข้าสมาธิ พยายามที่จะน้อมจิต พิจารณาเสมอว่า ธรรมะหรือความดีที่เราเคยได้ ที่เราเคยปฏิบัติมาได้ในกาลก่อน ตอนที่เราทรงฌานได้ดีที่สุด ตอนเราที่ทรงอารมณ์จิตใจดีที่สุด ในญาณที่ปฏิบัติแล้ว เกิดปีติ การปฏิบัติที่ปฏิบัติแล้ว เกิดปรากฏการณ์พิเศษ เช่น รู้สึกว่าร่างกายมันระเบิดแตกออกมา จิตสว่าง ระเบิดสว่าง เกิดความสุข เอิบอิ่มอย่างยิ่งในจิต อารมณ์ต่างๆอย่างนี้ เราต้องทบทวนดูว่า ทำไมตอนนั้นเรานั่งยังไงพิจารณาอย่างไร เราปฏิบัตินั้นได้เพราะอะไร พยายามคิดใคร่ครวญ อย่าคิดสั้นๆตื้นๆว่าเราเคยได้ เคยได้อย่างนั้นอย่างนี้แล้วจบ จงพิจารณาต่อว่า แล้วตอนนั้นที่มันได้เพราะเราวางอารมณ์ยังไง อารมณ์จิตเป็นยังไง ทรงจิตยังไง เดินจิตยังไง พิจารณาวิปัสสนาญาณยังไง หรือสงบแบบไหน ปล่อยวางแบบไหน ผลลัพธ์ในการปฏิบัตินั้นจึงเกิดขึ้น หรือการปฏิบัติที่ ปฏิบัติได้ดี ฟังอาจารย์สอนรอบที่ 2 หรือฟังเสียงครูบาอาจารย์ ท่านใดก็ตาม และเกิดผลดีอย่างยิ่ง ดีอย่างยิ่งคือเกิด ปรากฏการณ์พิเศษของจิต อารมณ์ต่างๆ เหล่านั้นเราต้องกลับไปพิจารณาว่า จิตเราถูกอัธยาศัยกับคำสอนในช่วงนั้น ชุดนั้น ก็ลองดึงกลับมาฟังซ้ำ มาฝึกซ้ำ มาปฏิบัติธรรมซ้ำ เพื่อที่ตัวเราจะได้กลับเข้าสู่อารมณ์นั้นได้ จนกระทั่งชิน
จำไว้ เสมอว่าคำว่าฌานนั้นแปลว่าชิน ชินการที่เราจะชินได้ก็คือ ต้องทำซ้ำแล้วซ้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกระทั่งจิตเราเข้าถึง การที่เราปฏิบัติได้ทันทีเป็นอัตโนมัติ นั่นก็คือวสี นั่นก็คือความชำนาญ นั่นก็คือการที่เราสามารถทรงฌาน ทรงอารมณ์ ได้อย่างง่ายดายรวดเร็วเพียงแค่ลัดนิ้วมือเดียว จำไว้ว่า การปฏิบัติจุดหนึ่งสามารถส่งต่อเชื่อมโยงกับการปฏิบัติในจุด ต่อๆไปได้ ดังที่บอกไว้ เมื่อเราเข้าฌาน 4 ในอานาปานสติได้อย่างรวดเร็ว หยุดจิต นิ่งลมดับได้อย่างรวดเร็วเพียงแค่ลัดนิ้วมือเดียวได้ เมื่อเราทำได้เช่นนั้นเราก็สามารถที่จะฝึกทรงกสิณจิต ให้จิตเข้าถึงปฏิภาคนิมิตคือ ฌาน 4 ของกสิณ ได้อย่างง่ายดาย รวดเร็วเพียงแค่ลัดนิ้วมือเดียว และในเมื่อได้กสิณ 1 กองไปแล้ว กสิณดินก็ดี กสิณไฟหรือกสิณน้ำก็ดี ได้ไป 1 กอง อารมณ์จิตของกสิณนั้น ทั้ง 10 กองมีอารมณ์เหมือนกัน คือนึกภาพกสิณต้น คือจะเป็นธาตุดินก็ดี น้ำก็ดี ลมก็ดี ไฟก็ดี สีสันวรรณะต่างๆก็ดี อารมณ์กสิณต้นคือนึกภาพ ภาพกสิณนั้น
จากนั้นก็กำหนดเป็นแก้วใสก็คืออุคหนิมิต จากอุคหนิมิตก็กำหนดน้อมนึก เป็นปฏิภาคนิมิต ดังนั้นเมื่อได้ 1 กอง ฝึกต่อไปอีกนิดเดียว ก็ได้ครบทั้ง 10 กอง ในเมื่อ ได้ครบทั้ง 10 กองก็ฝึกต่อไปว่า เราเคยได้แล้ว เราเป็นผู้รักษาเป็นผู้ทรงสมาบัติ ไม่ใช่ว่าเป็นคนเคยได้ เคยได้ก็คือมันกระพร่องกระแพร่งได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ติดๆดับๆตกๆหล่นๆ ไม่มีความเสถียร ไม่มีความมั่นคง ไม่มีความตั้งมั่น ไม่มี สภาวะที่เรียกว่ากำหนดได้ดั่งใจนึก ซึ่งการกำหนดได้ดั่งใจนึกนั้น มันเป็นอารมณ์ของอภิญญาใหญ่ หากเรากำหนดปุ๊บ ภาพปฏิภาคนิมิตปรากฏทันทีทันใด จิตผ่องใสเข้าถึงอารมณ์เต็มอัตรา ทำได้ง่ายดายเพียงแค่ลัดนิ้วมือเดียว นั่นก็คือเรา ทรงสมาบัติอย่างแท้จริง แล้วก็ในเมื่อเราทรงกสิณเป็นเพชรประกายพรึกได้อย่างรวดเร็วมั่นคงอารมณ์เต็ม ได้อย่างง่าย ดายเพียงแค่ลัดนิ้วมือเดียว เราจะปฏิบัติต่อไปให้เห็นภาพองค์พระเป็นเพชรประกายพรึก คือพุทธนิมิตเต็มกำลังได้ไหม กำหนดน้อมนึกภาพพุทธนิมิตเป็นเพชรสว่างเป็นประกายพรึกเต็มกำลัง กำหนดเมื่อไหร่เห็นเมื่อนั้น ทรงอารมณ์เมื่อนั้น จิตถึงพระพุทธเจ้าเมื่อนั้นได้ไหม
ดังนั้นรวมความแล้วว่า เมื่อจิตมีปัญญาความฉลาดในการปฏิบัติ พบเจอครูบาอาจารย์ที่แนะนำสั่งสอน จิตเกิด ปัญญาเห็นจริงตามการปฏิบัติ การปฏิบัติของเราก็สามารถที่จะก้าวหน้ารวดเร็วรุดหน้าได้อย่างง่ายดาย การที่จะ ทรงฌานก็คือการฝึกซ้ำแล้วซ้ำอีกจนเป็นวสี จนเกิดความเคยชิน จนเกิดความคล่องตัว จนสามารถทำได้โดย ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีข้ออ้าง ทำได้ทันทีทันใดทันใจ อันนี้ก็คือวิสัยของผู้ทรงฌาน ทรงอภิญญาใหญ่ แล้วก็จำไว้ว่าในเมื่อมี มโนมยิทธิเต็มกำลัง เราก็คิดพิจารณาต่อ ในเมื่อมโนมยิทธิเต็มกำลัง ทำยังไงที่เราจะปฏิบัติกรรมฐานเต็มกำลังให้ได้ทุกกอง ทำยังไงจิตถึงจะทรงอารมณ์สงบนิ่งที่สุด ผ่องใสที่สุด สว่างที่สุดได้เสมอ
เมื่อกำหนดพิจารณาคิดทบทวน ในพรรษานี้ เราก็ตั้งใจ ตั้งกำลังใจ
- เข้าฌาน 4 แค่ลัดนิ้วมือเดียว คือเข้าฌาน 4 อย่างรวดเร็วฉับพลัน เอามันให้ได้ตั้งแต่ฌาน 4 ใน อานาปานสติกรรมฐาน ฌาน 4 ในกสิณทั้ง 10 ฌาน 4 ในกำลังแห่งการกำหนดภาพพุทธนิมิต ไล่ยันไปจนถึง สามารถยกจิตขึ้นสู่พระนิพพานได้อย่างรวดเร็วแค่ลัดนิ้วมือเดียว
- ตัดร่างกายเพียงแค่ปล่อยวางผ่อนคลายร่างกาย ก็คือตัดร่างกายได้ อย่างรวดเร็วเพียงแค่ลัดนิ้วมือ เดียว ตัดเรื่องรกเรื่องกังวลในจิตได้อย่างรวดเร็วเพียงแค่ลัดนิ้วมือเดียว ตรงนี้ถ้าตั้งใจก็ทำได้
- กำลังใจต่อมาที่ควรฝึกควรปฏิบัติต่อ ในเรื่องของการเจริญพระกรรมฐานทั้งหมด กำหนดมาพิจารณา ว่าจะฝึกให้เต็มกำลังมันทุกอย่างทำยังไง ทำยังไงจะให้ดีที่สุด ปล่อยวางยังไงให้มันปล่อยวางได้ดี ที่สุดมากที่สุด ทรงอารมณ์เช่นใด ทรงอารมณ์กสิณเช่นใดจึงจะครบถ้วนเต็มกำลังที่สุด ทรงอารมณ์ ที่จะยกจิตขึ้นบนพระนิพพาน ทรงอารมณ์กำลังของมโนมยิทธิอย่างไรให้มันเต็มกำลังที่สุด สรุปว่า เมื่อตั้งใจจะเจริญพระกรรมฐานแล้ว จะทำให้ดีที่สุดเสมอ คือเต็มกำลัง ผ่องใสที่สุด สว่างที่สุด
ดังนั้นเราก็จะเป็นผู้ที่ปฏิบัติ โดยการกำหนดความสำคัญมั่นหมายอยู่ที่คุณภาพของจิต คุณภาพของจิต ทั้งความไว ทั้งความชัดเจน ทั้งกำลังฌาน กำลังจิต ทั้งกำลังวิปัสสนาญาณเต็มกำลังตลอด หากเราปฏิบัติด้วย กำลังใจเช่นนี้ สิ่งที่เพิ่มพูนขึ้นมาปรากฏนั่นก็คือบารมี เพราะคำว่าบารมีนั้นแปลว่ากำลังใจ ในเมื่อกำลังใจเราเต็มแล้ว กรรมฐานทุกกอง เราก็สามารถฝึกให้เต็มกำลังได้เช่นกัน จิตจงตื่นขึ้นสู่บารมีอันเต็มเป็นปรมัติ เต็มกำลังทุกคน เปี่ยมพลังแห่งการปฏิบัติ เปี่ยมพละปัญญา พละศรัทธา วิริยาปรากฏ กำหนดเห็นอาทิสมานกาย กายพระวิสุทธิเทพ เราสว่างเจิดจ้าอย่างยิ่ง ผ่องใสอย่างยิ่ง มีกำลังจิตกำลังใจแห่งการปฏิบัติอย่างยิ่ง ตั้งใจว่านับแต่นี้ทุกครั้งที่เจริญ พระกรรมฐาน กายเนื้อเราอยู่ที่วัดวาอารามใดก็ตาม สถานปฏิบัติธรรมใดก็ตาม หรือจะอยู่ในบ้านเรือนของเรา สถานที่ ใดก็ตาม จิตเรายกขึ้นมาปฏิบัติบนพระนิพพาน
รวมความว่ากายอยู่สถานที่ทุกแห่ง แต่จิตอยู่ในพระนิพพานอยู่บน พระนิพพาน เป็นสัปปายะสถานสูงสุดแห่งการปฏิบัติธรรม อยู่เบื้องหน้าพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ทุกๆพระองค์ สิ่งใดที่ติดในจิต ก็ขอให้ญาณพุทธบารมีปรากฏความผุดรู้ขึ้นมาในจิต เมื่อจิตเกิดความผุดรู้ในกระแสธรรม ในกระแส แห่งญาณเครื่องรู้ของพระพุทธองค์ ผ่านมายังจิตเรามากขึ้นบ่อยขึ้น จนจิตเราเกิดความชินในการเชื่อมกระแส ญาณผุดรู้ปรากฏเป็นปกติทุกขณะ ไม่มีความล่าช้า ไม่มีความผิด บิดเบือนฟั่นเฝือไป เมื่อนั้นญาณที่เป็นเครื่องรู้ในธรรมทั้งปวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังที่แท้จริงของปฏิสัมภิทาญาณก็เริ่มปรากฏ คำว่าไม่รู้ ไม่มีในจิตของเรา เพราะญาณเครื่องรู้ที่พระพุทธองค์ ผู้ทรงเป็นสัพพัญญูญาณ ถ่ายทอดโดยตรงลงสู่จิตของเรา เมื่อนั้น สิ่งใดที่กำหนดรู้ ก็รู้ สิ่งใดที่ควรเห็นก็เห็น สิ่งใดที่ควรรู้แจ้ง ก็รู้แจ้งแทงตลอด ความเข้าใจในธรรมก็มีความลึกซึ้งละเอียดขึ้นตามลำดับ อันนี้ก็คือญาณคือ มรรควิถีของผู้ที่ทรงอารมณ์ใจ ทรงกำลังพระกรรมฐานสูง ให้เราน้อมจิตต่อไป ทรงอารมณ์พระนิพพานสว่างที่สุด กำหนดน้อมจิตว่าที่อาจารย์สอนทั้งหมด เราขอน้อมนำไปปฏิบัติ จุดสำคัญคือน้อมนำไปปฏิบัติจนเกิดผลเชิงประจักษ์ เป็นปัจจัตตังกระจ่างแจ้งสู่จิตสู่ใจของเรา เห็นธรรมปรากฏขึ้นโดยอัศจรรย์ ความเป็นทิพย์ปรากฏขึ้นในจิต ตั้งใจโดย เฉพาะอย่างยิ่งพรรษานี้ ให้การปฏิบัติของเราแต่ละคนมีความก้าวหน้าอัศจรรย์กันทุกคน
จากนั้นให้เราทุกคนน้อมจิตนะ กายพระวิสุทธิเทพบนพระนิพพานแผ่เมตตาลงมายังสังสารวัฏทั้งหลาย น้อม กระแสบุญจากพระนิพพาน น้อมเชื่อมกระแสจากพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ทุกพระองค์บน พระนิพพาน บุญกุศลทั้งหลายของท่าน น้อมนำผ่านจิตของเราลงมายังอรูปพรหมทั้ง 4 ชั้น พรหมโลกทั้ง 16 ชั้น สวรรค์ทั้ง 6 ภพของรุกขเทวดาทั่วอนันตจักรวาล ภพของภูมิเทวดาทั่วอนันตจักรวาล กระแสบุญจงถึงมนุษย์และสัตว์ ที่มีกายหยาบ กายเนื้อทั้งหลายทั่วจักรวาล กระแสบุญจงน้อมลงมาถึงโอปปาติกะ สัมภเวสีทั้งหลาย ดวงจิตของเปรต อสุรกายทั้งหลายทุกดวงจิต ขอบุญจงปรากฏ ขอความสุขความเจริญจงปรากฏ ขอกระแสมรรคผล พระนิพพานจง ปรากฏกระจ่างในใจ ขอกระแสแห่งศีล ขอกระแสแห่งธรรม ขอกระแสแห่งความดี จงปรากฏในทุกดวงจิต บุญกุศลจงแผ่ลงไปถึงนรกภูมิทุกขุม ตั้งใจว่าตลอดพรรษา การปฏิบัติพระกรรมฐานของเรา ขอจงเกิดความก้าวหน้าอัศจรรย์ เป็นปัจจัตตัง ประจักษ์แจ้งกระจ่างยังจิต อธิษฐานจงเกิดความสว่าง
จากนั้น น้อมจิตกราบทุกท่านทุกพระองค์บนพระนิพพาน ตั้งจิตโมทนาสาธุกับกัลยาณมิตรที่ปฏิบัติธรรม ร่วมกันทุกคนในวันนี้ โมทนาสาธุกันทุกกุศลทุกความดีที่ทุกรูปทุกนามสร้างกุศล สร้างพระพุทธรูป ปิดทองพระพุทธรูป บูรณะพระพุทธรูป ถวายยกยอดฉัตรพระธาตุทองคำ ทุกการเจริญพระกรรมฐาน ทุกมรรคผลที่ปรากฏ ทุกความดี ทุกกุศลของสรรพสัตว์ เราน้อมโมทนาสาธุ ขอจิตข้าพเจ้ายิ่งเจริญรุ่งเรืองขึ้น ชีวิตข้าพเจ้าเจริญรุ่งเรืองขึ้น อธิษฐานหลังกรรมฐาน เปิดสายบุญ สายทรัพย์ สายสมบัติในความเป็นมนุษย์ของข้าพเจ้า รวยชาตินี้นิพพานชาตินี้ บุญจงส่งผล ให้เกิดความคล่องตัว ทรัพย์สินเงินทอง สายบุญ สายทรัพย์ สายสมบัติ จงหลั่งไหลเนืองนอง มาสู่ชีวิตความเป็น มนุษย์ของข้าพเจ้า ไว้สร้างบุญ สร้างบารมี สร้างความดี และยังประโยชน์ต่อชีวิตครอบครัว พ่อแม่ ท่านผู้มีพระคุณ จากนั้นกำหนดจิตสงบนิ่งผ่องใส ทรงความเป็นอาทิสมานกาย จากนั้นตั้งจิตอธิษฐาน การเจริญจิต อธิษฐานในขณะที่ เราเจริญพระกรรมฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทรงกำลังสูงคืออารมณ์พระนิพพานแล้ว แรงอธิษฐานนั้น ก็มีกำลังแห่ง จิตอานุภาพ มีกำลังแห่งความสำเร็จ มีกำลังที่พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เทพพรหมเทวาสงเคราะห์ กำหนดจิตนิ่งสงบผ่องใสอธิษฐานในสภาวะแห่งการเป็นพระวิสุทธิเทพจิตสว่างที่สุด ผ่องใสที่สุด
จากนั้นตั้งจิต พุทธังประสิทธิ ธัมมังประสิทธิ สังฆังประสิทธิ ทุกอย่างสำเร็จสัมฤทธิ์อัศจรรย์ จากนั้นหายใจเข้าลึกๆช้าๆพุ่งจิตกลับมาที่กายเนื้อ หายใจเข้าพุทออก โธ ครั้งที่ 2 ธัมโม หายใจเข้าลึกยาว ครั้งที่ 3 สังโฆ พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา จากนั้นตั้งจิตทรงอารมณ์ความผ่องใสใจแย้มยิ้มเบิกบาน ค่อยๆลืมตา ขึ้นช้าๆด้วยจิตอันเป็นสุข และขอให้ทุกคนมีความสุขความเจริญ รุ่งเรืองก้าวหน้าคล่องตัว สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ทุกคนนะครับ สำหรับเข้าพรรษานี้ ก็อยากให้เราทุกคนตั้งใจ ให้มีความเข้มข้นในการปฏิบัติเพิ่ม สำหรับว้นนี้ก็ขอโมทนา พบกันใหม่วันอาทิตย์สัปดาห์หน้า ตั้งใจกันทุกคน สวัสดีครับ
ถอดความและเรียบเรียงโดย : คุณวรรณภา