green and brown plant on water

การพิจารณากายคตาสติในมหาสติปัฏฐาน 4

เวลาอ่าน : 4 นาที

เสียงธรรมจากห้อง  “เมตตาภิรมย์กรรมฐาน” 

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566

เรื่อง การพิจารณากายคตาสติในมหาสติปัฏฐาน 4

โดย อาจารย์ คณานันท์ ทวีโภค

สวัสดีนะครับ  เรามาเริ่มฝึกสมาธิพร้อมกัน    กำหนดความรู้สึกให้จิตเรา  เอิบอิ่มผ่องใสอยู่ภายใน   กำหนดสติ ในความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ผ่อนคลายทั่วร่างกาย  ปล่อยวางความรู้สึก ความเกาะเกี่ยวในร่างกายทั้งหมดออกไป ผ่อนคลายจิตใจ  ปล่อยวางเรื่องราว   ที่เราวิตกกังวลในทุกสิ่งทุกอย่าง   ออกไปจากจิตใจของเราให้หมด   สงบ     ผ่อนคลาย  ปล่อยวาง แล้วจึงมากำหนดรู้ในลมหายใจ   ลมหายใจที่ละเอียด  เบา  สบาย      ความรู้สึก   สติ   จดจ่ออยู่กับลมหายใจของตนเอง กำหนดรู้ว่าเมื่อไหร่   ลมหายใจของเรามีความละเอียดเบา   อารมณ์ใจของเราพลอยมีความละเอียดเบา เข้าถึงความสุข เข้าถึงความสงบตามไปด้วย   อยู่กับความสงบ  อยู่กับลมหายใจสบาย  ตั้งกำลังใจของเรานับตั้งแต่บัดนี้ เมื่อไหร่กำหนดรู้ลม เรากำหนดรู้และรักษาลม  ให้เป็นลมสบาย   ให้อารมณ์จิตเราเบาสบาย

จิตสงบ  จดจ่อ  รู้ในลม  จนจิตเราไม่ปรารถนา  ในความฟุ้งซ่าน  ในความวุ่นวายของจิต  เกิดธรรมฉันทะในลมหายใจ  อารมณ์จิตที่สบายเป็นสุข  สุขที่ปรากฏขึ้นนี้   คือสุขของสมาธิ  สุขของอาณาปาณนาสติ   สุขในอารมณ์จิตที่สบาย จากลมสบาย   จิตได้พักจากความฟุ้งปรุงแต่งทั้งหลาย  มาอยู่กับความสงบเบา  เมื่อลมหายใจเราเข้าถึงความเบาสบาย สงบแล้ว เรากำหนดจิตต่อไป หยุดจิต นิ่ง หยุด  หยุดจากการปรุงแต่งทั้งหลาย หยุดจากอกุศลจิตทั้งหลาย หยุดจากความโลภ โกรธ หลง ทั้งหลาย  สงบนิ่ง หยุด  ในสภาวะความนิ่งหยุด   คือเอกัตคตารมณ์    กำหนดรู้ในเอกัตคตารมณ์  ฌาน 4 ในอาณาปานสติกรรมฐาน  นิ่ง หยุด

จากนั้นเดินจิตต่อไป   ในความนิ่ง  ความหยุด  เห็นตัวหยุด  เห็นตำแหน่งที่หยุดของจิต  คือบริเวณเบื้องหน้า ณ ลมหายใจที่หยุดนั้น  กำหนดจิตเป็นภาพนิมิต  เป็นดวงแก้ว  เป็นกสิณจิต  เป็นดวงแก้วสว่างใส  จากดวงแก้วสว่างใส  กำหนดจิตให้ดวงแก้วนั้น  กลายเป็นเพชรระยิบระยับ  แผ่แสงสว่าง ครอบคลุมปกคลุมร่างกาย   สว่างเจิดจ้าอยู่เบื้องหน้า  จิตเข้าถึงความเป็นประภัสสร  คือความเป็นเพชรประกายพรึก  มีแสงรัศมีที่เป็นรุ้งสว่าง พร่างพรายปรากฏอยู่เบื้องหน้า จิตยิ่งเอิบอิ่มเป็นสุข  จิตยามเป็นเพชรประภัสสร เข้าถึงความผ่องใส เข้าถึงความเป็นทิพย์แห่งจิต เข้าถึงสภาวะที่จิตอภิญญา เข้าถึงสภาวะที่จิตเป็นแก้วสารพัดนึก   กำหนดเกิดความยินดี  ธรรมฉันทะ ความพึงพอใจในกสิณแห่งจิตที่ปรากฏขึ้น

ความแตกต่างในการกำหนด ในเรื่องของกสิณนั้น หากเรากำหนดเป็นนิมิตภายนอก  คือเห็นว่านิมิต เห็นภาพนิมิตเป็นประกายพรึก  อารมณ์จิตนั้นก็มีความผ่องใส  มีกำลังแห่งกสิณปรากฏ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เรากำหนด ว่าในความผ่องใส  ความเป็นประภัสสร  ความเป็นเพชรนั้น เป็นกสิณ  คือกสิณนั้นน้อมมาเป็นหนึ่งเดียวกับจิตของเรา   จิตเราก็เข้าถึงความเป็นประภัสสร   กำลังแห่งกสิณก็เกิดขึ้น   เพิ่มพูนมากกว่าการกำหนดว่า   นิมิตนั้นเป็นนิมิตภายนอก แต่เราผนึกน้อมนำเอานิมิตนั้นเป็นนิมิตภายใน   และอีกประการหนึ่งก็คือ   การที่เรากำหนดภาพกสิณ   การกำหนดภาพกสิณนั้น   ในเบื้องต้นส่วนใหญ่   ท่านให้กำหนดเป็นภาพสองมิติ   ก็คือเป็นลักษณะภาพแบนๆ   แต่กำลังที่ปรากฏขึ้น  เวลาที่เรากำหนดนิมิตของกสิณ   เรากำหนดเป็นสามมิติ   คือภาพนิมิต  มีสภาวะเป็นทรงกลม   เป็นแก้ว   เป็นดวงแก้ว  เป็นทรงกลม  เป็นประกายพรึก  เป็นเพชรชัดเจน การกำหนดภาพเป็นสามมิติ   ก็ใช้กำลังใจ  ใช้กำลังจิต ความชัดเจนต่างๆ สูงกว่าการที่เรากำหนดเป็นสองมิติ

ดังนั้นจดจำเอาไว้เสมอว่า  ในยามที่เรากำหนด  กสิณทุกกองเราผนึกรวมไว้ที่จิตของเรา จิตเราเป็นกสิณจิต   จิตเป็นประภัสสร   จิตของเราที่ปรากฏขึ้น   จากการกำหนดกสิณ  กำลังของกสิณ ก็นำพาให้จิตเราเกิดความเป็นทิพย์จิตเราเกิดสภาวะเข้าสู่จุดเดิมแท้อันเป็นประภัสสร    มีความผ่องใส  มีความสว่าง  มีความเป็นทิพย์ปรากฏขึ้นเต็มกำลัง

กำหนดรู้ในกำลังแห่งฌาน 4 ปฏิภาคนิมิตของกสิณ   เมื่อจิตเราเป็นประภัสสรแล้ว ก็กำหนดต่อไป ทรงสภาวะเห็นกายทิพย์เราค่อยๆ ปรากฏขึ้น   ร่างทิพย์ทับซ้อนกับกายเนื้อ   เรายังกำหนดสภาวะ   ในการทรงฌาน   ทรงสมาธิอยู่บนโลกมนุษย์   อย่างเนื่องอยู่กับกายเนื้อ   เห็นกายของเราเป็นกายภายใน     คือความเป็นกายทิพย์   ทับซ้อนกับกายเนื้อ  ในยามที่กำหนด  เห็นกายเป็นกายแก้วทับซ้อนอยู่กับกายเนื้อ  เราพิจารณาต่อไป  ให้เห็นสภาวะว่ากายเนื้อนั้นมองทะลุ เป็นแก้วใส  มองทะลุเห็นอวัยวะภายในทั้งหมด โครงกระดูก หลอดเลือด  เส้นเอ็น   เส้นประสาท  สมอง ตับไตไส้พุง  ปอด  หัวใจ อวัยวะทั้งหลาย   มองเห็นทะลุปรุโปร่งทั้งหมด

ในยามที่เราเห็นกายในกาย  ตรงจุดนี้ก็เป็นการพิจารณาในอาการ  32  เป็นการพิจารณาในกายคตามหาสติปัฏฐาน 4  เรากำหนดเช่นนี้  ประโยชน์ที่เกิดขึ้นก็คือ  ความเป็นทิพย์ของจิต  ทำให้เราสามารถพิจารณามองเห็นภายในกาย  เห็นอาการป่วยไข้ไม่สบาย  เห็นจุดที่มันทำงานผิดปกติ  จึงใช้กำลังฌาน  กำลังสมาธิในการฟอกธาตุขันธ์  ในการส่งกระแสกำลังจิต  จิตตานุภาพเข้าไปดูแลบำบัด ในร่างกาย  ในขันธ์ 5 ของเราได้   พิจารณาให้เห็นกายในกาย เห็นอวัยวะภายใน   กำหนดรู้ในกาย  กายภายใน  ชัดเจนปรากฏด้วยญาณเครื่องรู้ในจิต   กำหนดเห็นและพิจารณาเป็นวิปัสสนาญาณต่อไปว่า   กายของเราก็เป็นเช่นนี้    เปลือกนอกคือ  ผม ขน  เล็บ  ฟัน  หนัง   มาห่อหุ้ม  มาฉาบ  มาปิดบัง  สภาวะความเป็นอสุภะ   คือไม่สวยงาม  ดังคำที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า  ร่างกายนั้นอุปมาเหมือนถุงหนัง ที่ภายในบรรจุแต่สิ่งที่เป็นปฏิกูลอยู่ภายใน   เรากำหนดพิจารณาว่า ผม ขน เล็บ ฟัน  หนังนั้น   รวมจิตรวมใจเราให้เห็นความสวยงาม  เปล่งปลั่ง  มีน้ำมีนวล   ทำให้เราเห็น   หรือหลงว่ากายนี้เป็นของสวยงาม  พิจารณาจนจิต  มองเห็นความเป็นธรรมดาของร่างกายขันธ์ 5   เห็นความเป็นอสุภสัญญาในภายในร่างกายขันธ์ 5    เห็นในความเป็นรังของโรคของขันธ์ 5   สมองก็มีสิ่งที่เป็นโรคภัย  เป็นมะเร็งบ้าง  เป็นเนื้องอกบ้าง หัวใจก็มีโรคหัวใจ  ลิ้นหัวใจรั่ว  หัวใจโต  เส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน   ปอดก็มีโรคปอด  มีไวรัส    มีวัณโรค   กระเพาะก็มีโรค  มีกรดไหลย้อน   สรุปรวมความว่าทุกส่วนในร่างกาย  อวัยวะทุกส่วนในร่างกาย  ล้วนแต่เจ็บไข้ได้ป่วยไม่สบายได้ทั้งสิ้น

กำหนดรู้จนจิตเราน้อมยอมรับ   ว่าเป็นธรรมดาของขันธ์ 5   จิตที่ยอมรับนั้น   คือธรรมโอสถ   ที่คลายโรคภัยไข้เจ็บ  คลายความกังวล  ความยึดติด ในอาการเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นให้สลายลง  พิจารณาว่าขันธ์ 5  ก็เป็นเช่นนี้   กำหนดรู้  จากนั้นกำหนดจิตต่อไป เมื่อเห็นกายในกายแล้ว   จึงพิจารณาต่อว่าร่างกายเนื้อขันธ์ 5   เป็นธาตุทั้ง 4  คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ  เป็นอาการ 32 ที่มารวมประชุมรวมตัว   และมีจิตหรืออาทิสมานกายที่ปรากฏขึ้น  จากบุญ จากเหตุ  จากปัจจัย ให้มาปรากฏ อยู่ในร่างกายเนื้อนี้  เสวยวิบากกรรม เสวยบุญกุศล ตามวาระ ถึงเวลาเมื่อหมดบุญ  หมดอายุ  เราก็ทิ้งร่างกายขันธ์ 5  นี้  ไปจุติในภพภูมิต่างๆ   หรือหากตัดร่างกายขันธ์ 5  นี้    ด้วยวิปัสสนาญาณ   จนกระทั่งสรรพกิเลส  ถูกขาดสะบั้นเป็นสมุทเฉทปหาน    เราตั้งจิตไว้ที่พระนิพพาน    จิตดวงนี้อาทิสมานกายนี้   ก็เข้าถึงซึ่งพระนิพพานไม่กลับมาเกิดอีก   หากจิต มีอารมณ์แห่งฌานสมาบัติ   จิตก็ไปจุติเป็นพรหม  จิตเอิบอิ่มเป็นสุข  รำลึกนึกถึงทาน   รำลึกนึกถึงศีล  จิตอาทิสมานกาย  ก็ไปจุติในสวรรค์ชั้นต่างๆ   รวมความว่าอารมณ์จิต    เป็นเครื่องนำพา  ให้จิตดวงนี้ไปจุติยังภพต่างๆ  จิตมีความทุกข์  มีความเศร้าหมองอย่างหนัก จิตดวงนี้ก็ไปเสวยวิบากกรรมยังทุคติภูมิ  มีนรกเป็นต้น

อารมณ์จิต  อารมณ์พระกรรมฐาน   จึงเป็นเรื่องสำคัญ  หากเราไม่เคยฝึกสมาธิ  ไม่เคยเจริญวิปัสสนา  ไม่เคยเจริญปัญญา   ก็จะเป็นเรื่องยาก  ในการที่จะประคับประคอง รู้รักษาอารมณ์จิต หรือเข้าใจว่าอารมณ์จิตนั้น ก่อให้เกิดผลเช่นไร   ดังนั้นจึงเป็นบุญอย่างยิ่ง  สำหรับคนที่เคยฝึกสมาธิ  เจริญวิปัสสนา เนื่องจากเป็นผู้ที่ฝึกจิตมาดีแล้ว   สามารถนำพาจิต ให้ไปจุติในภพใดก็ตามได้ดังปรารถนา  หากไม่มีวิบากกรรมใดมาตัดรอดซะก่อน

ดังนั้น เรากำหนดรู้เช่นนี้แล้ว กำหนดจิตเห็นกายทิพย์  กายแก้วที่ทับซ้อนกับกายเนื้อใสสว่าง  กายทิพย์เราสว่าง  มีรัศมีสีรุ้งแผ่สว่างออกมา   กายทิพย์ยังทาบทับสนิทอยู่กับกายเนื้อขันธ์ 5   กำหนดจิตพิจารณาว่าเราไม่ใช่ร่างกาย   ร่างกายไม่ใช่เรา  เราคือจิต  อาทิสมานกายหรือกายทิพย์นี้ที่ทาบทับอยู่กับกายขันธ์ 5   กำหนดให้เห็น กายทิพย์เราสว่าง  สว่างมีรัศมีจิตเอิบอิ่มผ่องใส   กำหนดแสงสว่างจากกาย  จนกระทั่งแสงสว่างนั้นเจิดจ้า  สว่างเต็มห้องที่เราฝึกสมาธิ   แสงสว่างจากกายทิพย์   แผ่ ซึมซาบ ไปทั่วขันธ์ 5   กายเนื้อ    จนขันธ์ 5   กายเนื้อ   เซลล์ทุกเซลล์  อวัยวะทุกส่วน  อาการทั้ง 32  ปรากฏเป็นแสงสว่างตามไปด้วย   กำลังฌานสมาธิ  ปรับผลึก   ปรับอนุภาคของเซลล์ทุกเซลล์ทั่วร่างกายสว่าง   กำหนดให้ชัด   กำหนดให้ละเอียด  ความรู้สึกในขณะที่กายทิพย์เราแผ่แสงสว่างเอิบอิ่ม   ปกคลุม สว่างเจิดจ้าเต็มห้อง  จิตแล้วเรายิ่งเอิบอิ่มเป็นสุข  แสงสว่าง   ภาพนิมิต  สัมพันธ์อารมณ์จิตเสมอ   ยิ่งสว่าง  ยิ่งเป็นสุข  ยิ่งสว่าง  ยิ่งเอิบอิ่ม  ยิ่งสว่าง  จิตยิ่งผ่องใสสัมพันธ์  จุดสำคัญนี้  สำคัญอย่างยิ่งในการปฏิบัติ ทรงอารมณ์ไว้  จิตยิ่งผ่องใสสว่าง กายทิพย์ยิ่งผ่องใสสว่าง  จิตยิ่งผ่องใสสว่างเป็นสุข

เมื่อกำลังฌาน  กำลังจิต  กำลังกายทิพย์เราเพาะบ่ม เพิ่มพูนขึ้นแล้ว ลำดับต่อไป เราก็กำหนดจิต รำลึกนึกถึงคุณพระพุทธเจ้า  พระธรรม  พระอริยสงฆ์  อธิษฐานจิตกำหนดถ้าพุทธนิมิต  คือภาพพระพุทธองค์ จะเป็นลักษณะพระพุทธรูปก็ดี  หรือกำหนดเป็น   สภาวะแห่งพระวิสุทธิเทพของพระพุทธองค์ก็ดี   ปรากฏขึ้นเบื้องหน้าของเรา  จำไว้ว่าเคล็ดลับในการปฏิบัติที่สำคัญ  เมื่อไหร่ก็ตาม ที่เรากำหนดภาพ  องค์พระพุทธรูปเป็นพุทธนิมิตในจิต  อารมณ์ใจเราทุกครั้ง ต้องมีความรู้สึก ว่าพุทธนิมิตนั้น  ก็คือพระพุทธองค์  พุทธนิมิตเป็นหนึ่งเดียวกันกับพระพุทธองค์   มีกระแสแห่งพุทธานุภาพ เป็นพระพุทธฉาย  ฉายฉัพพรรณรังสี    เป็นองค์พระพุทธองค์มาทรงโปรดอยู่เบื้องหน้าเราเสมอ  หรือแม้แต่พระพุทธรูปในที่ใดก็ตาม  ที่เรากราบไหว้   วัดวาอารามทั้งหลาย  สถานปฏิบัติธรรม  หรือแม้แต่พระพุทธรูปที่บ้าน เห็นพระพุทธรูป    จิตถึงพระพุทธองค์   จุดนี้เป็นเคล็ดลับสำคัญ   ที่ทำให้เราเข้าถึงพระพุทธองค์ได้อย่างแท้จริง             เห็นพระพุทธรูป       จิตถึงพระพุทธองค์บนพระนิพพาน     คนอื่นเขามองว่าเป็นพระอิฐ    พระปูน   แต่จิตเราไปถึงพระพุทธองค์บนพระนิพพานแล้ว   กำลังใจ   ปัญญา  ความเข้าใจ ความเข้าถึง กำลังฌานสมาบัติ   ก็จะมีความแตกต่างกัน

กำหนดให้เห็นภาพพุทธนิมิต   พระพุทธองค์ทรงปรากฏ   จากนั้นตั้งจิตอธิษฐาน    เพื่อฝึกความคล่องตัวในการทรงภาพพุทธนิมิต    กำหนดอธิษฐาน   ขอให้พระองค์พระที่อยู่เบื้องหน้าของเราขณะนี้   ปรากฏหมุนไปทางด้านขวา   หมุนเห็นโดยรอบองค์พระทั้งหมด  ช้าๆ  ละเอียด     ภาพองค์พระเป็นสามมิติ  หมุนช้าๆ   จากนั้นกำหนดจิต ขอพุทธานุญาต  ขอให้องค์พระขยายใหญ่ขึ้น  โดยที่เรายังกำหนดเห็นความละเอียด  วิจิตรบรรจงขององค์พระ  ที่เป็นเพชร  เป็นแก้วละเอียด ได้อย่างชัดเจนอยู่ตลอดเวลา  องค์พระใหญ่ขึ้น  ใหญ่จากพระพุทธรูปองค์ประมาณ  9  นิ้วกลายเป็นพระพุทธรูปหน้าตัก 4 ศอก  องค์พระขยายใหญ่ขึ้นเป็น 16  ศอก องค์พระขยายใหญ่ขึ้น จนกลายเป็น 32 ศอก องค์พระขยายใหญ่ขึ้นไป จนกระทั่ง ใหญ่วางอยู่บนโลก ประดิษฐานอยู่บนโลก  เหนือโลก กำหนดจิต ว่าองค์พระกำลังแห่งพุทธานุภาพนั้น  ไม่มีที่สุด  ไม่มีประมาณ จิตมีความเอิบอิ่ม ผ่องใส

จากนั้นกำหนดจิตต่อไปขอองค์พระ  จงย่อองค์เล็กลง  จนมีขนาดหน้าตักประมาณ  9 นิ้ว   อธิษฐานจิตขอให้องค์พระนั้น   สถิตย์อยู่ที่กลางกระหม่อมของเรา   สภาวะปรากฏลอยแตะ  อยู่บนกลางกระหม่อม   ไม่มีความรู้สึกว่ากดหนัก ลอยแตะๆ อยู่ บนกลางกระหม่อมของเรา  แต่สามารถรู้สึกได้ว่าองค์พระท่าน ประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าเราจริงๆ ความรู้สึกทางกายปรากฏว่า บนศีรษะของเรา   เทินองค์พระที่ลอยแตะๆ  ลอยสัมผัสแตะอยู่เบาๆ   มีแสงสว่างฉัพพรรณรังสีจากองค์พระ  จากพระพุทธองค์  แผ่สว่าง  ครอบคลุมทั่วกายของเราทั้งหมด ใจเรายิ่งมีความเอิบอิ่ม  มีความสุข  ตอนนี้เรายังอยู่เนื่องกับกาย  ยังอยู่บนโลกนะ  ทรงอารมณ์นี้ไว้   กำหนดจิตว่านับแต่นี้  การทรงภาพพระ อยู่เหนือกระหม่อม   เป็นเรื่องง่าย  เป็นเรื่องที่เราสัมผัสรู้สึกได้อย่างชัดเจน   รู้สึกสัมผัสได้แม้ทางกายเนื้อ  กายหยาบ

จากนั้นกำหนดจิตต่อไป ขออาราธนาบารมีพระพุทธองค์ ทรงสงเคราะห์ ขอเมตตาดึงอาทิสมานกายข้าพเจ้า  ขึ้นไปบนพระนิพพาน   ปรากฏสภาวะเป็นกายพระวิทธิสุเทพ    อยู่บนพระนิพพานด้วยเถิดพระพุทธเจ้าค่ะ     จากนั้นกำหนดจิต  พุ่งตามพระพุทธองค์   ขึ้นไปปรากฏบนพระนิพพาน   ปรากฏขึ้นไปพรึบ   เห็นความรู้สึกตัวเราเองเป็นกายพระวิสุทธิเทพ   นั่งอยู่บนแท่นในวิมานของตน  อยู่ในสภาวะ  ที่สว่างผ่องใสอย่างยิ่ง  ความรู้สึกว่ากายทิพย์ของเราตอนนี้ สวมเครื่องทรงของพระวิสุทธิเทพปรากฏชัดเจน   มงกุฎ  อุบะ กำไล  สายสร้อย เครื่องประดับทั้งหลาย   เป็นเพชรสว่าง กาย  ผิวกายใสเป็นแก้ว  มีความละเอียด   มีประกายรุ้ง  มีประกายพรึกในทุกส่วน ทรงสภาวะความรู้สึกในความเป็นกายทิพย์    กายพระวิสุทธิเทพ    และบอกกับจิตเรา  ว่าเราไม่ใช่ร่างกาย   ร่างกายไม่ใช่เรา   ในความรู้สึกว่า   กายทิพย์เป็นกายพระวิสุทธิเทพนั้น   เป็นอารมณ์จิตที่สำคัญ    ทำให้เราแยกกาย   แยกจิตอย่างสมบูรณ์  ส่วนอารมณ์จิตที่สำคัญอีกจุดหนึ่งก็คือ   เราเมื่อขึ้นมาบนพระนิพพานแล้ว   เราต้องกำหนดพิจารณาตัดภพ  พิจารณาตัดสังโยซน์ 10 พิจารณาทรงอารมณ์พระนิพพาน   เพื่อที่จะได้เป็นเครื่องการันตีได้ว่า   ภาพที่เราเห็น ว่าเราขึ้นมาบนพระนิพพานนั้น ไม่ใช่เพียงสัญญาหรือภาพจำ  เพราะครูบาอาจารย์ท่านเตือนไว้ว่าบางคน คิดว่าตัวเองคล่องตัวในอารมณ์ของมโนมยิทธิ ขึ้นไปบนพระนิพพานด้วยความรวดเร็วก็จริง   แต่บางครั้งก็ยังไม่ละเอียด  ยังไม่รู้ตัวว่า สิ่งที่ปรากฏเห็นในจิต  เป็นสัญญาหรือภาพจำ  เนื่องจากเคยขึ้นมาบ่อย  แต่คนที่เขาไม่ประมาทก็คือ เมื่อขึ้นมาแล้วก็กำหนด พิจารณาในอารมณ์พระนิพพาน   พิจารณาในการตัด  ตัดภพ   ตัดชาติ   ตัดความผูกพัน   ตัดความห่วงใย   ในภพภูมิทั้งหลายจนหมด  และเข้าถึงอารมณ์ของพระนิพพาน  คืออุปมานุสติ  อารมณ์จิตที่ว่า  จิตมีความรักในพระนิพพาน    มีความมั่นคงในพระนิพพาน   มีความรู้สึกว่าเป็นหนึ่งเดียวอยู่กับพระนิพพาน เข้าถึงอารมณ์ใจที่

นิพพานัง  ปรมัง  สุขัง   พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

จิตมีความรู้สึกว่าภาระทั้งหลายหมดสิ้นแล้ว กิจทั้งหลายจบสิ้นแล้ว   การเกิดทั้งหลายไม่มีในเราอีกแล้ว  ความทุกข์  ปริเทวนาทั้งหลาย   ความโศกเศร้าเสียใจ   ความพลัดพรากจากของรัก    ของเจริญใจทั้งหลาย   ไม่มีกับเราอีกแล้ว คิดอุปมาเอาง่ายๆ  ว่า เหมือนตัวเราเอง  บางครั้งเราทำงานด้วยความเหนื่อยยาก   ทำงานด้วยความเหนื่อยยาก    จนอยากลาออกจากงาน   พอถึงเวลา   เรามีโชคดี   มีโชค มีลาภ  จนกระทั่งไม่ต้องทำงานอีกต่อไป ความรู้สึกว่าไม่ต้อง ทำงานอีกต่อไปแล้ว   ชาตินี้ทั้งชาติสามารถใช้ชีวิตของเรา  ตามที่เราปรารถนาได้ ภาระทั้งหลาย  ถูกปลดเปลื้องออกไป   หรือภาระที่เราเป็นหนี้เป็นสิน    ต้องผ่อนบ้านผ่อนรถ   มีภาระที่ต้องจ่าย   เรื่องนั้นเรื่องนี้    แต่ภาระนั้นเราผ่อนจนหมด  เราไม่ต้องจ่าย  ไม่ต้องโหลด  ทุกอย่างยกออกไปจากใจของเราหมดแล้ว   แต่อารมณ์แห่งพระนิพพานนั้นละเอียดกว่านั้น  สูงกว่านั้น  ภาระทั้งหลาย  กรรมทั้งหลาย  วิบากทั้งหลาย ถูกยกออกไปจากจิตใจของเราจนหมด กรรมทั้งหลายไม่อาจส่งผล  ต่อเราอีกต่อไป  ตัดกรรม  ตัดเวร ทั้งสุข  ทั้งทุกข์   ไม่ต้องเกิดไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด  ในสังสารวัฎอีกต่อไป อารมณ์นี้มันเบายิ่งกว่า สุขยิ่งกว่า  อิสระยิ่งกว่า   เพราะไม่ถูกพันธนาการด้วยกรรม   ด้วยวิบาก  ด้วยเวร  ด้วยความกังวล  ด้วยหน้าที่  ด้วยความห่วงใย  ด้วยความยึดติดทั้งปวง

กำหนดจิตนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง  เป็นอิสระแห่งจิตอย่างยิ่ง เปลื้องภาระทั้งหลายจากจิต ทรงอารมณ์อยู่กับความเป็นพระวิสุทธิเทพ   อยู่บนพระนิพพาน    เสวยอารมณ์วิมุตติสุข   อยู่บนพระนิพพาน     ในขณะที่จิตเราเป็นสุข  เราก็กำหนดแสงสว่าง   กายทิพย์ปรากฏความสว่างผ่องใส  มีขันธ์ 5  เป็นเหตุแห่งทุกข์  มีขันธ์  5  เป็นเหตุแห่งความเจ็บไข้ได้ป่วยไม่สบาย   มีขันธ์  5  เป็นเหตุแห่งความพลัดพรากจากของรักของเจริญใจ  มีขันธ์ 5 เป็นเหตุที่ทำให้เราต้องตาย กำหนดจิต ว่าเมื่อจิตเรา ตัดร่างกายขันธ์ 5  ความห่วงใย  ความอยากเกิดเป็นมนุษย์ จิตน้อมอยู่กับพระนิพพานเพียงจุดเดียว   ตัดสรรพกิเลสให้เป็นสมุทเฉทปหาน    ความรัก  โลภ  โกรธ  หลง    สลายออกไปจากจิตเราให้หมด  ความโกรธ เกลียด  อาฆาตพยาบาท  จองเวรทั้งหลาย   สลายออกไปจากจิตเราให้หมด   วิบากทั้งหลายสลายออกไปจากจิตเราให้

จากนั้นกำหนดจิต   มองลงมายังโลกมนุษย์  กำหนดจิตอธิษฐาน  ระเบิดร่างกายขันธ์ 5   ระเบิดสลายออกไป จนกลายเป็นอณู  อนุภาคผุยผง   ระเบิดออกไป   รู้สึกว่าเมื่อระเบิด    ตัดขันธ์ 5  ระเบิดสลายออกไปเป็นผุยผง  เปรียบประดุจดั่ง   จักรวาลนั้นเกิดการระเบิดของบิ๊กแบง  ระเบิดเป็นมหาอนุภาค  จักรวาลระเบิด   สะท้านสะเทือนกายหยาบ  ขันธ์ 5  ระเบิดสลาย   เป็นอนุภาคกลายเป็นดวงดาวเล็กๆ  เป็นดวงดาวปรากฏ   สลายจนว่าง  วางเบา   จิต  สลายจากความเกาะในร่างกายขันธ์ 5  กายหยาบของเรา    ทรงอารมณ์ในอารมณ์พระนิพพานไว้   กำหนดว่าจิตเราขณะนี้   ตัดร่างกายขันธ์ 5   อย่างละเอียด   อย่างไม่เหลือเยื่อใย   ความห่วงใยทั้งปวง   สลายขันธ์ 5  จนดับไม่เหลือเชื้อแห่งการเกิดอีกต่อไป   จิตอาทิสมานกาย    ทรงอารมณ์ไว้อยู่บนพระนิพพาน  ความเป็นอาทิสมานกายปรากฏสว่าง

สำหรับหลายคนที่ปฏิบัติในสายของหลวงปู่ดู่    หลวงตาม้า   เราก็สามารถที่จะใช้กำลังของมโนมยิทธิ   ขึ้นมาบนพระนิพพานและกำหนดจิต      สวดบทพระเจ้าจักรพรรดิ     อยู่กับสมเด็จองค์ปฐม    และน้อมแผ่กระแสไปยัง  สามโลกธาตุ  สามภพสามภูมิ  กำหนดจิตเช่นนี้กำลังแห่งการสวด   ก็มีสูงขึ้นมากกว่าในยามที่เรา สวดในภาพของความเป็นมนุษย์ กำหนดรู้อย่างหนึ่งว่า    กำลังจิตในภาคมนุษย์นั้น   อย่างไรก็ไม่สู้      การที่เราฝึกในภาคทิพย์    ภาคทิพย์ก็แบ่งออกไปอีกว่า   การที่เราถอดกายทิพย์  แยกกายทิพย์  ใช้กำลังของกายทิพย์ แต่ยังเป็นสภาวะที่ยังเนื่อง อยู่กับกายเนื้อ  อยู่กับโลกคืออยู่ในภูมิของโลก  กำลังจิต  กำลังกายทิพย์  อยู่ในภพของโลก เทียบกับกายทิพย์ที่มีกำลังของภพแห่งเทวดา  เช่น   มีกำลังถอดกายทิพย์ไป   ไปสวดก็ดี   ไปอธิษฐานจิตก็ดี     ในกำลังของเทวดา   เช่น  ที่พระจุฬามณีเจดียสถาน ก็มีกำลังเพิ่มขึ้น   กว่าการเป็นกายทิพย์ยังอยู่เนืองกับโลกมนุษย์ กำลังที่สูงขึ้นไป  ก็คือขึ้นไปบนพรหม กำลังใจของความเป็นพรหมปรากฏ  แต่สูงที่สุดก็คือเมื่อทรงอารมณ์ใจบนพระนิพพาน

ดังนั้นการที่เรากำลังยกกำลังจิต  กำลังใจ  กำลังฌานอภิญญาสมาบัติ  ขึ้นมาถึงพระนิพพานได้ เราอาศัยปัญญาความฉลาด   ก็คือ   คราวนี้สิ่งที่เราทำได้  กราบพระเมื่อไหร่   กราบพระพุทธองค์บนพระนิพพาน   ในยามถวายทานก็ยกอาทิสมานกาย  ขึ้นมาถวายพระพุทธเจ้าบนพระนิพพาน   ยกภาคทิพย์ขึ้นมา   จำไว้ว่าเวลาที่เราถวายทาน   บุญที่มันปรากฏ  ก่อให้เกิดภาคทิพย์  คือของทิพย์เป็นที่ปรากฏขึ้น  เวลาที่เราถวายสังฆทาน  บุญกุศล  อานิสงส์แห่งสังฆทาน   ก็ปรากฏเป็นของทิพย์     คราวนี้เราอาศัยความเป็นทิพย์ของจิต   กลั่นของหยาบ   สังฆทานที่เป็นของหยาบ   เป็นวัตถุทานบนโลก   เรากำหนดใช้จิตอธิษฐาน  ให้เกิดเป็นของทิพย์   เป็นสังฆทานทิพย์  ยกขึ้นมาถวายพระพุทธองค์บนพระนิพพาน    อันนี้ก็เป็นเรื่องของกำลังแห่งอภิญญาสมาบัติ      ของผู้ที่ทรงฌานสมาบัติ  ที่สามารถทำได้  แต่บุคคลทั่วไปที่เขาไม่ได้ฝึกสมาธิ  เขาก็ทำตรงจุดนี้ไม่ได้   แต่เมื่อเราทำได้  เราจะทำทุกครั้งไหม  ถ้ามีปัญญา มีความเข้าใจ   เราก็พึงทำ  เหตุผลที่ทำ ไม่ใช่เพียงแค่แต่ว่า การทำเช่นนี้เกิดผลสูง  เกิดอานิสงส์สูงกว่า  แต่สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ   เพื่อเป็นอุบายในการที่   ให้เรายกจิตขึ้นมาบนพระนิพพานอย่างสม่ำเสมอ จนเกิดวสี  เกิดความคล่องตัว  เกิดความถี่เกิดการทำซ้ำ  ฝึกซ้ำไปเรื่อยๆ  จนกระทั่งเมื่อไหร่ที่เรา หมดวาระแห่งการเกิดเป็นมนุษย์แล้ว  ในความคล่องตัวที่เราฝึกฝน  ทำอย่างสม่ำเสมอ   ก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่จะนำพา   ให้จิตของเราเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน   เข้าถึงซึ่งอรหันตผลในจิตสุดท้ายก่อนตายได้ในที่สุด

ดังนั้น   ทำบุญเราก็ยกขึ้นมาถวาย     บนพระนิพพาน    เหมือนอย่างเช่นที่อาจารย์พยายามพาทำ  ถวายมหาสังฆทาน    ให้เป็นประจำเป็นนิตย์ทุกเดือน   ยกอาทิสมานกาย   ตั้งจิตดึงอาทิสมานกายทุกคน     ขึ้นมาถวายบนพระนิพพาน ได้ทั้งอานิสงส์  ได้ทั้งบุญ  ได้ทั้งความคล่องตัวในการฝึก  ในกำลังจิต หรือแม้แต่การที่เรา ไปทำบุญในเรื่องของวิหารทาน   เราตั้งจิตทำบุญปุ๊บ  ความเป็นทิพย์   ของทิพย์จริงๆ   ก็ปรากฏขึ้นทันที  ทั้งในส่วนของสวรรค์ชั้นต่างๆ  ทั้งในส่วนของวิมานบนพระนิพพาน  ก็ปรากฏขยายมีความวิจิตร  มีความใหญ่ขึ้น  อันที่จริงถ้าหากอธิษฐานขอดูวิมาน ไม่ว่าจะเป็นภพใด  ภูมิใดก็ตาม ถึงเวลา ที่เราถวายวิหารทาน วิมานในทุกภูมิ ทุกภพ หรือแม้แต่บนพระนิพพานก็มีความละเอียด มีแสงสว่างขึ้น  มีความใหญ่ขึ้น มีรายละเอียด  มีอาณาบริเวณกว้างขวาง  ขยายขอบเขตขึ้นตามไปด้วย อันที่จริงกำลังของคนที่ฝึก ได้ถึงมโนมยิทธิในอารมณ์พระนิพพาน  อันที่จริงนั้น ถือว่าเรา มีบ้านในหลายแห่ง ถ้าเป็นคนบนโลกมนุษย์  ก็เหมือนว่ามีบ้านพัก อยู่ในหลายที่ หลายประเทศ มีทั้งบ้านริมทะเล  มีทั้งบ้านที่ต่างประเทศ วิมานจริงๆ  ปรากฏอยู่ได้ทุกภพ เพียงแต่ว่าจิตเราพึงพอใจอยู่กับภพใดภูมิ  บางท่านมีกำลังใจ  มีกำลังบุญถึงพรหม แต่พึงพอใจกับความเป็นรุกขเทวดา  หรือภูมิเทวดา  เพราะรู้สึกว่าอยากอยู่ใกล้ลูกหลาน ตรงนั้น กำลังบุญมีมากพอเป็นพรหม   วิมานบนพรหมมี   แต่ปรากฏว่าพอใจเพียงแค่เล็กน้อย  คือ เป็นพระภูมิเจ้าที่  อยู่ใกล้ลูกใกล้หลาน อันนี้ก็คือวิมานก็ปรากฏขึ้น ตามจิตที่เราปรารถนา  คนที่เขาทำบุญอย่างเดียวแต่ไม่ได้ฌาน วิมานบนพรหมเขาก็ไม่มี   วิมานบนพระนิพพาน   อยู่ในวิสัยที่จะได้นิพพานก็ไม่มี    แต่หากคนที่เขาปฏิบัติ    เจริญสมถะอย่างเดียว      ไม่เจริญวิปัสสนา   หรือกำลังใจ  คิดว่าชาตินี้ไปพระนิพพานไม่ได้ เมื่อไหร่ที่คิดว่าไปพระนิพพานไม่ได้  วิมานบนพระนิพพานก็ไม่มี ของเราฝึกมโนมยิทธิขึ้นไปเห็นวิมานตัวเองบนพระนิพพาน จริงๆ  พิจารณาให้ดีนั้นก็คือ   เรามีวิมานบนพระนิพพานแล้ว  แต่คราวนี้เราจะไปไหม  เราจะตัดไปไหม หรือเราสุดท้าย   หักใจว่าเราคงมาไม่ได้   ก็คือยังไม่ไป  นั่นก็แปลว่าเราชวดจากความดี เป็นที่น่าเสียดาย

ดังนั้นการที่เราปฏิบัติมาถึงจุดนี้  อันที่จริงถ้าอธิษฐาน ไหนๆ ก็ไหนๆ  ฝึกแล้ว  ตั้งจิตอธิษฐาน ขอดูวิมานในที่ต่างๆ ครบทั้งหมด วิมานบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีไหม  วิมานในขณะที่เราเคยฝึก เคยปฏิบัติเคยสวดมนต์ สวรรค์ชั้นยามา มีไหม วิมานบนพรหมโลกปรากฏมีขึ้นไหม  การที่เรากำหนดจิตในฌานสมาบัติ  ฝึกกสิณจนเกิดปฏิภาคนิมิต เจริญเมตตาอัปปันนาณฌาน อันไม่มีประมาณ   วิมานบนพรหมเราปรากฏไหม   สว่างไหม    เพียงนึกถึงเมตตาอัปปันนาณฌาน อธิษฐานจิต วิมานบนพรหมเราใหญ่ไหม  สว่างไหม   หากเราไปพรหมโลกรัศมีกายเราสว่างไหม

ดังนั้นกำหนดจิตพิจารณา ทุกที่ทุกภพ เรามีวิมาน เราสามารถเลือกที่จะอยู่ที่ใดก็ได้  แต่คราวนี้เราปฏิบัติ มาถึงจุดนี้ จิตเราตัดสินใจว่าเราจะไปไหน เราจะไปพระนิพพานไหม  สิ้นภพจบชาติทีเดียว จบกิจสักที ไม่ต้องเสียเวลาอีก หรือยังเพลิดเพลิน   หรือพอไปดูวิมานบนพรหมบ้าง  บนยามาบ้าง   บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์บ้าง  ไปเจอเพื่อน    เลยปรากฏว่าขอถอย  ยังไม่ไปพระนิพพานดีกว่า  เป็นห่วงเพื่อน  เพื่อนยังรอ    เพื่อนที่สวดมนต์ด้วยกัน  ยังรอดูอยู่ที่ดาวดึงส์ เพื่อนที่สวดมนต์ด้วยกัน    ยังรออยู่ที่ยามา    เพื่อนที่สวดมนต์ด้วยกันยังรอจะไปจุติ     ไปบรรลุในยุคพระศรีอริยเมตไตย  รอกันไปรอกันมาเราเลยขอรอด้วยคน   อารมณ์จิตเรามีเช่นนั้นไหม   วันนี้อาจารย์ลองใจเยอะหน่อย  หรือจะไปพระนิพพานเลย    กำหนดพิจารณาจนกระทั่งใจของเรา   เห็นแล้วว่าการรอ   การหวงกัน  มันก็คือ สิ่งที่เป็นห่วง เป็นห่วงผูกคอ   เป็นห่วงที่ดึงเราไว้  อยู่กับพวกชาติทั้งหลาย ไปนิพพานได้ไป

พิจารณาแล้วก็กำหนดจิตแต่ละบุคคลนะ    ขอตั้งจิตอธิษฐาน ขอทานทั้งหลาย ศีลทั้งหลาย  ภาวนาทั้งหลาย ขอจงเป็นเหตุปัจจัย  รวมตัวเป็นบุญกุศลส่งผลให้ข้าพเจ้า   เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันเพียงจุดเดียว    จิตมีความตั้งมั่นในพระนิพพานอย่างยิ่ง  จิตมีปัญญารู้แจ้งแทงตลอดในธรรม  เห็นคุณแห่งพระนิพพานอย่างยิ่ง

จากนั้นกำหนดจิตอธิษฐาน ขอพ่อแม่  ครูบาอาจารย์ ขอให้ท่านเมตตาปรากฏขึ้นในจิต แยกจิตอาทิสมานกายกราบสมเด็จองค์ปฐม  พระพุทธเจ้าทุกพระองค์  พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ  พระองค์  ครูบาอาจารย์  พ่อแม่  ท่านผู้มีพระคุณ  เทพพรหมเทวาทั้งหลาย ในทุกภพทุกภูมิ   รวมกระทั่งแม่ถึง พระภูมิเจ้าที่  เจ้าที่เจ้าทาง    ที่บ้านที่ทำงานของเรา เมื่อแยกจิตกราบแล้ว   อารมณ์จิตเรามีความผ่องใสอย่างยิ่ง  มีปัญญาเข้าใจการปฏิบัติอย่างลึกซึ้ง   แจ่มแจ้งเพิ่มขึ้นอย่างยิ่ง

เมื่อกราบลาแล้วก็กำหนดจิต พุงอาทิสมานกายพร้อมกับน้อมกระแสจากพระนิพพาน    ลงมายังโลกมนุษย์ ลงมายังกายเนื้อของเรา    การน้อมกระแสจากพระนิพพานลงมาสู่โลกมนุษย์นั้น    ก็เป็นการเชื่อม   เชื่อมพลังงาน  เชื่อมกระแสมรรคผล  เชื่อมกำลังบุญ  เชื่อมกำลังพุทธานุภาพ   ธรรมานุภาพ   สังฆานุภาพ กระแสแห่งพระนิพพานลงมายังโลก       ให้เกิดความสุขสงบร่มเย็นสันติ      คนเข้าถึงธรรมะ     คนเข้าถึงการปฏิบัติ      คนเข้าถึงมรรคผล   เกิดความสุขสันติภาพ ขึ้นบนโลกมนุษย์  เป็นการน้อมจิตน้อมใจเรา    อธิษฐานเพื่อส่วนรวม ถือว่าเป็นสาธารณประโยชน์  ไม่ได้ทำเพียงแค่ตนเองเพียงอย่างเดียว  มีความกตัญญู  มีความปรารถนาดี  ที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองดังสมัยพุทธกาล    ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา  ให้ดำรงคงอยู่ตราบห้าพันปี       เราถึงลงมาเกิดกัน เราถึงลงมาสืบต่อการปฏิบัติการกัน    กำหนด    ขอให้จิตที่เราอธิษฐานนี้เทพพรหมเทวาทั้งหลาย        ทั่วอนันตจักรวาลโมทนาสาธุการ  กึกก้องด้วยเทอญ  เทวดาพรหมที่ท่านปกปักรักษา  ขณะเจริญพระกรรมฐาน   ขอให้ท่านโมทนาสาธุด้วยเทอญ

เมื่อจิตของเราผ่องใสดีแล้ว   เป็นสุขแล้ว  น้อมกระแสลงมาแล้ว อธิษฐานจิตนะ  อารมณ์จิตเรามีกำลังแห่งสมาธิ  แห่งสมาบัติ การปฏิบัติในแต่ละครั้ง   ทบทวนว่าเราฝึกกรรมฐานกองใดไปบ้าง  ทรงอารมณ์จิตถึงสมถะสูงสุดในจุดใดบ้าง    อธิษฐานจิต ในสิ่งที่ชอบ ในสิ่งที่เป็นมงคลเพื่อตน   ให้ทุกคนมีความสุข  มีความเจริญ

จากนั้นหายใจเข้า  ช้าๆ  ลึกๆ   หายใจเข้าพุธ  ออกโธ  ใจสบาย  ผ่องใส

ครั้งที่ 2  ธัมโม

ครั้งที่ 3  สังโฆ

ใจสบาย  เอิบอิ่มเป็นสุข แย้มยิ้ม ราศีเปล่งประกายจากกายขันธ์ 5  ราศีเปล่งประกายจากกายทิพย์  รายรอบกายเรามีแต่ความเป็นทิพย์ เป็นประกายระยิบระยับแพรวพราวรายรอบ  ตั้งจิตโมทนาสาธุกับ เพื่อนๆ  กัลยาณมิตรที่ฝึกสมาธิร่วมกัน  และที่มาฟังภายหลัง กำหนดจิตว่าใจเราผ่องใส  และทรงอารมณ์ผ่องใสนี้ได้เสมอตลอดทั้งวัน  พยายามทรงอารมณ์ที่ผ่องใสเช่นนี้ได้ตลอดชีวิตของเรา  ความเป็นทิพย์ดึงดูด  มหาโภคทรัพย์  ดึงดูดสายสมบัติ  ดึงดูดความเสุขภาพดี ดึงดูดความโชคดี ดึงดูดมงคลทั้งหลาย  เข้ามาสู่ชีวิตของเรา ใจเอิบอิ่มนะ

ก็ขอให้เราทุกคน    มีความสุข  ความเจริญ สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ มีโชค  มีลาภ  มีความสุขกายสุขใจเสมอ   นึกคิดสิ่งใดสมปรารถนา ฝึกจนถึงขั้นความผ่องใส  ยังให้เกิดจิตอันเป็นแก้วสารพัดนึก   ปรากฏขึ้นเป็นอัศจรรย์   สำหรับคนที่มีประสบการณ์ ฝึก จนจิตเป็นแก้วสารพัดนึกได้แล้ว    ก็อย่าลืมแบ่งปันบอกเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง  ในห้องไลน์ แล้วก็อย่าลืม      ที่จะอธิษฐานเขียนแผ่นทองอธิษฐานพระนิพพานไว้เสมอ    เขียนทุกวันได้ยิ่งดี   เขียนทุกครั้งที่ขึ้นพระนิพพานได้ยิ่งดี  สำหรับวันนี้สวัสดี   พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ

ถอดเสียงและเรียบเรียง โดย คุณ สิริญาณี แลบัว

You cannot copy content of this page