เสียงธรรมจากห้อง “เมตตาภิรมย์กรรมฐาน”
วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม 2565
เรื่อง การปฏิบัติจิต
โดย อาจารย์ คณานันท์ ทวีโภค
สัญญาณเสียงชัดเจนดีนะครับ ในระหว่างนี้เราก็รอเพื่อนๆสักครู่หนึ่ง อยู่กับลมหายใจสบายสบาย จับลมหายใจสบายสบาย จิตจดจ่ออยู่กับความสงบผ่องใสของจิต อยู่กับลมหายใจสบาย อยู่กับอารมณ์ใจที่สบาย สงบ สบาย ผ่องใส กำหนดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมคือการรู้สึกสัมผัสและกำหนดรู้ในกายในการผ่อนคลายร่างกายพร้อมกับปล่อยวางความเกาะความยึดความห่วงความสนใจในร่างกายทั้งหมดออกไป ปล่อยวางร่างกาย ผ่อนคลายร่างกาย ตัดร่างกาย เมื่อเราเข้าใจตรงจุดนี้ นั่นก็คือเราตัดขันธ์ 5 ตัดร่างกายไปพร้อมกับความรู้สึก เมื่อตัดกายแล้ว ผ่อนคลายร่างกายแล้ว
ผ่อนคลายจิตใจก็คือการที่เราปลดปล่อยความห่วง ความกังวล อารมณ์ใจที่เราคิดพะวงอยู่ในสิ่งต่างๆ ห่วงในร่างกาย ห่วงในบุคคลอื่น ห่วงในกิจการงานต่างๆที่เราทาคั่งค้างอยู่
ผ่อนคลายจิตใจก็คือการปล่อยวาง การผ่อนคลายจิตใจ การปล่อยวางนี้ก็คือการละ วาง ตัดนิวรณ์ 5 ประการออกไปจากใจของเรา รวมความว่าเมื่อเราปฏิบัติให้รวบลัด รวดเร็ว ง่ายดาย
ผ่อนคลายร่างกายก็คือตัดและปล่อยวางร่างกายขันธ์ 5 ของเรา ผ่อนคลายจิตใจก็คือปล่อยวางความกังวลและนิวรณ์ 5 ประการทั้งหลายออกไปจากจิตใจของเรา เมื่อผ่อนคลายและปล่อยวางแล้ว จิตเราก็เหลือแต่ความเบา ความสบาย ความสงบ จดจ่ออยู่กับความสงบ ความผ่องใส ใจที่เป็นสมาธิ ใจที่เป็นฌาน
ฌานคือสภาวะที่อารมณ์ใจของเราปล่อยวางความห่วงความทุกข์นิวรณ์ 5 ประการออกไปจนหมด เหลือแต่เพียงความเบาความสบายจนจิตสงบนิ่ง รวมจนเข้าถึงฌานในระดับสูงสุดในสมถะ นั่นก็คือฌาน 4 ปล่อยวางแล้ว สงบนิ่งแล้ว จิตเป็นสุขแล้ว เข้าสู่เอกัคคตารมณ์ สงบ นิ่งหยุด อารมณ์จิตมีความเบา มีความสงบ มีความผ่องใส อยู่กับใจที่สบายๆ สงบเย็น ประคับประคองอารมณ์ใจของเราอยู่กับความสงบเย็นนี้
สงบนิ่งผ่องใส อารมณ์ใจเบาสบาย
จากนั้นให้เราเริ่มพิจารณา ในความสงบ ในความเบา ในสมาธิ ในสภาวะที่จิตเราสะอาดจากนิวรณ์ทั้ง 5 ให้เราเริ่มพิจารณาในการปฏิบัติธรรม ว่าการปฏิบัติจิตคือการเจริญสมถะและวิปัสสนานั้น อันที่จริงคนที่หลับตาได้เก่งได้นานกับคนที่นั่งนิ่งๆได้นาน แต่ภายในใจยังมีความวุ่นวาย มีความสับสน หลับตาแต่มีแต่เรื่องราววุ่นวายรบกวนใจเราอยู่ แบบนี้เรียกว่าเป็นคนที่นั่งสมาธิเก่ง จริงหรือ กับอีกบุคคลที่นั่งสมาธิโดยไม่ขยับตัว ภายในเกิดเวทนากล้า อารมณ์เครียด อารมณ์หนัก เกร็ง อึดอัดอดทนฝืนอยู่กับความเจ็บปวด เวทนาที่ปรากฏขึ้นแรงกล้าในกายโดยที่จิตมีความหนัก อย่างนี้เรียกว่านั่งสมาธิเก่งจริงหรือ หรือเราลองพิจารณาดู บุคคลที่แม้แต่ลืมตาอยู่ แต่วางสิ่งที่รบกวนจิตใจสลายออกไปจนหมดเหลือเพียงความสงบนิ่ง เบา อ่อนโยน ผ่องใสได้แม้ว่าจะลืมตาหรือหลับตาก็ตาม รวมความว่าอิริยาบถลักษณะภายนอกนั้น สามารถเข้าสู่ความสงบความผ่องใสของจิตได้ โดยที่บุคคลภายนอกทั่วไปก็ไม่รู้ว่าเขาเข้าสู่ความสงบในระดับฌานอยู่ ทรงฌานทรงสมาธิจิตอยู่ บุคคลแบบไหนจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ฝึกปฏิบัติสมาธิได้ดี
ให้เราน้อมพิจารณา การที่เราวางสลายล้างปล่อยวางความกังวลความเครียดความหนักนิวรณ์ 5 ประการออกไปจากใจได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว เหลือเพียงความสงบนิ่ง นั่นก็คือเราปล่อยวางความกังวลความทุกข์ ปล่อยวางเรื่องราววุ่นวายใจ ความคิดที่ปรุงแต่งวุ่นวายสับสนอยู่ในจิตได้อย่างง่ายดาย จุดนี้ไม่ใช่หรือที่เป็นแก่นแท้ของการฝึกสมถะ
สมาธิ อันมีจุดมุ่งหมายมุ่งมาดปรารถนาที่จะทำให้จิตเราเข้าถึงความสงบ ให้เราน้อมพิจารณากำหนดรู้ พิจารณาจนเกิดปัญญาความเป็นจริง เข้าใจการปฏิบัติ และหลุดพ้นจากความยึดติดยึดมั่นถือมั่นในรูปแบบ ปฏิบัติโดยที่เราเข้าถึงสภาวะแห่งความสงบได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ลืมตาหลับตา ยืน เดิน นั่ง นอน สามารถเข้าสู่ความสงบได้เสมอ แม้อยู่ในท่ามกลางสถานการณ์ความวุ่นวาย การกระทบ แต่จิตเราสามารถปล่อยวาง ไม่ขุ่น ไม่ทุกข์ ไม่เร่าร้อน ไม่วุ่นวาย อยู่กับสภาวะอารมณ์ที่ปรากฏขึ้นภายนอก สามารถทรงอยู่กับความสงบภายในได้ อยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายโดยที่ใจของเราไม่หวั่นไหว
กำหนดพิจารณา กำหนดรู้ในจิต ตั้งจิตตั้งใจ สาหรับคนที่เขายังไม่สามารถฝึกสมาธิหรือเข้าใจสมถะได้อย่างแท้จริง คนหลายคนมีความคิดด้วยเหตุผลจากประสบการณ์ของตัวเองว่า คนเราไม่อาจจะหยุดความคิด ไม่อาจจะหยุดการปรุงแต่ง ด้วยเหตุที่อารมณ์ของการปรุงแต่งนั้นมันพาไป แต่จิตเราไม่มีจิตตานุภาพมากเพียงพอที่จะหยุดการปรุงแต่ง ความวุ่นวาย ความกังวลที่เราคิดทวน คิดซ้ำหรือคิดวนเวียนไปในเรื่องราวที่เรากังวล ในเรื่องราวที่เราทุกข์ หรือแม้แต่คิดปรุงไปในเรื่องของความโกรธว่าบุคคลนั้นบุคคลนี้กระทาให้เราเจ็บช้าน้าใจเสียใจในสิ่งต่างๆ เรื่องต่างๆที่มากระทบ ความอยากความปรารถนาไปในความโลภ เล็ง เพ่ง อยากได้ทรัพย์สินอยากได้เงินทองจนจิตเกิดความโลภ หรือความหลงในกามคุณ5 หลงในบุคคล ในเพศตรงข้าม ในความรัก หรือในกามราคะ อารมณ์ที่มันปรุงแต่งกันไปเช่นนี้ หากจิตเราไม่เคยฝึกในสมถะ จิตเราไม่เคยเพาะบ่มสะสมจิตตานุภาพของสมาธิจิต กำลังที่จะหยุดที่จะดึง การปรุงแต่งความวุ่นวายทั้งหลายความคิดทั้งหลายให้สงบนิ่งก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ แต่หากเมื่อไหร่ที่จิตเราเริ่มชินกับความสงบ ชินกับความผ่องใส ชินกับสภาวะที่ใจเราได้หยุดพักจากการปรุงแต่งไปในอารมณ์ต่างๆ ยิ่งทรงอารมณ์อยู่ในฌานสมาบัติความสงบความผ่องใสนานเท่าไหร่ก็ตาม กำลังแห่งจิตตานุภาพก็ยิ่งเพาะบ่มเกิดกำลังให้เราสามารถหยุดการปรุงแต่งความวุ่นวาย หยุดกิเลส ให้เกิดความสงบระงับของใจขึ้นมาได้อย่างง่ายดายมากขึ้นเพียงนั้น
ในขณะนี้ให้เราทรงอารมณ์อยู่กับความสงบ ความผ่องใส ความสว่างของจิต ใจแย้มยิ้มเบิกบานจากภายใน เข้าถึงความสุขของสมาธิ สงบนิ่ง ผ่องใส ทรงอารมณ์ใจของเราไว้ ใจสบายๆ สงบผ่องใสใจแย้มยิ้ม อารมณ์เบา ๆ
จากนั้นให้เราเริ่มน้อมจิตพิจารณาในความสงบ ในสมาธิ ในฌาน การที่เราพิจารณาธรรมะเจริญปัญญาเจริญวิปัสสนานั้น หากเราเจริญปัญญานอกสมาธิ นอกฌาน นั่นก็เป็นเพียงแค่วิปัสสนึก แต่เมื่อไหร่ที่เราเจริญปัญญาพิจารณาธรรมในฌานสมาบัติในสมาธิ นั่นก็หมายถึงว่าเรากาลังเจริญวิปัสสนาญาณเพราะการที่เรามีกำลังของฌาน ซึ่งขั้นต่ำที่สุดก็คือฌานในอานาปานสติกรรมฐาน ซึ่งอยู่ในวิสัยของสุขวิปัสสโก และเป็นอารมณ์ใจที่ทรงไว้ในสมาธิที่เรียกว่า “ขณิกสมาธิ”
การพิจารณาในความสงบแม้เป็นเพียงเวลาสั้นๆแต่กำลังของฌานทำให้ปัญญานั้น ชำแรกลึกลงสู่จิต หยั่งลึกลงสู่จิตได้มากกว่าสภาวะที่เราพิจารณาธรรมอยู่นอกสมาธิ นอกฌาน
ตอนนี้เราลองพิจารณาดูว่าเราสามารถใช้ปัญญาพลิกสมถะให้เป็นวิปัสสนาได้โดยที่เราพิจารณาในสภาวะของธรรม พิจารณาในสภาวะของฌาน ในขณะที่เราทรงอารมณ์ฌานอยู่นั้น จิตเราว่างจากกิเลสคือความโลภ โกรธ หลง จิตเราว่าง เบา จากความกังวล ความคิดที่ปรุงแต่ง เรื่องราวต่างๆที่มากระทบ จิตเราไม่ปรุงแต่งในสภาวะที่เกิดการกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดอุเบกขารมณ์ในสิ่งที่มากระทบทางอายตนะทั้ง 5
การพลิกสมถะให้เป็นวิปัสสนาก็เพียงคิดพิจารณาง่ายๆว่า นับแต่นี้ทุกวินาทีทุกลมหายใจที่เราทรงฌานสมาธิ เรากาลังฝึกจิตของเราให้สงบ ให้ว่างจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ให้ว่างจากเบญจกามคุณ 5 ให้ว่างจากนิวรณ์ทั้ง 5 ให้ว่างจากความเร่าร้อนวุ่นวายของจิต ดังนั้นทุกวินาทีทุกลมหายใจที่เราทรงฌานอยู่ เรากำลังฝึกให้จิตของเราชินกับอารมณ์ที่ว่างจากสรรพกิเลสและนิวรณ์ 5 ประการ สังโยชน์สิบทั้งปวง ยิ่งจิตเราชินในอารมณ์แห่งพระกรรมฐาน จิตเรา
ก็ค่อยๆถอดถอนจากอารมณ์ที่เราเคยชิน กับสภาวะที่จิตเรามีความวุ่นวายความเร่าร้อนของกิเลส ไม่ว่าจะเป็นความโลภโกรธหลงหรืออารมณ์ต่างๆที่มากระทบ ให้เราพิจารณา ในขณะนี้ ในความสงบ ในความผ่องใส เปรียบเทียบอารมณ์กับสภาวะที่มีกิเลส มีความวุ่นวายของจิต สภาวธรรมไม่ว่าจะเป็นกุศลธรรมหรืออกุศลธรรม สภาวะอารมณ์ต่างๆมีความแตกต่างกัน หากเราเข้าใจสภาวะของอารมณ์ ก็ทาให้เราเข้าใจสภาวธรรมสภาวะอารมณ์ต่างๆ ให้เราลองพิจารณาหยั่งเข้าไปในอารมณ์เดิม เมื่อหยั่งไปแล้วพิจารณาแล้วก็จงถอยกลับเข้าสู่ความสงบของฌาน เราจะเริ่มเห็นชัดว่าในยามที่เราไม่มีสติ จิตของเราไหลไปอยู่กับการปรุงแต่ง ไหลไปกับความวุ่นวาย ไหลไปกับความเร่าร้อน ไหลไปกับกิเลส
ตอนนี้ให้เราลองพิจารณาในอารมณ์ ในอารมณ์แห่งความโกรธ เริ่มต้นในรากเหง้าของอกุศลจิตของกิเลสในข้อของโทสะ เริ่มต้นจากความขุ่นใจ ความหงุดหงิด เกิดเป็นปฏิฆะ ความร้อนรุนแรงจากความโกรธ เกิดสภาวะขัดเคือง เกิดความร้อน ความเร่าร้อน ความขัดเคือง ความหงุดหงิด จนกระทั่งแสดงอาการฮึดฮัดขัดเคืองขึ้น อารมณ์โกรธหากทวีขึ้นสูงขึ้น ก็มีการด่าทอใช้น้าเสียงใช้วาจาด้วยวาจาที่หยาบคาย มีการด่าว่ามีการขึ้นเสียง คลื่นของจิตในขณะที่โทสะตรงนี้เกิด คนดีๆก็ไม่อยากเข้าใกล้ มีแต่ความร้อนมีแต่สภาวะคลื่นของอารมณ์ที่รุนแรง จากความโกรธ กระแสของความโกรธความคิดก็เริ่มมีความคิดอยากทาร้ายบุคคลที่ตัวเองโกรธ อาจจะมีการลงมือลงไม้ หรือหากอารมณ์รุนแรงจนกระทั่งเราหยุดไม่อยู่ก็อาจจะพลั้งมือจนเกิดการทำร้ายบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัสหรือแม้แต่ถึงขั้นเสียชีวิต โดยอารมณ์ที่เป็นความโกรธรุนแรงเช่นนี้สภาวะของบุคคลนั้น มัวเมาอยู่กับความโกรธ ไม่อาจยั้งใจ บางคนใครห้ามใครเตือนก็ไม่ได้ พลอยทำร้ายบุคคลที่มาช่วยมาห้ามตามไปด้วย
นั่นก็คือกำลังความแรงของอารมณ์สภาวะของความโกรธ บางบุคคลไม่แสดงอาการแต่ครุ่นคิดเก็บเงียบในจิต แต่เกิดการปรุงแต่งความคิดวนเวียนในเรื่องของการเอาคืน เมื่อไหร่ที่มีคำว่าเอาคืน นั่นก็คือแปลว่าความอาฆาตของจิตเกิดขึ้น ความอาฆาตแค้นเกิดขึ้น หากความอาฆาตแค้นไม่เกิดขึ้นจะไม่มีความคิดที่ต้องการจะเอาคืน เอาคืนแรงบ้างเอาคืนเบาบ้าง เมื่อความอาฆาตมันเกิด หากความโกรธนั้นมันมีความรุนแรง มันก็เกิดเป็นสภาวะที่เป็นการจองเวรคือผูกเวร สภาวะที่จองเวรผูกเวรเกิดขึ้นกับใจเมื่อไหร่ สภาวะนั้นเราก็กลายเป็นเจ้ากรรมนายเวรของบุคคลนั้นไปเรียบร้อย เราคิดกลัวแต่เจ้ากรรมนายเวร แผ่เมตตาให้กับเจ้ากรรมนายเวร แต่เราอาจจะไม่เคยคิดว่าไอ้ตัวเรานี่แหละคือไอ้เจ้ากรรมนายเวรตัวดีนัก คิดพิจารณาดูว่าเราเป็นเจ้ากรรมนายเวรของคนมากี่คนแล้ว ในหนึ่งชาติเราคิดเอาคืน คิดอาฆาตบุคคลอื่น ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เพียงแค่คนเดียว เกิดมาหนึ่งชาติมีการจองเวรกับคนนั้นคนนี้ไปอีกสิบอีกร้อยคน แล้วการจองเวรเกิดขึ้นเมื่อไหร่ กำลังความโกรธ กำลังของความอาฆาตพยาบาทยิ่งแรงมากเท่าไหร่ ชาติภพการก่อภพก่อชาติที่ทำให้ไปเป็นเจ้ากรรมนายเวรตามพบตามเกิดตามจองเวรตามจองล้างจองผลาญ ก็กลายเป็นสิบชาติร้อยชาติพันชาติหมื่นชาติแสนชาติ ให้เราคิดเอาง่ายๆว่าแม้แต่พระเทวทัตจองเวรพระพุทธเจ้าในพระชาติที่เป็นพ่อค้าวานิชเป็นเพื่อนกันชาติเดียว แต่พระเทวทัตตามจองเวรพระพุทธเจ้าตั้งแต่ชาตินั้นยันจนพระพุทธเจ้าบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งนั่นก็คือสี่อสงไขย กำไรแสนกัป ซึ่งนั่นอาจจะไม่เต็มดี เนื่องจากในพระชาตินั้นพระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมีมามากพอสมควรแล้ว เป็นอุปบารมี แต่นั่นก็คือสี่อสงไขยซึ่งหมายความว่าร้ายล้านล้านล้านชาติอยู่ เราก็จะเริ่มเข้าใจสภาวะอารมณ์ เข้าใจเหตุ เข้าใจผล เข้าใจโทษที่เกิดกับผลกับบั้นปลาย
ในสภาวะอารมณ์ที่มันเกิดขึ้นกับใจของคน ใจของเรา ใจของบุคคลอื่น เมื่อไหร่จิตเศร้าหมอง สภาวะอารมณ์เศร้าหมอง หากตายไปในขณะจิตนั้นเราจะไปที่ใด การเข้าใจสภาวะอารมณ์นั้นผูกโยงกับสัมปรายภพคือผูกโยงกับอารมณ์จิตสุดท้ายก่อนตาย หากอารมณ์ของเราเป็นผู้ที่มีโทสะจริตเป็นหลัก อะไรก็เอะอะหงุดหงิด อะไรก็โมโห อะไรก็ใจร้อนใจร้าย อะไรก็ขัดเคืองไปหมด อารมณ์จิตก็ถือว่าเราทรงฌานอยู่กับความโกรธ มีความชินเพราะอย่าลืมว่าคำว่า “ฌาน” นั้นแปลว่าชิน ชินในอารมณ์ใดก็แปลว่าเราทรงฌานในอารมณ์นั้น ขี้โกรธ มักโกรธ ก็เท่ากับเราทรงฌานในโทสะกรรมฐาน อารมณ์เกิดขึ้นอย่างง่ายดาย เข้าสู่อารมณ์โทสะความโกรธความร้อนความใจร้อนอย่างง่ายๆ มีเรื่องนิดเดียวมีเรื่องสะกิดใจนิดเดียวเราโกรธเต็มกำลัง อารมณ์จิตที่สะสมเพาะบ่มในอารมณ์ชิน สุดท้ายเมื่อตายไป อารมณ์ชินที่เราฝึกปฏิบัติมาตลอด ก็เป็นอานิสงส์พาเราไปจุติในนรกขุมของคนที่เป็นบุคคลที่เจ้าโทสะมีความโกรธพ่วงอานิสงค์ของกรรมในการด่าว่าใช้วาจาใช้น้ำเสียงในการกระทบกระทั่ง
ทำร้ายบุคคลอื่น รวมความแล้วอารมณ์ต่างๆ มันมีผลทั้งปัจจุบันและอย่างช้ามีผลต่อไปในอนาคต คนที่มาปฏิบัติมาเจริญพระกรรมฐานจึงถือว่าเป็นบุคคลที่มีบุญมีความโชคดีอย่างยิ่ง เหตุผลเพราะว่าได้ฝึก ได้ขัดเกลา ได้สลายล้าง ได้เปรียบเทียบระหว่างอารมณ์ของความเร่าร้อนกับอารมณ์ของความสงบ และอย่าลืมว่าจิตนั้นเสวยอารมณ์เป็นอาหาร หากจิตเราเป็นผู้ที่เป็นเจ้าโทสะ เราก็ปรารถนาที่จะมีเรื่องอยากมีเรื่องอยากโมโห เอร็ดอร่อยในอารมณ์ของความเร่าร้อนความโกรธ เป็นไปตามธรรมชาติตามสภาวะของจิต อันนี้เป็นตัวอย่างเพียงแค่เรื่องของความโกรธเพียงอย่างเดียว สภาวะอารมณ์ โกรธชาตินี้ส่งผลให้เกิดวิบากไปมากมายมหาศาล
คิดพิจารณาแล้ว เราก็ย้อนกลับไปดูตัวเราในอดีตในยามที่โกรธ จนหน้าแดง โกรธจนต้องกามือ โกรธจนลงไม้ลงมือ โกรธจนกระทั่งต้องด่าว่า พิจารณาดูว่า โอ้หนอเรานี้ เราเคยทาไปด้วยอวิชชาความไม่รู้ตอนนี้เราเจริญวิปัสสนาปัญญา พิจารณาในสภาวะแห่งอารมณ์ เราเห็นตัวเราที่เร่าร้อนโกรธเกรี้ยว เป็นอารมณ์ที่น่าละอาย เป็นอารมณ์ที่เราพึงละ เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดวิบากอกุศล ก่อให้เกิดกรรม เราย้อนจิตพิจารณาด้วยความสงบอ่อนโยน กระแสของธรรม กระแสของความสงบเย็น ขอขมาลาโทษต่อเราที่โกรธ สลายล้างความเป็นเจ้ากรรมนายเวรของเราที่มีต่อบุคคลอื่น ขอขมากรรมต่อบุคคลที่เราล่วงเกินและอโหสิกรรมให้กับคนที่มากระตุ้นมาทาเหตุให้เราโกรธ เมตตาอโหสิกรรม ให้อภัย ขอโทษ สลายล้างความเป็นเจ้ากรรมนายเวร ของทุกคน ทุกเหตุการณ์ ทุกเรื่องราว จงสลายจบไป
อโหสิกรรม จากกันด้วยดี และเดินจิตเข้าสู่ความสงบนิ่งผ่องใส ให้อภัยปล่อยวาง จบ อยู่กับความสงบเย็น อยู่กับกระแสเมตตาพรหมวิหาร 4 อยู่กับใจที่สว่าง สงบเย็น แผ่กระแสของความเย็น ความเมตตาออกไปรายรอบกาย รายรอบอาณาบริเวณที่เราฝึกสมาธิอยู่ขณะนี้ กระแสเย็นที่เป็นประกายระยิบระยับแพรวพราวกระจายออกไปโดยรอบ กายเนื้อและดวงจิตของเรา มีแต่ความเย็น มีแต่ความรัก มีแต่ความปรารถนาดี มีแต่ความเมตตา ความสว่างผ่องใส ดูจิตของเรา ดูอารมณ์ใจ อารมณ์เช่นนี้จิตเราเบาไหม เป็นสุขไหม สบายดีไหม คลื่นกระแสใจที่เราแผ่ไปกระทบบุคคลอื่นในขณะนี้กระทบแล้วผู้อื่นเบาสบายเป็นสุข เป็นบุญเป็นกุศล หากเราตายไปในขณะที่จิตเราผ่องใสในเมตตาเช่นนี้ เราย่อมจุติในพรหมโลก หากอารมณ์ใจที่เราเมตตาแล้วปล่อยวางจากภพภูมิ ปรารถนาในพระนิพพาน จิตที่เรามีเมตตา จิตที่เราปล่อยวาง จิตที่เราตัดกรรม ตัดภพภูมิ ตัดกระแสวิบาก จิตเราก็ย่อมเข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้ในที่สุด
กำหนด รู้พิจารณาแยกแยะอารมณ์จิต อารมณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละขณะ ส่งผลให้เราไปจุติยังภพใดภูมิใด พิจารณาให้กว้างไกล หยั่งไปในอนาคตชาติ หยั่งไปในอนาคตกาล อารมณ์จิตก่อให้เกิดภพชาติ อารมณ์จิตที่ตัดภพตัดชาติ พิจารณาใน 2 ประโยคนี้ให้รู้แจ้งแทงตลอด อารมณ์จิตใดก่อให้เกิดภพชาติยาวนาน อารมณ์จิตใดก่อให้เกิดการตัดภพจบชาติ จนกระทั่งรู้สึกว่าดังมีแสงสว่างสายฟ้าฟาดลงมาในจิต เกิดรู้ตื่นในธรรม เกิดรู้ตื่นขึ้นในวิปัสสนาญาณ เข้าสู่สภาวธรรม จิตพิจารณาจนเกิดปัญญาญาณ สว่างขึ้นในจิตของเรา เข้าสู่สภาวธรรมอันเป็นไปเพื่อความดับไม่เหลือเชื้อ อารมณ์โกรธ นับแต่นี้ เราตัดให้เป็นสมุจเฉทปหานออกไปจากใจของเรา ไฟแห่งโทสะจงมอดดับ จากดวงจิตของข้าพเจ้าทุกคน เหลือเพียงกระแสแห่งความเมตตาพรหมวิหาร 4 ความสงบเย็น กระแสจิตของเราผ่องใส สว่าง
จากนั้นกำหนดจิตพิจารณาอาราธนาบารมีพระพุทธเจ้าทรงสงเคราะห์ ขอพุทธนิมิตของพระพุทธองค์จงปรากฏขึ้นกับใจของข้าพเจ้า และขออาราธนาบารมีพระพุทธองค์ยกอาทิสมานกายยกจิตข้าพเจ้าขึ้นไปบนพระนิพพาน สว่าง ผ่องใสชัดเจน อาราธนาขอบารมีพระจงปรากฏ กายของข้าพเจ้าเป็นกายแห่งพระวิสุทธิเทพ กำหนดรู้ในความเป็นกายแห่งพระวิสุทธิเทพ พิจารณาว่าเราไม่ใช่ร่างกายเนื้อ ร่างกายเนื้อหรือร่างกายมนุษย์ไม่ใช่เรา เราคือกายแห่งพระวิสุทธิเทพ เราคือกายทิพย์อาทิสมานกาย กำหนดจิตทรงอารมณ์ในอุปมานุสติกรรมฐานคืออารมณ์พระนิพพาน พิจารณาว่าอารมณ์แห่งพระนิพพานนั้นคืออารมณ์ที่เราเกิดปัญญารู้แจ้ง รู้เท่าทันความโลภโกรธหลง ละ วางสภาวะอารมณ์แห่งความโลภโกรธหลงให้สลายออกไปจากใจ
อารมณ์ที่มีความปรารถนาเกาะเกี่ยวในภพภูมิต่างๆสลายออกไป สังโยชน์ทั้งสิบสลายออกไป สังโยชน์ทั้งสิบนั้น คือเครื่องร้อยรัดดวงจิตเราไว้กับภพภูมิต่างๆ ปล่อยวางสลายออกไป จิตเหลือเพียงแต่ธรรมะฉันทะความพึงใจอยู่กับพระ
นิพพาน พึงใจกับความเกิดไม่เหลือเชื้อ พิจารณาว่าตราบใดที่ยังมีการเวียนว่ายตายเกิดเราก็ต้องมาพบกับการกระทบอารมณ์ ต้องมาพบกับสภาวะความแปรปรวนความกระทบกระทั่ง ทางกายวาจาใจต่อกันอีก ต้องมาพบกับเรื่องราวที่มีความเร่าร้อนความขัดเคืองใจ ความวุ่นวายใจ ความทุกข์จากการเบียดเบียน ความสุขที่ปรากฏขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความสุขของการเป็นมนุษย์ก็มีความไม่เที่ยงมีความไม่ยั่งยืน ความสุขในความเป็นทิพย์คือการเป็นเทวดาพรหมก็มีวาระมีเวลาที่จะต้องหมดอายุไข พลัดพรากจากวิมานจากของรักของเจริญใจจากความเป็นทิพย์ ความแปรปรวนความไม่เที่ยง ล้วนแต่เป็นความทุกข์ จิตเราปรารถนาธรรมอันเป็นอมตะคือพระนิพพาน ไม่ต้องปรับ ไม่ต้องเปลี่ยนภพภูมิอีกต่อไป อยู่กับพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระอรหันต์ทุกพระองค์บนพระนิพพาน บนพระนิพพานไม่มีการกระทบกระทั่ง ไม่มีความอิจฉาริษยา ไม่มีการเบียดเบียนกัน มีเพียงเมตตาปรารถนาดีแต่ไม่มีการยึดมั่นถือมั่น
กำหนดใจของเราอยู่กับพระนิพพาน วาง เบา ในภาระทั้งปวงของใจ วางจากความเกาะ ในสภาวะของจิตนั้น หากดูในสภาวะของความเป็นกายทิพย์ สายโยงใยของชาติภพต่างๆ มันเกาะอยู่ตามกายทิพย์ของ บุคคลที่ยังมีกิเลส ยังมีความปรารถนา ยังมีสายใยอยู่กับภพภูมิต่างๆ สายโยงใยที่นาพาให้เกิดการเกิด ไม่ว่าจะเป็นความโลภโกรธหลง ความปรารถนาอยากเกิดอยากไปพบ สายโยงใยของความรักที่ผูกโยง ดวงจิตให้ตามไปเกาะไปเกิด แม้แต่สายโยงใยความรักของพ่อแม่อยากไปพบไปเจอไปเกิดเป็นลูกเป็นหลาน สายโยงใยทั้งหลายก็คือเครื่องผูกพันเราไว้ในสังสารวัฏ ยิ่งผูกพันมากก็ยิ่งพบเจอยิ่งตามเกิดมาก ยิ่งโกรธแค้นเกลียดชังก็ยิ่งไปเจอไปเกิดตามพบตามเจอในแบบของการจองเวรจองกรรม อารมณ์ทั้งหลายก่อให้เกิดสายโยงใยความผูกพันก่อภพก่อชาติ จิตที่เกิดปัญญาญาณใช้กำลังฌานสมาบัติ ตัดสรรพกิเลส ตัดสายโยงใยแห่งการเกิดของภพภูมิต่างๆ ให้ขาดสะบั้นเป็นสมุจเฉทปหาน
พระพุทธองค์และพระอรหันต์ทุกพระองค์บนพระนิพพาน ท่านตัดสายโยงใยเครื่องร้อยรัดทั้งหลายแห่งการเกิด สายโยงใยที่ดึงดูดผูกพันไว้กับดวงจิต ไว้กับภพต่างๆ ไว้กับสังสารวัฏ เรากำหนดน้อมพิจารณาอยู่บนพระนิพพาน ตัดสายโยงใย ความผูกพัน ความเกาะเกี่ยว สายแห่งสังโยชน์ยึดโยงไว้กับภพภูมิ กับบุคคลดวงจิตให้ขาดสะบั้น จิตโล่ง เบา สว่าง เป็นอิสระ “นิพพานัง ปรมัง สุขัง” พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ทุกสิ่งเป็นเพียงสมมุติ เปลี่ยนชาติภพก็เปลี่ยนสมมุติ ยิ่งยึดมั่นถือมั่น ยิ่งทุกข์ ยิ่งปล่อยวาง ยิ่งคลาย ยิ่งตัด ยิ่งว่าง ยิ่งวางยิ่งเบา จิตเป็นสุขผ่องใสอย่างยิ่ง
กำหนดน้อม ในความเป็นกายพระวิสุทธิเทพสว่างผ่องใส สภาวะจิตสภาวธรรมของเราเข้าใจกระจ่าง ในการตัดสรรพกิเลส จิตของเราเข้าใจอารมณ์ ผลของอารมณ์ สภาวธรรม จิตผ่องใส ละ วาง อารมณ์ที่ก่อให้เกิดชาติภพ และกำหนดรู้ว่าอารมณ์จิตใดที่ทาให้เกิดการดับไม่เหลือเชื้อ อารมณ์จิตที่เรารู้ว่าเป็นการดับไม่เหลือเชื้อ เราก็ขยันหมั่นทรงอารมณ์นี้ไว้ให้เป็นฌานสมาบัติ นั่นก็คืออารมณ์แห่งอุปมานุสติกรรมฐานหรืออารมณ์พระนิพพาน ยกจิตขึ้นมาบนพระนิพพานให้บ่อยให้นานที่สุด ยินดีพอใจ รักในพระนิพพาน เป็นหนึ่งเดียวกับพระนิพพาน มั่นคงในพระนิพพาน เข้าสู่สภาวธรรมอันเป็นโลกุตรธรรม อันเป็นวิมุตติสุข
จากนั้นน้อมจิตกราบพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ เทพพรหมเทวา พ่อแม่ ท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย น้อมจิตว่าขอให้การปฏิบัติเป็นการปฏิบัติบูชา บูชาคุณทุกท่าน บูชาคุณพระรัตนตรัย พ่อแม่ครูบาอาจารย์ ท่านผู้มีพระคุณ เทวดาผู้เมตตาสงเคราะห์อารักขาคุ้มครองข้าพเจ้าในขณะเจริญพระกรรมฐาน ขอน้อมบุญกุศลแผ่เมตตาลงมายังสังสารวัฏ 3 ไตรภูมิ 1 นิพพาน ขอกระแสเมตตาแผ่สว่างกระจายเป็นกระแสบุญ กระแสกุศล กระแสเมตตา กระแสพลังงาน ความสว่าง ความสุข ไปยังทุกดวงจิตทุกภพทุกภูมิ กายใจเราผ่องใสสว่างอย่างยิ่ง จากนั้นน้อมกระแสลงมายังโลกมนุษย์ น้อมกระแสพระนิพพาน กาลังแห่งพุทธานุภาพลงมายังกายเนื้อของข้าพเจ้าทุกคน ชาระล้างฟอกธาตุขันธ์ ชาระล้างกายวาจาใจ ให้จิตข้าพเจ้าสะอาดบริสุทธิ์วิมุติหมดจด รู้แจ้งแทงตลอดในธรรมทั้งปวง ทรงฌานสมาบัติ กำลังมโนมยิทธิ
กาลังอภิญญาสมาบัติ เข้าถึงสภาวธรรมได้อย่างง่ายดายเพียงแค่ลัดนิ้วมือเดียว ขอกระแสบุญจงเปิดบารมี เปิดสายทรัพย์สายสมบัติให้ข้าพเจ้ามีความคล่องตัวทั้งทางโลกเจริญทั้งทางธรรม น้อมกระแสจากพระนิพพานลงมายังประเทศ ยังมาแผ่นดิน ยังมาบนโลกมนุษย์ ขอกระแสบุญศักดิ์สิทธิ์จากพระนิพพานจงเปิดยุคแห่งชาววิไล ขอความเจริญทั้งทางโลกความเจริญทั้งทางจิตใจจงปรากฏขึ้น บุคคลที่ทาคุณประโยชน์ให้กับโลกให้กับส่วนรวมจงมีกำลัง จงมีความรุ่งเรือง จงสมบูรณ์ด้วยพละทั้ง 5 ทาหน้าที่สร้างบุญสร้างบารมี ร่วมใจสามัคคีเปิดยุคชาววิไลให้ปรากฏขึ้นทันใจ ผ่านพ้นภัยพิบัติ ผ่านพ้นภัยสงคราม ผ่านพ้นภัยแห่งโรคภัยไข้เจ็บไปได้ ขอกระแสบุญจงเกิดผล จงส่งผล เทพพรหมเทวาจงเมตตาสงเคราะห์เต็มกำลัง
กำหนดน้อมนึกให้เป็นแสงสว่างลงมาจากพระนิพพาน ลงมาบนโลกมนุษย์จนสว่าง เห็นดาวเคราะห์โลกทั้งใบสว่างเป็นทอง มีรัศมีสีทองสว่างเจิดจ้า กระแสบุญกระแสกุศลเพิ่มพูนทวีขึ้น บุญของผู้ทาความดี ทาน ศีล ภาวนา การเจริญปฏิบัติจงรวมตัว จิตทั้งหลายจงรวมตัวเกิดอภิจิต ดึงเป็นพลังเข้าสู่ยุคชาววิไล โลกเกิดแสงสว่างสีทอง โลกเกิดการรู้ตื่น กระแสธรรมในดวงจิตรู้ตื่นขึ้นในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรมทุกคนทุกดวงจิต กระแสจากพระนิพพานสว่างผ่องใสส่องตรงลงมายังโลกมนุษย์ ใจเรามีความอิ่มเอม มีความสุข มีความยินดี ปฏิปทาสาธารณประโยชน์เราได้ทาได้บาเพ็ญไว้ดีแล้ว
จากนั้นกราบลาพระพุทธเจ้า กราบลาทุกท่านบนพระนิพพาน จิตมีความเอิบอิ่มผ่องใสทรงอารมณ์ไว้ จดจาปัญญาและการพิจารณารู้เท่าทันสภาวะอารมณ์ จนกระทั่งจิตเกิดปัญญายินดีในสภาวธรรม ยินดีกับอารมณ์แห่งพระนิพพานจนเป็นปกติ
จากนั้น ให้เราโมทนา สาธุกับ เพื่อนๆ ที่ปฏิบัติธรรมกันทุกคนในวันนี้ เกิดปัญญาเกิดการตัดกิเลสเกิดความผ่องใสเกิดผลอานิสงค์แห่งการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนาอย่างสมบูรณ์ โมทนากับบุญโมทนากับอารมณ์พระกรรมฐานที่หลายคนได้รู้ตื่นได้ก้าวข้ามได้เกิดความกระจ่างแจ้งขึ้นในจิต โมทนาสาธุกับทุกความดีทุกกุศล
จากนั้นหายใจเข้าลึกๆช้าๆ 3 ครั้งหายใจเข้าครั้งที่ 1 พุท ออกโท หายใจเข้าลึกๆช้าๆครั้งที่ 2 ธัมโม ใจเบิกบานผ่องใสเต็มที่แย้มยิ้มเต็มที่ หายใจเข้าลึกๆช้าๆครั้งที่ 3 สังโฆ บุญอานิสงส์สมบูรณ์พร้อมจิตเป็นสุข
สาหรับวันนี้ก็ขอโมทนากับทุกคนนะครับ
พบกันใหม่วันอาทิตย์หน้าสาหรับวันนี้สวัสดีครับ
ถอดเสียงและเรียบเรียงโดย คุณ Be Vilawan